สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์หญ้าแพงโกล่าโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล, ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ, จันทกานต์ อรณนันท์, สายัณห์ ทัดศรี - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์หญ้าแพงโกล่าโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of Pangola Grass ( Digitaria eriantha Steuud.) by Tissue Culture
บทคัดย่อ: จากการเพาะเลี้ยงข้อของหญ้าแพงโกล่าในอาหารสูตร MS ที่เติม BAP 0 , 2 , 4 , 6 , 8 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนำให้เกิดยอดหลายยอดพบว่า สูตรอาหารที่ชักนำให้เกิดยอดหลายยอดได้ดีที่สุดคือ อาหารสูตร MS ที่เติม BAP 8 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยจำนวนยอดเฉลี่ยคือ 13.05 ยอดต่อข้อและเมื่อนำยอดที่เกิดขึ้นไปเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS, MSที่เติมถ่าน 1 กรัมต่อลิตร และMS ที่เติม 2,4-D 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนำให้เกิดราก พบว่าอาหารสูตร MS ที่เติมถ่าน 1 กรัมต่อลิตรชักนำให้เกิดรากดีที่สุด เมื่อนำยอดหลายยอดที่ได้จาการเพาะเลี้ยงยอดในอาหารสูตร MS ที่เติม BAP 8 มิลลิกรัมต่อลิตรไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันในปริมาณต่าง ๆ กัน คือ 0, 20, 40, 60, 80 และ 100 เกรย์ แล้วนำไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตรเดิมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า เมื่อปริมาณรังสีเพิ่มขึ้น อัตราการรอดชีวิตจะลดลงโดยที่ปริมาณรังสี 0, 20, 40, 60, 80 และ 100 เกรย์ มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 100, 94.21, 89.56, 85.71, 76.47 และ 39.34 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และสามารถหาค่า LD50 ได้เท่ากับ 80 เกรย์ เมื่อนำต้นที่รอดชีวิตออกปลูกในสภาพธรรมชาติที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาท จังหวัดชัยนาท สามารถคัดเลือกโคลนที่มีลักษณะดีกว่าโคลนควบคุม 10 โคลน นำต้นที่คัดเลือกได้รวม 10 พันธุ์ ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB (Randomized complete block design) จำนวน 3 ซ้ำ และเก็บข้อมูลทุก 45 วัน เป็นเวลา 1 ปี สามารถคัดเลือกหญ้าแพงโกล่าพันธุ์ใหม่ได้ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ C 10701 , E 107/02 และ D 703/01 โดยเฉพาะพันธุ์ D 703/01 เหมาะสำหรับนำไปทำหญ้าแห้งเพราะมีใบขนาดเล็ก , จากการเพาะเลี้ยงข้อของหญ้าแพงโกล่าในอาหารสูตร MS ที่เติม BAP 0 , 2 , 4 , 6 , 8 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนำให้เกิดยอดหลายยอดพบว่า สูตรอาหารที่ชักนำให้เกิดยอดหลายยอดได้ดีที่สุดคือ อาหารสูตร MS ที่เติม BAP 8 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยจำนวนยอดเฉลี่ยคือ 13.05 ยอดต่อข้อและเมื่อนำยอดที่เกิดขึ้นไปเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS, MSที่เติมถ่าน 1 กรัมต่อลิตร และMS ที่เติม 2,4-D 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนำให้เกิดราก พบว่าอาหารสูตร MS ที่เติมถ่าน 1 กรัมต่อลิตรชักนำให้เกิดรากดีที่สุด เมื่อนำยอดหลายยอดที่ได้จาการเพาะเลี้ยงยอดในอาหารสูตร MS ที่เติม BAP 8 มิลลิกรัมต่อลิตรไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันในปริมาณต่าง ๆ กัน คือ 0, 20, 40, 60, 80 และ 100 เกรย์ แล้วนำไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตรเดิมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า เมื่อปริมาณรังสีเพิ่มขึ้น อัตราการรอดชีวิตจะลดลงโดยที่ปริมาณรังสี 0, 20, 40, 60, 80 และ 100 เกรย์ มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 100, 94.21, 89.56, 85.71, 76.47 และ 39.34 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และสามารถหาค่า LD50 ได้เท่ากับ 80 เกรย์ เมื่อนำต้นที่รอดชีวิตออกปลูกในสภาพธรรมชาติที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาท จังหวัดชัยนาท สามารถคัดเลือกโคลนที่มีลักษณะดีกว่าโคลนควบคุม 10 โคลน นำต้นที่คัดเลือกได้รวม 10 พันธุ์ ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB (Randomized complete block design) จำนวน 3 ซ้ำ และเก็บข้อมูลทุก 45 วัน เป็นเวลา 1 ปี สามารถคัดเลือกหญ้าแพงโกล่าพันธุ์ใหม่ได้ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ C 10701 , E 107/02 และ D 703/01 โดยเฉพาะพันธุ์ D 703/01 เหมาะสำหรับนำไปทำหญ้าแห้งเพราะมีใบขนาดเล็ก ,
บทคัดย่อ (EN): Culturing the node of Pangola grass (Digitaria eriantha steud) in the MS medium supplemented with 8 mg/l BAP was found to form the highest multiple shoot which accounted for the average of 13.05 shoots per node. Comparing these shoots grown in MS medium, MS medium containing 0.5 mg/l 2,4-D with those grown in MS medium containing 1 g/l activated charcoal resulted in a lot higher number of root formation of the latter set up. Accute gamma irradiation of the shoots to varying dose and subsequently grown in the same medium formula for 4 weeks resulted in the decreasing of survival as the dose increased, i.e., 0, 20, 40, 60, 80 and 100 Gray accounted for the percentage of survival at 100, 94.21, 89.56, 85.71, 76.47 and 39.34, respectively. The LD50 was found to be 80 Gray. The survival plants were transferred to grow in the natural environment at the Chainath Animal Nutrition Research and Development Center, Chainath Province. Ten strains with superior characteristics were selected and grown to compare the strains using randomized complete block design in triplicate. The data were collected every 45 days for one year period. Three new Pangola strains, i.e., C 107/01, E 107/02 and D 703/01 were selected D 703/01 was specifically found to be suitable to make hay due to its small leaves. Culturing the node of Pangola grass (Digitaria eriantha steud) in the MS medium supplemented with 8 mg/l BAP was found to form the highest multiple shoot which accounted for the average of 13.05 shoots per node. Comparing these shoots grown in MS medium, MS medium containing 0.5 mg/l 2,4-D with those grown in MS medium containing 1 g/l activated charcoal resulted in a lot higher number of root formation of the latter set up. Accute gamma irradiation of the shoots to varying dose and subsequently grown in the same medium formula for 4 weeks resulted in the decreasing of survival as the dose increased, i.e., 0, 20, 40, 60, 80 and 100 Gray accounted for the percentage of survival at 100, 94.21, 89.56, 85.71, 76.47 and 39.34, respectively. The LD50 was found to be 80 Gray. The survival plants were transferred to grow in the natural environment at the Chainath Animal Nutrition Research and Development Center, Chainath Province. Ten strains with superior characteristics were selected and grown to compare the strains using randomized complete block design in triplicate. The data were collected every 45 days for one year period. Three new Pangola strains, i.e., C 107/01, E 107/02 and D 703/01 were selected D 703/01 was specifically found to be suitable to make hay due to its small leaves.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์หญ้าแพงโกล่าโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2552
การใช้หญ้าแพงโกล่าหมักเลี้ยงโคเนื้อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อการขยายพันธุ์ การทำหญ้าแพงโกล่าแห้ง โครงการวิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้ทนดินเค็มโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการก่อกลายพันธุ์ การขยายพันธุ์สับปะรดประดับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งเลี้ยงโคนมในฟาร์มเกษตรกรจังหวัดชัยนาท การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยางพารา การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไผ่
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก