สืบค้นงานวิจัย
สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
พะเยา ไตรยวงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พะเยา ไตรยวงศ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร 2) ศึกษาสภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 258 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.38 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.61 คน มีแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 3 คน มีพื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 15.03 ไร่ต่อครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 10.46 ไร่ต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนมากปลูกข้าวพันธุ์ กข.6 มีรายได้จากการจำหน่ายข้าว เฉลี่ย 8,934.02 บาทต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้จากการเกษตร เฉลี่ย 17,547.08 บาทต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตร และมีหนี้สินโดยกู้จาก ธ.ก.ส. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้ประเภทปุ๋ยคอก ช่วงการใส่ปุ๋ยคอก คือช่วงตกกล้า ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้มาจากฟาร์มของตนเอง ปุ๋ยคอกที่นิยมใช้ คือ มูลโค โดยใช้อัตราเฉลี่ย 208.46 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมัก มีการใช้น้อยมาก โดยปุ๋ยหมักใช้อัตราเฉลี่ย 97.75 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยพืชสดที่นิยมใช้คือ ถั่วพุ่ม สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าว ส่วนใหญ่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าว ซึ่งใส่ปุ๋ยเคมีช่วงปักดำ 7 - 15 วัน เฉลี่ยอัตราไร่ละ 17.90 กิโลกรัม ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรนิยมใส่รองพื้นคือ ปุ๋ยเคมีสูตร 16 - 16 - 8 อัตราไร่ละ 18.26 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า พบว่า เกษตรกรมีการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46 - 0 - 0 โดยใส่ในช่วงระหว่างวันที่ 20 - 25 กันยายน ก่อนการใส่ปุ๋ยเคมี เกษตรกรมีการรักษาระดับน้ำให้อยู่ในระหว่าง 5 - 10 เซนติเมตร เกษตรกรได้รับผลผลิตข้าวเฉลี่ย 366.28 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวพบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมาก คือเรื่องเมล็ดปุ๋ยพืชสดหาซื้อยากและราคาแพง ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรควรมีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยพืชสดใช้เอง เจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำให้เกษตรกรมีการไถกลบตอซังข้าว และการจัดทำแปลงสาธิตการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ภายในหมู่บ้าน เพื่อให้เกษตรกรได้ศึกษาและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ควรมีการจัดตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสดในตำบล และมีการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ เรื่องการใช้ปุ๋ยในนาข้าวให้กับเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของกลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านโคก ตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกร : กรณีศึกษาตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546 ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลคำม่วง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโพธิ์ทอง ปี 2546/2547 อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลยางใหม่ ปี 2546/2547 อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก