สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลาย ความชุกชุม การแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา
เสาวคนธ์ รุ่งเรือง, ชไมพร แก้วศรีทอง, อำพร ศักดิ์เศรษฐ, วิฑารณ์ เจียมตน, ประภาส แก้วโยชน์, เสาวคนธ์ รุ่งเรือง, ชไมพร แก้วศรีทอง, อำพร ศักดิ์เศรษฐ, วิฑารณ์ เจียมตน, ประภาส แก้วโยชน์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลาย ความชุกชุม การแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่อง (EN): Diversity Abundance Distribution of Benthic Fauna in U-tapaoCanal, SongkhlaProvince
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลาย ความชุกชุมและการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดิน คลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 โดยรวบรวมตัวอย่างตามช่วงเวลาจำนวน 4 ครั้ง 6 จุดสำรวจ ด้วยอุปกรณ์ Ekman Dredge ขนาด 15X15 เซนติเมตร และชุดเก็บตัวอย่างวัตถุล่อ (Multiple plate samplers) ผลการศึกษาพบสัตว์หน้าดินจำนวน 4 ไฟลัม 32 วงศ์ ประกอบด้วยไฟลัม Annelida (5 วงศ์) Arthropoda (12 วงศ์) Mollusca (7 วงศ์) และไฟลัม Chordata (8 วงศ์) องศ์ประกอบหลักได้แก่ วงศ์ Thiaridae (23.25 %), วงศ์ Chironomidae (23.88 %) และวงศ์ Tubificidae (9.69 %) โดยวงศ์ Chironomidae มีความถี่ของการพบสูงสุดร้อยละ 76.4 ปริมาณความชุกชุมเฉลี่ยเท่ากับ 740.3 ตัวต่อตารางเมตร โดยจุดสำรวจ 6 บ้านแหลมโพธิ์ มีความชุกชุมและการแพร่กระจายของชนิดและปริมาณใกล้เคียงกันมากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 352.1 ตัวต่อตารางเมตร และพบว่าช่วงฤดูฝน มีความชุกชุมและการแพร่กระจายของชนิด และปริมาณใกล้เคียงกันมากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 278.9 ตัวต่อตารางเมตร ค่าดัชนีความหลากหลายของจุดสำรวจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.8?0.3 ค่าดัชนีความชุกชุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5?0.2 และค่าดัชนีความเท่าเทียมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.6?0.1 ส่วนค่าดัชนีความหลากหลายของช่วงเวลาสำรวจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.0?0.1 ค่าดัชนีความชุกชุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.6?0.2 และค่าดัชนีความเท่า เทียมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.6?0.2 เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความหลากหลายจากการศึกษาครั้งนี้ มีค่ามากกว่า 1 บ่งชี้ได้ว่าสัตว์หน้าดินในคลองอู่ตะเภามีสภาพความเหมาะสมของสิ่งมีชีวิตในระดับปานกลาง และคุณภาพน้ำอยู่ในระดับปานกลาง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลาย ความชุกชุม การแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา
กรมประมง
31 มีนาคม 2556
กรมประมง
ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ความหลากหลายและการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี ความชุกชุม ความหลากหลาย และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของแพลงค์ตอนและสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา ความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก