สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
สุจิตร ใจจิตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
ชื่อเรื่อง (EN): Development on Economic Crops Production System in Central and Western Regions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุจิตร ใจจิตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุจิตร ใจจิตร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ปี 2551-2553 ในกิจกรรมเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ซึ่งมี 5 กิจกรรมย่อย ได้แก่ การพัฒนาระบบการผลิตและเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง งา และสับปะรด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชมากกว่า 10-15% ของผลผลิตที่เกษตรกรได้รับมีการทดลองทั้งหมด 7 การทดลอง ดำเนินการจัดทำแปลงทดสอบในแปลงเกษตรกร 9 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี สิงห์บุรี กาญจนบุรี ราชบุรีและเพชรบุรี โดยนำเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตพืชแต่ละชนิดที่ประสบความสำเร็จแล้วจากการวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ในกรรมวิธีทดสอบเปรียบเทียบกับ การปฏิบัติของเกษตรกร ในกรรมวิธีเกษตรกร พบว่าเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตในกรรมวิธีทดสอบ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย และมันสำปะหลัง มากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 10% แต่พบว่า การตัดยอดและใบสับปะรดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้สูงจากผิวดิน 20-30 เซนติเมตร ในกรรมวิธีทดสอบเปรียบเทียบกับกรรมวิธีเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรตัดใบระหว่างทางเดินก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่ากรรมวิธีทดสอบ สามารถเพิ่มผลผลิตสับปะรดได้มากกว่า กรรมวิธีเกษตรกรเพียง 3.4% เท่านั้น ในขณะที่การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตงาคุณภาพอุตสาหกรรมการแปรรูปแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม ไม่สามารถดำเนินการทดสอบได้ เนื่องจากเกษตรกรปลูกงาก่อนต้นฤดูฝนหลังปลูก 1-2 วัน ฝนตกหนักแปลงทดสอบถูกน้ำท่วมเสียหาย เนื่องจากเมล็ดงาเน่า เมล็ดงามีความงอกต่ำ ความสม่ำเสมอในแปลงไม่ดี เกษตรกรไถแปลงทิ้งเพื่อปลูกพืชอื่นแทน กิจกรรมมาตรฐานคุณภาพพืชเศรษฐกิจในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก มีการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชใน 6 กิจกรรมย่อย ได้แก่ การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชในส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา กระเจี๊ยบเขียว พริก คะน้า กล้วยไม้ตัดดอกและหน่อไม้ฝรั่ง โดยมีการทดลอง 6 การทดลอง ได้ดำเนินการทดสอบในแปลงเกษตรกร 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี และกาญจนบุรี โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) การทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรในกรรมวิธีทดสอบเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี ซึ่งเกษตรกรปฏิบัติอยู่ในกรรมวิธีเกษตรกร โดยดำเนินการทดสอบกับส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา พริก และคะน้า พบว่า กรรมวิธีทดสอบในส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาและพริกให้ผลผลิตรวมน้อยกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ในขณะที่กรรมวิธีทดสอบคะน้ามีผลผลิตรวมและผลผลิตจำหน่ายมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 4.5 และ 8.0% ตามลำดับ แต่ทั้ง 3 พืช มีรายได้สุทธิมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร เนื่องจากกรรมวิธีทดสอบมีต้นทุนการใช้สารเคมีต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกร และพบว่ากรรมวิธีทดสอบตรวจไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิตแต่กรรมวิธีเกษตรกรตรวจสอบสารพิษตกค้างในผลผลิต และมีค่าเกินมาตรฐาน MRL และ 2) การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืช ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานและคุณภาพพืชในกรรมวิธีทดสอบเปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกรในกรรมวิธีเกษตรกร ในกระเจี๊ยบเขียวและหน่อไม้ฝรั่งพบว่า ในกระเจี๊ยบเขียว กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตรวม และผลผลิตมาตรฐานมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 34 และ 2.2 % และมี รายได้จากการขายผลผลิตรวมมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 35% สำหรับหน่อไม้ฝรั่ง พบว่า ปริมาณผลผลิตรวมและผลผลิตเข้าเกรดทั้งปีมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 9.13 และ 6.55% ตามลำดับ และพบว่ารายได้สุทธิทั้งปีของกรรมวิธีทดสอบมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 42.49% เนื่องจากสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีลง 40.27 และ 70.46% ตามลำดับ ในขณะที่การทดสอบชุดเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวายตัดดอก โดยใช้เชื้อบิวเวอร์เรีย และเชื้อไวรัสเอ็นพีวี สลับกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูกล้วยไม้ ตามวิธีเกษตรกรดีที่เหมาะสมเปรียบเทียบกับการป้องกันกำจัดศัตรูกล้วยไม้ ที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ในกรรมวิธีเกษตรกร พบว่า ผลผลิตช่อดอกกล้วยไม้ทุกขนาดในกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร ไม่มีความแตกต่างกันแต่กรรมวิธีทดสอบสามารถลดต้นทุนการผลิตกล้วยไม้ลง 23%
บทคัดย่อ (EN): Development of economic crop production technologies in central and western regions were carried out between 2008 and 2010. The project consisted of 5 subprojects including development of production technologies of corn, sugarcane, cassava, sesame and pineapple. The project aimed to increase yield of the crops by 10-15%, compared to farmers’ technologies. The experiments were conducted at farmers’ field of 9 provinces, including Nakhon Sawan, Chai Nat, Lopburi, Saraburi, Uthai Than,i Sing Buri , Kanchanaburi, Ratchabur,i and Petchaburi. Recommended technologies were compared to farmer’s technologies at farmers’ fields. It was found that tested technology increased yields of the crops and net in come by 10% compared to the farmers’ technologies, except for pineapple where the tested technologies improved yields by 3.4%. Sesame production technology testing was unable to harvest due to flooding causing drying of the crop. The project consisted of 6 experiments including quality development of Pamelo cv. Kao Tang Kwa, okra, chili, kale, dendrobium orchid and asparagus. The experiments were conducted at farmers’ field of 8 provinces, including Chain Nat, Aug Thong, Ayutthaya, Nonthaburi, Suphan Buri, Nakhon Pathom, Ratchabari and Kanchanaburi. For pamelo, chili and kale, it was recorded that the recommended technologies increased total yield and market yield by 4.5 and 8.0%, respectively. The recommended technologies were also gave more net incomes with low toxic residual on the products. For okra, recommended technologies increased total and standard yields by 34 and 2.2%, respectively, compared to farmers’ technologies. The recommended technologies also increased net income by an average of 35%. For asparagus, the recommended technologies increased total yield, standard yields and net income by 9.13, 6.55 and 42.49%, respectively, compared to farmers’ technologies. The recommended technologies also reduced fertilizer and pesticide by 40.27 and 70.46%, compared to farmers’ technologies. For dendrobium orchid, the recommended technologies gave similarly yield to the farmers’ technologies. The recommended technologies, however, reduced production costs by 23%.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การใช้เชื้อ Ectomycorrhiza ในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้าวเปลือกนาปรังในภาคกลางและภาคตะวันตก การศึกษาสภาวะการเพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตก ปี 2538 การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก ความต้องการความรู้ทางการวิจัยของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันตก การเยี่ยมของเกษตรตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ต่างประเทศในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก