สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาลักษณะทางกายภาพ การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของกล้วยน้ำว้า
เรืองศักดิ์ กมขุนทด, ภาสันต์ ศารทูลทัต, องอาจ หาญชาญเลิศ, ฉลองชัย แบบประเสริฐ, กัลยาณี สุวิทวัส - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาลักษณะทางกายภาพ การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของกล้วยน้ำว้า
ชื่อเรื่อง (EN): morphology and development of banana 'kluai Numwa'
บทคัดย่อ: ศึกษาลักษณะทางกายภาพ การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพผลของกล้วยน้ำว้า 8 พันธุ์ในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 (PC50) หรือน้ำว้าไส้เหลืองอุบล กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (ML) กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี(TNS) กล้วยน้ำว้าเงิน (NWN) กล้วยน้ำว้าค่อม (NWK) กล้วยน้ำโว้ (NV) กล้วยน้ำว้าทองมาเอง (TME) กล้วยน้ำว้าดำ(NWD) โดยใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่มีขนาดความสูง 15 ซม. ปลูกลงแปลง ในสภาวะแวดล้อมเดียวกัน ณ สถานีวิจัยปากช่อง ม.เกษตรศาสตร์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 8 พันธุ์ พันธุ์ละ 5 ซ้ำ (4 ต้นต่อซ้ำ) ระยะเวลาการดำเนินงาน มกราคม 2553-กุมภาพันธ์ 2555 ผลการทดลองพบว่า การจำแนกลักษณะทางกายภาพ ด้วยวิธี morphological scoring method ของ Simmonds N.W. & Shepherd K.(1955) พันธุ์กล้วยส่วนใหญ่มีคะแนนอยู่ในช่วง 58-64 ยกเว้น NV มีคะแนน 71 ยังคงจัดจำแนกอยู่ในกลุ่มยีโนม ABB ในทุกพันธุ์ แต่ด้วยบางลักษณะที่แตกต่างออกไป จึงใช้การจำแนกพันธุ์ตามแบบของ Valmayor R. V. et. al. (2002) และ Silayoi B. and Babpraserth C. (1983) รวมกับผลการศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผล สามารถจัดจำแนกกลุ่มตามลักษณะประจำพันธุ์ที่โดดเด่นของกล้วยน้ำว้าทั้ง 8 พันธุ์ได้ ดังนี้ 1.) จำแนกตามความสูงต้น แยกได้ 3 ประเภท คือกล้วยน้ำว้าต้นสูง มีความสูงต้น มากกว่า 3.80 เมตร ได้แก่ NV ,NWN, TME, PC50, NWD กล้วยน้ำว้าสูงปานกลาง มีความสูงต้น 3.70-3.00 เมตร ได้แก่ ML, TNS และกล้วยน้ำว้าต้นเตี้ย มีความสูงต้นน้อยกว่า 3.00 เมตร ได้แก่ NWK 2.) จำแนกตามเส้นรอบวงต้น แยกได้ 2 ประเภท คือ ลำต้นขนาดใหญ่ มีเส้นรอบวง มากกว่า 100 ซม. ได้แก่ NV, NWN, TME, PC50, NWK และลำต้นขนาดปานกลาง มีเส้นรอบวงน้อยกว่า 100 ซม. ได้แก่ ML, TNS, NWD 3.) จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพผล สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีอัตราการเจริญเติบโตสูง ต้นสูงใหญ่ ให้ผลผลิต(>25.00 กก.) และคุณภาพผลดี ได้แก่ NV, TME, PC50, NWN กลุ่มที่ 2 มีอัตราการเจริญเติบโตสูง ต้นเตี้ย ให้ผลผลิตดี(>25.00 กก.) และคุณภาพผลปานกลาง ได้แก่ NWK กลุ่มที่ 3 มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง ต้นสูงใหญ่ปานกลาง ให้ผลผลิต(<25.00 กก.) และคุณภาพผลปานกลาง ได้แก่ ML, TNS, NWD 4.) จำแนกตามลักษณะกายภาพอื่นๆที่เด่นชัดที่สุดคือผิวผล และสีไส้ผล พบว่าแยกได้ 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผิวผลดิบสีเขียว ผิวผลสุกสีเหลือง ไส้ผลสีเหลือง ได้แก่ PC50, ML, TNS , NWK กลุ่มที่ 2 ผิวผลดิบสีเขียวนวล ผิวผลสุกสีเหลืองนวล ไส้ผลสีเหลืองอมชมพู ได้แก่ NWN กลุ่มที่ 3 ได้แก่ ผิวผลดิบสีเขียวเข้ม ผิวผลสุกสีเหลืองเข้ม ไส้ผลสีเหลืองอมส้มหรือสีเหลืองอ่อน ได้แก่ NV, TME กลุ่มที่ 4 ผิวผลดิบสีน้ำตาลดำ ผิวผลสุกสีน้ำตาลอมส้ม ไส้ผลสีเหลืองอ่อน ได้แก่ NWD
บทคัดย่อ (EN): Selected eight Namwa bananas, ‘Pakchong 50’ (PC50)‘ or Namwa Sai Hleng Ubun’, ‘Namwa Mali-Ong’(ML), ‘Namwa Tanaow Sri’(TNS), ‘Namwa Ngern’(NWN), ‘Namwa Khom’(NWK), ‘Nam Wo’(NV), ‘Namwa Tong Ma Eang’(TME) and ‘Namwa Dum’(NWD), were investigated by morphological, developmental , yield and quality characteristics. The experimental field, micro-propagated plantlets grown in, was conducted in Completely Randomized Design (CRD) with 4 replications at Pakchong Research Station, Nakhon Rachasima during January, 2010 and February, 2012. By morphological scoring method followed Simmonds N.W. & Shepherd K.(1955), The mostly clones were scored as 58-64 except ‘Num Wo’ as 71 (ABB genome) with certain different individual traits. All clones were then classified followed Valmayor R. V. et. al. (2002), Silayoi B. and Babpraserth C. (1983) and growth-yield-quality traits. The classified groups were 1) depended on pseudo-stem height 1.1) Tall (>3.80 m.) : ‘Nam Wo’, ‘Namwa Ngern’, ‘Namwa Tong Ma Eang’, ‘Namwa Pakchong 50’and ‘Namwa Dum’ , 1.2) Moderate (3.00-3.70) : ‘Namwa Mali-Ong’, ‘Namwa Tanaow Sri’, 1.3) Dwarf: ‘Namwa Khom’ 2) depended on pseudo-stem circumference 2.1) Big (>100 cm.) : ‘Nam Wo’, ‘Namwa Ngern’, ‘Namwa Tong Ma Eang’, ‘Namwa Pakchong 50’ and ‘Namwa Khom’ 2.2) Moderate (<100 cm.) : ‘Namwa Mali-Ong’, ‘Namwa Tanaow Sri’,’Numwa Dum 3) depended on growth , yield and quality 3.1) high growth, tall, high yield and quality : ‘Namwa Pakchong 50’, ‘Namwa Ngern’, ‘Nam Wo’, ‘Namwa Tong Ma Eang’ 3.2) high growth, dwarf, high yield and moderate quality : ‘Namwa Khom’ and 3.3) moderate growth, tall, yield and quality : ‘Namwa Mali-Ong’, ‘Namwa Tanaow Sri’, ‘Namwa Dum’ 4) depended on color of fruit peel and fruit core as 4.1) green (at unripe stage), yellow (at ripe stage), yellow (fruit core at ripe stage) : ‘Namwa Pakchong 50’, ‘Namwa Mali-Ong’, ‘Namwa Tanaow Sri’, ‘Namwa Khom’ 4.2) green-white, yellow-white, pinky-yellow : ‘Namwa Ngern’ 4.3) dark green, dark yellow, cream- yellow or orage-yellow : ‘Nam Wo’, ‘Namwa Tong Ma Eang’ and 3.4) dark brown, light brown, cream- yellow: ‘Namwa Dum’.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาลักษณะทางกายภาพ การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของกล้วยน้ำว้า
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
ลักษณะทางกายภาพและคุณภาพทางเคมีของกล้วยน้ำว้า2 ชนิดที่ระยะการสุกต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพของกล้วยอบโดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์และตู้อบลมร้อน การศึกษาวิจัยตัวแปรที่เหมาะสมของการฝานกล้วยน้ำว้าสุกสำหรับผลิตกล้วยเบรคแตก โพแทสเซียมกับ กล้วยน้ำว้าห่าม การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ การจำแนกกล้วยน้ำว้าโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและลายพิมพ์ DNA การพัฒนาแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ การลดการเกิดอาการสะท้านหนาวในกล้วยหอมทอง กล้วยไข่ และ กล้วยน้ำว้า ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้า 2554A17002232 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้า การยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมกล้วยจากแกนกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์มะลิอ่อง
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก