สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้ไคโตซานและสารสกัดจากขิงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ในเนื้อวัวบด
ทานตะวัน พิรักษ์ (คเชนทร์ชัย) - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ไคโตซานและสารสกัดจากขิงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ในเนื้อวัวบด
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of utilization of chitosan-ginger extract mixture as antioxidant and antimicrobial in minced beef
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของไคโตซานที่น้ำหนักโมเลกุลต่างๆ การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารสกัดขิง และการประยุกต์ใช้สารทั้งสองร่วมกันในตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อวัวบด ไคโตซานที่ผลิตจากเปลือกกุ้งมีร้อยละผลได้ 79% ระดับการกำจัดหมู่อะซิติล 100% น้ำหนักโมเลกุล 438 kDa หลังตัดสายพันธะด้วยเอนไซม์เพคติเนสทางการค้า (Pectinex?) ด้วยสภาวะ pH 4.5 อุณหภูมิ 50 ?C อัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคโตซานต่อเอนไซม์ 1:1 เก็บตัวอย่างที่เวลา 0 30 60 90 120 150 180 210 240 270 และ 300 นาที พบว่า ให้ร้อยละผลได้ 80 -100% เมื่อระยะเวลาการบ่มเพิ่มขึ้นส่งผลให้น้ำหนักโมเลกุลลดลงโดยลำดับ โดยน้ำหนักโมเลกุลต่ำสุด คือ 42 kDa จากการศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของไคโตซานส่งผลให้การต้านอนุมูลอิสระที่แสดงออกในรูป %scavenging effect เพิ่มสูงขึ้น (p?0.05) ขณะที่ไคโตซานที่ผ่านการตัดสายพันธะมีแนวโน้มที่จะให้ค่า %scavenging effect เพิ่มขึ้น โดยตัวอย่างไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุล 69 kDa ที่ความเข้มข้น 1% ให้ค่าสูงสุดเท่ากับ 24.02 ? 2.8 (p?0.05) สำหรับความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของไคซานที่ผลิตได้ พบว่าไคโตซานที่ผ่านการตัดสายพันธะมีความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม (p?0.05) โดยสามารถยับยั้งเชื้อ S. aureaus S. feacalis และ E. coli ได้ ตัวอย่างที่มีความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี คือ ตัวอย่างที่มีน้ำหนักโมเลกุล 63 kDa จากผลการศึกษาทำให้เห็นว่าไคโตซานที่มีความสามารถต้านอนุมูลอิสระ และเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีควรมีน้ำหนักโมเลกุลอยู่ในช่วง 63-69 kDa จากการศึกษาสภาวะที่เหมาสมในการสกัดขิงให้มีคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด พบว่าตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพสามารถเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ เอทานอล 99.8% > เอทานอล 50% > น้ำกลั่น และเวลาที่เหมาะสมในการสกัดแล้วส่งผลให้สารสกัดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด คือ 36 ชั่วโมง ดังนั้น สภาวะที่ใช้ในการสกัดขิง คือ สกัดด้วยเอทานอล 99.8% เป็นเวลา 36 ชั่วโมง โดยสารสกัดขิงที่สกัดได้ จะให้ค่า ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด % radical scavenging และ %Ferrous ion chelating สูงสุด เท่ากับ 1.79mg gallic acid/g fresh weight 58.25% และ 21.67% ตามลำดับ จากการศึกษาอัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคโตซานต่อสารสกัดจากขิงที่เหมาะสม ได้แก่ 1:1 1:2 1:3 2:1 2:2 2:3 3:1 3:2 และ 3:3 โดยน้ำหนัก คุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระเมื่อวัดด้วยวิธีการทำปฏิกิริยากับ DPPH พบว่าตัวอย่างไคโตซานต่อสารสกัดขิงที่อัตราส่วน 1:3 และ 2:3 มีค่า % Scavenging effect สูงที่สุด คือ 84.41% และ 84.13% ตามลำดับ และอัตราส่วนที่มีค่าน้อยที่สุดคือ 1:1 มีค่าเท่ากับ 41.21% และจากการทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณสารสกัดขิงจะมีผลทำให้ค่า %Scavenging effect มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากขิงมีคุณสมบัติเด่นการต้านอนุมูลอิสระสูง (93.33%) และเมื่อวัดคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Ferrous ion chelating ability พบว่าตัวอย่างที่อัตราส่วน 3:3 มีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 18.92% รองลงมาคือ 2:3 และ 1:3 โดยมีค่าเท่ากับ 17.65% และ 16.61 ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าเมื่อพิจารณาค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารผสมไคโตซาน และสารสกัดขิง ที่อัตราส่วน 2:3 มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดเนื่องจากมีค่าการทำปฏิกิริยากับ DPPH และค่าการจับกับเฟอร์รัสไอออนดีที่สุด (84.13% และ 17.65%) จึงเลือกสารผสมไคโตซาน และสารสกัดขิงที่อัตราส่วน 2:3 เพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อวัวบดเพื่อทำการศึกษาผลการใช้ที่มีต่อคุณลักษณะทางคุณภาพด้านต่างๆ ต่อไปงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของไคโตซานที่น้ำหนักโมเลกุลต่างๆ การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารสกัดขิง และการประยุกต์ใช้สารทั้งสองร่วมกันในตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อวัวบด ไคโตซานที่ผลิตจากเปลือกกุ้งมีร้อยละผลได้ 79% ระดับการกำจัดหมู่อะซิติล 100% น้ำหนักโมเลกุล 438 kDa หลังตัดสายพันธะด้วยเอนไซม์เพคติเนสทางการค้า (Pectinex?) ด้วยสภาวะ pH 4.5 อุณหภูมิ 50 ?C อัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคโตซานต่อเอนไซม์ 1:1 เก็บตัวอย่างที่เวลา 0 30 60 90 120 150 180 210 240 270 และ 300 นาที พบว่า ให้ร้อยละผลได้ 80 -100% เมื่อระยะเวลาการบ่มเพิ่มขึ้นส่งผลให้น้ำหนักโมเลกุลลดลงโดยลำดับ โดยน้ำหนักโมเลกุลต่ำสุด คือ 42 kDa จากการศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของไคโตซานส่งผลให้การต้านอนุมูลอิสระที่แสดงออกในรูป %scavenging effect เพิ่มสูงขึ้น (p?0.05) ขณะที่ไคโตซานที่ผ่านการตัดสายพันธะมีแนวโน้มที่จะให้ค่า %scavenging effect เพิ่มขึ้น โดยตัวอย่างไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุล 69 kDa ที่ความเข้มข้น 1% ให้ค่าสูงสุดเท่ากับ 24.02 ? 2.8 (p?0.05) สำหรับความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของไคซานที่ผลิตได้ พบว่าไคโตซานที่ผ่านการตัดสายพันธะมีความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม (p?0.05) โดยสามารถยับยั้งเชื้อ S. aureaus S. feacalis และ E. coli ได้ ตัวอย่างที่มีความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี คือ ตัวอย่างที่มีน้ำหนักโมเลกุล 63 kDa จากผลการศึกษาทำให้เห็นว่าไคโตซานที่มีความสามารถต้านอนุมูลอิสระ และเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีควรมีน้ำหนักโมเลกุลอยู่ในช่วง 63-69 kDa จากการศึกษาสภาวะที่เหมาสมในการสกัดขิงให้มีคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด พบว่าตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพสามารถเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ เอทานอล 99.8% > เอทานอล 50% > น้ำกลั่น และเวลาที่เหมาะสมในการสกัดแล้วส่งผลให้สารสกัดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด คือ 36 ชั่วโมง ดังนั้น สภาวะที่ใช้ในการสกัดขิง คือ สกัดด้วยเอทานอล 99.8% เป็นเวลา 36 ชั่วโมง โดยสารสกัดขิงที่สกัดได้ จะให้ค่า ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด % radical scavenging และ %Ferrous ion chelating สูงสุด เท่ากับ 1.79mg gallic acid/g fresh weight 58.25% และ 21.67% ตามลำดับ จากการศึกษาอัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคโตซานต่อสารสกัดจากขิงที่เหมาะสม ได้แก่ 1:1 1:2 1:3 2:1 2:2 2:3 3:1 3:2 และ 3:3 โดยน้ำหนัก คุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระเมื่อวัดด้วยวิธีการทำปฏิกิริยากับ DPPH พบว่าตัวอย่างไคโตซานต่อสารสกัดขิงที่อัตราส่วน 1:3 และ 2:3 มีค่า % Scavenging effect สูงที่สุด คือ 84.41% และ 84.13% ตามลำดับ และอัตราส่วนที่มีค่าน้อยที่สุดคือ 1:1 มีค่าเท่ากับ 41.21% และจากการทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณสารสกัดขิงจะมีผลทำให้ค่า %Scavenging effect มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากขิงมีคุณสมบัติเด่นการต้านอนุมูลอิสระสูง (93.33%) และเมื่อวัดคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Ferrous ion chelating ability พบว่าตัวอย่างที่อัตราส่วน 3:3 มีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 18.92% รองลงมาคือ 2:3 และ 1:3 โดยมีค่าเท่ากับ 17.65% และ 16.61 ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าเมื่อพิจารณาค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารผสมไคโตซาน และสารสกัดขิง ที่อัตราส่วน 2:3 มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดเนื่องจากมีค่าการทำปฏิกิริยากับ DPPH และค่าการจับกับเฟอร์รัสไอออนดีที่สุด (84.13% และ 17.65%) จึงเลือกสารผสมไคโตซาน และสารสกัดขิงที่อัตราส่วน 2:3 เพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อวัวบดเพื่อทำการศึกษาผลการใช้ที่มีต่อคุณลักษณะทางคุณภาพด้านต่างๆ ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This research was aimed at studying the antioxidant and antimicrobial properties of chitosan with various molecular weight. The investigation of optimal condition of extraction of gingerol extracts and the effect of concomitant application of chitosan and gingerol extract in ground beef was also studied. Chitosan produced from shrimp shells had 79% production yield, 100% deacetylation degree and molecular weight at 438 kDa. Chitosan was hydrolyzed by commercial pectinase (Pectinex?) at pH 4.5, 50 ?C, enzyme/substrate ratio of 1:1 (w/w) and collected at 0, 30, 60, 90, 120, 150, 180, 210, 240, 270 and 300 minutes. The results revealed that the hydrolyzed chitosan had the production yield in the range of 80-100%. Molecular weight of hydrolyzed chitosan depended on incubation time and gradually decreased along the incubation period resulted in the lowest molecular weight at 42 kDa. The result from antioxidant activity test showed that %scavenging effect increased as the increase of chitosan concentration. Furthermore, the hydrolyzed chitosan tended to exhibit the higher %scavenging effect (p?0.05). Chitosan with molecular weight 69 kDa at 1% concentration had the greatest antioxidant activity (24.02 ? 2.85) (p?0.05). The result from antimicrobial activity of hydrolyzed chitosan revealed that the hydrolyzed chitosan had higher antimicrobial activity against S. aureaus, S. feacalis and E. coli when comparing with control (p?0.05). The highest antimicrobial activity was found in chitosan with molecular weight at 63 kDa. The results from this research indicated that chitosan with molecular weight in the range of 63-69 kDa possessed the most prominent antioxidant and antimicrobial properties. The study of optimal condition for extraction of gingerol extract revealed that the extraction efficiency of solvent was varied due to the type of solvent. The efficiency of 99.8% ethanol was better than 50% ethanol and distilled water. The optimal extraction conditions found in this study were extracting with 99.8% ethanol for 36 hr. at room temperature. The extract possessed the highest total phenolic content (1.79 mg gallic acid/g fresh weight), % radical scavenging (58.25%) and %ferrous ion chelating (21.67%). From the study of optimal chitosan to gingerol extract ratio (1:1 1:2 1:3 2:1 2:2 2:3 3:1 3:2 and 3:3), it was found that the ratio at 1:3 and 2:3 had highest % scavenging effect (84.41% and 84.13%, respectively), while the ratio at 1:1 resulted in the lowest % scavenging effect (41.21%). The increase of % scavenging effect was depended on ratio of gingerol extracts. For ferrous ion chelating ability, the result showed that the increase of chitosan ratio elevated the ability of ferrous ion chelating of the mixtures. The highest %ferrous ion chelating was found in mixture of chitosan:gingerol extract at 3:3 (18.92%), followed by 2:3 (17.65%) and 1:3 (16.61%), respectively. When considering all results, the mixture of chitosan:gingerol extract at 2:3 was selected to be used in the next experiment. This research was aimed at studying the antioxidant and antimicrobial properties of chitosan with various molecular weight. The investigation of optimal condition of extraction of gingerol extracts and the effect of concomitant application of chitosan and gingerol extract in ground beef was also studied. Chitosan produced from shrimp shells had 79% production yield, 100% deacetylation degree and molecular weight at 438 kDa. Chitosan was hydrolyzed by commercial pectinase (Pectinex?) at pH 4.5, 50 ?C, enzyme/substrate ratio of 1:1 (w/w) and collected at 0, 30, 60, 90, 120, 150, 180, 210, 240, 270 and 300 minutes. The results revealed that the hydrolyzed chitosan had the production yield in the range of 80-100%. Molecular weight of hydrolyzed chitosan depended on incubation time and gradually decreased along the incubation period resulted in the lowest molecular weight at 42 kDa. The result from antioxidant activity test showed that %scavenging effect increased as the increase of chitosan concentration. Furthermore, the hydrolyzed chitosan tended to exhibit the higher %scavenging effect (p?0.05). Chitosan with molecular weight 69 kDa at 1% concentration had the greatest antioxidant activity (24.02 ? 2.85) (p?0.05). The result from antimicrobial activity of hydrolyzed chitosan revealed that the hydrolyzed chitosan had higher antimicrobial activity against S. aureaus, S. feacalis and E. coli when comparing with control (p?0.05). The highest antimicrobial activity was found in chitosan with molecular weight at 63 kDa. The results from this research indicated that chitosan with molecular weight in the range of 63-69 kDa possessed the most prominent antioxidant and antimicrobial properties. The study of optimal condition for extraction of gingerol extract revealed that the extraction efficiency of solvent was varied due to the type of solvent. The efficiency of 99.8% ethanol was better than 50% ethanol and distilled water. The optimal extraction conditions found in this study were extracting with 99.8% ethanol for 36 hr. at room temperature. The extract possessed the highest total phenolic content (1.79 mg gallic acid/g fresh weight), % radical scavenging (58.25%) and %ferrous ion chelating (21.67%). From the study of optimal chitosan to gingerol extract ratio (1:1 1:2 1:3 2:1 2:2 2:3 3:1 3:2 and 3:3), it was found that the ratio at 1:3 and 2:3 had highest % scavenging effect (84.41% and 84.13%, respectively), while the ratio at 1:1 resulted in the lowest % scavenging effect (41.21%). The increase of % scavenging effect was depended on ratio of gingerol extracts. For ferrous ion chelating ability, the result showed that the increase of chitosan ratio elevated the ability of ferrous ion chelating of the mixtures. The highest %ferrous ion chelating was found in mixture of chitosan:gingerol extract at 3:3 (18.92%), followed by 2:3 (17.65%) and 1:3 (16.61%), respectively. When considering all results, the mixture of chitosan:gingerol extract at 2:3 was selected to be used in the next experiment.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้ไคโตซานและสารสกัดจากขิงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ในเนื้อวัวบด
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
ไคโตซาน: ทางเลือกใหม่ของสารต้านเชื้อจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ สารถนอมอาหารจากขิงสกัดเพื่อเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันพืชและสารต้านแบคทีเรีย (ระยะที่ 2) ผลของสารเคลือบผสมไคโตซานและสารสกัดสาหร่ายสไปโรไจราในการต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ การใช้คลื่นเหนือเสียงช่วยสกัดสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านจุลินทรียจ์ากชานอ้อยที่ผ่านการระเบิดด้วยไอน้ำ สารยับยั้งจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของรา Xylaria และการจำแนกชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด การศึกษาหาแนวทางการอบแห้งที่เหมาะสมสำหรับผลิตขิงผง การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากบัวกลุ่มอุบลชาติและฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและเชื้อจุลินทรย์ก่อโรคในมนุษย์ การตรึงสารคลอโรฟิลล์สารหอม (2AP) และสารต้านอนุมูลอิสระในชาใบเตยโดยเทคนิคไมโครเวฟ การศึกษาการสลายตัวของสารต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการผลิตชา
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก