บทคัดย่อ: |
ศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์มะปรางหวานเพื่อการค้า วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 7 กรรมวิธี 4 ซ้ำ พันธุ์มะปรางหวานชนิดผลใหญ่คือ พจ.01, พจ.02, พจ.09, พจ.041, พจ.044, พจ. 022 และพันธุ์หวานท่าอิฐเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ (check) ระยะปลูก 6x6 เมตร ผลการทดลองพบว่า ด้านการเจริญเติบโตความสูงต้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพันธุ์เปรียบเทียบ พันธุ์ที่มีความสูงต้นสูงที่สุดคือพันธุ์ พจ.044 มีความสูง 139.10 เซนติเมตร พันธุ์ที่มีความสูงน้อยที่สุดคือพันธุ์พจ.02 มีความสูง 87.12 เซนติเมตร พันธุ์หวานท่าอิฐซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบมีความสูงต้น 124.62 เซนติเมตร ด้านความกว้างเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพันธุ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีความกว้างทรงพุ่มอยู่ระหว่าง 63.37-109.00 เซนติเมตร ด้านความยาวเส้นรอบวงของโคนต้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพันธุ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีความยาวเส้นรอบวงโคนต้นอยู่ในช่วง 6.83-10.16 เซนติเมตร ด้านผลผลิต ทุกพันธุ์ยังไม่ออกดอกติดผล การเปรียบเทียบพันธุ์มะยงชิดเพื่อการค้า วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 7 กรรมวิธี 4 ซ้ำ พันธุ์มะยงชิดผลใหญ่คือ พจ.0015, พจ.0023, พจ.0031, พจ.0038, พจ.0039, พจ.0043 และพันธุ์ชิดท่าอิฐเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ระยะปลูก 6x6 เมตร ผลการทดลองพบว่า การเจริญเติบโตด้านความสูงต้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพันธุ์เปรียบเทียบ พันธุ์ที่มีความสูงต้นสูงที่สุดคือพันธุ์ พจ.0015 และ พจ.0039 มีความสูง 141.37 และ 141.25 เซนติเมตร ตามลำดับ ต่ำที่สุดเป็นพันธุ์ พจ.0038 สูง 116.25 เซนติเมตร พันธุ์เปรียบเทียบ(ชิดท่าอิฐ) มีความสูง 129.37 เซนติเมตร ด้านเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพันธุ์เปรียบเทียบ พันธุ์ที่มีความกว้างมากที่สุดคือพันธุ์ พจ.0015 กว้าง 137.50 เซนติเมตร น้อยที่สุดคือพันธุ์ พจ.0043 มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มที่ 106.25 เซนติเมตร พันธุ์เปรียบเทียบ(ชิดท่าอิฐ) กว้าง 126.25 เซนติเมตร ด้านความยาวเส้นรอบวงโคนต้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพันธุ์เปรียบเทียบ พันธุ์ที่มีความยาวเส้นรอบวงโคนต้นมากที่สุดคือพันธุ์ พจ.0015 และ พจ.0039 คือ 15.62 และ 15.56 เซนติเมตรตามลำดับ น้อยที่สุดคือ พจ.0043 และ พจ.0038 คือ 12.41 และ 12.42 เซนติเมตรตามลำดับ พันธุ์เปรียบเทียบ(ชิดท่าอิฐ) มีความยาวเส้นรอบวงโคนต้น 14.03 เซนติเมตร ด้านผลผลิตทุกพันธุ์ยังไม่ให้ผลผลิตการคัดเลือกพันธุ์มะปรางและมะยงชิดโดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยการฉายรังสี ได้นำไปทำการฉายรังสี 2 ครั้ง ครั้งแรก เดือน กันยายน 2555 3 ระดับรังสี คือ 10.54 Krad, 14.81 Krad และ 19.64 Krad ทั้งมะปรางและมะยงชิดระดับรังสีละ 20 ต้น เป็นจำนวนมะปรางหวานพันธุ์สุวรรณบาตร 60 ต้น มะยงชิดท่าอิฐ 60 ต้น นำมาปลูกลงแปลงทดลอง 28 พฤศจิกายน 2555 ได้ 1 ปี ทุกระดับรังสีต้นพืชมะปรางทั้ง 2 สายพันธุ์ มีการเจริญเติบโตอย่างช้าๆ กิ่งยอดแห้งลงและตายไปในที่สุด จึงได้เตรียมพันธุ์ทั้ง 2 สายพันธุ์ใหม่ พันธุ์ 60 ต้น เพื่อนำไปฉายรังสีใหม่ ครั้งที่ 2 วันที่ 4 ธันวาคม 2556 โดยการใช้ระดับรังสี 3 ระดับ คือ 2.3 Krad, 3.6 Krad และ 4.1 Krad ลดระดับรังสีลงจากครั้งที่ 1 ปลูกลงแปลง 24 กรกฎาคม 2557 ถึง 2558 จำนวนจาก 20 ต้น ที่นำไปฉายรังสีมีเหลืออยู่ เป็นพันธุ์สุวรรณบาตรระดับรังสี 2.3 Krad เหลือ 13 ต้น รังสี 3.6 Krad เหลือ 10 ต้น รังสี 4.1 Krad เหลือ 15 ต้น พันธุ์ชิดท่าอิฐ รังสี 2.3 Krad เหลือ 10 ต้น รังสี 3.6 Krad เหลือ 6 ต้น รังสี 4.1 Krad เหลือ 13 ต้น การเจริญเติบโตแตกใบอ่อนขนาดใบไม่ใหญ่เล็กเปรียบเทียบกับที่ไม่ฉายรังสี การศึกษาระยะปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสมของมะปราง วางแผนการทดลองแบบ Split plot มี 3 ช้ำ 8 กรรมวิธี ประกอบด้วย main plot ได้แก่ระยะปลูก 2 ระยะ คือ ระยะปลูก 4x6 และระยะปลูก 6x6 เมตร sub plot ได้แก่ การตัดแต่งกิ่ง 4 วิธี คือ Central leader, Modified central leader, Open center และไม่ตัดแต่งกิ่ง ผลการทดลองระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งไม่มีผลต่อขนาดทรงพุ่ม การตัดแต่งมีผลต่อขนาดลำต้น แต่ทั้งระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งมีผลต่อความสูงของลำต้น ระยะปลูก 4x6 เมตรกับการตัดแต่งกิ่งแบบ Central leader, Modified central leader และ Open center มีความสูงต้นสูงที่สุดคือ 111.33,109.98 และ 103.05 เซนติเมตร ตามลำดับ แตกต่างกับการไม่ตัดแต่งกิ่งให้ความสูงน้อยสุดคือ 84.58 เซนติเมตร ระยะปลูก 6x6 เมตร กับการตัดแต่งกิ่งแบบ Central leader และ Modified central leader มีความสูงสูงสุดคือ 112.50 เซนติเมตร และ 103.19 เซนติเมตร แตกต่างกับไม่ตัดแต่งกิ่ง ระยะปลูก 4x6 และระยะปลูก 6x6 เมตรกับการตัดแต่งกิ่งแบบ Central leader และ Modified central leader มีความสูงสูงสุดคือ 111.92 เซนติเมตรและ 106.59 เซนติเมตร แตกต่างกันทางสถิติกับการตัดแต่งแบบ Open center และไม่ตัดแต่งกิ่ง มีความสูง 94.71 เซนติเมตรและ 86.67 เซนติเมตร การจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตมะปรางให้มีคุณภาพในแปลงเกษตรกรที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร วิธีการทดลองประกอบด้วย 1) วิธีเกษตรกร 2) วิธีแนะนำ และ 3) การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ผลการวิเคราะห์ดินก่อนการทดสอบปุ๋ยพบว่า ดินมีค่า pH ปานกลาง (6.61) ปริมาณอินทรียวัตถุสูงมาก (2.84 %) ปริมาณฟอสฟอรัสสูงมาก (124.15 mg/kg) โพแทสเซียมสูงมาก (384.00 mg/kg) ปริมาณไนโตรเจนปานกลาง (14.00 ppm) และมีลักษณะเนื้อดินแบบดินร่วนปนทรายแป้ง (silt loam) จากผลการทดลองพบว่า ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีในวิธีแนะนำมีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ยที่ 4,184.40 บาทต่อไร่ วิธีเกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ยที่ 5,579.20 บาทต่อไร่ และวิธีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ยที่ 3,084.84 บาทต่อไร่ ทางด้านรายได้ผลตอบแทนพบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลตอบแทนมีรายได้มากที่สุด 52,420.49 บาทต่อไร่ รองลงมาเป็นวิธีแนะนำที่ให้ผลตอบแทนมีรายได้ 51,415.86 บาทต่อไร่ และวิธีที่เกษตรกรที่ให้ผลตอบแทนมีรายได้ 49,862.84 บาทต่อไร่ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากวิธีการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำและวิธีเกษตรกร 1,040.63 และ 2,557.65 บาทต่อไร่ตามลำดับ ได้ทำการศึกษาการจัดการน้ำในช่วงติดดอกออกผล เพื่อผลิตมะปรางให้มีคุณภาพ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) ให้น้ำ 100% ของค่า Field capacity (FC) 2) ให้น้ำ 80% ของค่า Field capacity (FC) 3) ให้น้ำ 60% ของค่า Field capacity (FC) 4) ให้น้ำที่ 40% ของค่า Field capacity (FC) และ 5) การไม่ให้น้ำ จากการทดลองทางด้านการเจริญเติบโตพบว่า ความสูงและความกว้างของทรงพุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ พบความกว้างของเส้นรอบวงโคนต้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การให้น้ำ 80% ของค่า Field capacity มีเส้นรอบวงโคนต้นกว้างที่สุด 78.00 เซนติเมตรด้านผลผลิตพบว่า น้ำหนักต่อผล จำนวนผลต่อกิโลกรัม ผลผลิตต่อไร่ และค่าความหวาน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ พบปริมาณกรดที่ไตเตรตได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การให้น้ำ 80 % ของค่า Field capacity มีปริมาณกรดที่ไตเตรตได้สูงที่สุด 5.99 เปอร์เซ็นต์ การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีและสารน้ำมันในการควบคุมเพลี้ยไฟในมะปราง มีการใช้สารน้ำมันและสารเคมีรวม 8 กรรมวิธีเปรียบเทียบกับการพ่นด้วยน้ำเปล่าหลังจากการพ่นสารทดลอง 3, 7 วันและ14 วัน ทำการประเมินประสิทธิภาพสารโดยการนับจำนวนประชากรเพลี้ยไฟ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า การพ่นสารเคมีได้แก่ thiamethoxam, fipronil, imidaclopri, dinotefuran, acetamiprid, emamectin benzoate มีจำนวนเพลี้ยไฟลดลง 50-60 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าการใช้สารน้ำมันได้แก่ refined white oil และ petroleum spray oil มีเพลี้ยไฟลดลงเฉลี่ย 33-39 เปอร์เซ็นต์ และดีกว่า การพ่นด้วยน้ำเปล่าหลังพ่นสาร ทดลอง 7 วันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สารที่มีประสิทธิภาพมาก ในการควบคุมประชากรเพลี้ยไฟ หลังจากการพ่นสารทดลอง 14 วันได้แก่ acetamiprid, ,fipronil พบเพลี้ยไฟ 1.50-2.75 ตัว ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ thiamethoxam, imidacloprid, emamectin benzoate พบเพลี้ยไฟ 4.0-6.5 ตัว การใช้สารน้ำมันได้แก่ refined white oil และ petroleum spray oil สามารถควบคุมเพลี้ยไฟ ให้ลดลงได้หลังพ่นสารแล้ว 7 วัน พบเพลี้ยไฟ 3.0 และ 3.67 ตัว ตามลำดับ โดยหลังการพ่นน้ำ 7 วัน และ 14 วันพบเพลี้ยไฟเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้น หลังพ่นน้ำ 7 วันพบเพลี้ยไฟ 5.33 ตัวและหลังพ่นน้ำ 14 วันพบเพลี้ยไฟ 8.0 ตัว สารเคมีลดประชากรเพลี้ยไฟในเวลารวดเร็วหลังพ่นสาร และสารน้ำมันสามารถควบคุมปริมาณประชากรเพลี้ยไฟได้ดีกว่าการพ่นด้วยน้ำเปล่า |
บทคัดย่อ (EN): |
Comparison of Sweet Maprang for commercial. The experimental design was in randomized complete block design with 4 replications of 7 treatments that was, PC.01, PC.02, PC.09, PC.041, PC.044, PC.022 and Sweet Tha It (check), the spacings at 6x6 m. The results found that, plant height had significantly difference with the Sweet Tha It. The PC.044 had the highest plant height of 139.10 cm. The PC.02 had the lowest plant height of 87.12 cm. The Sweet Tha It had the plant height of 124.62 cm. In terms the diameter of canopy found that, not significantly difference with the Sweet Tha It, the diameter of canopy was among the 63.37-98.50 cm. The long stem circumference was among the 6.38-10.16 cm. In terms of the yield found that, all varieties not flowering. Comparison of Mayongchit for commercial. The experimental design was in randomized complete block design with 4 replications of 7 treatments that was, PC.0015, PC.0023, PC.0031, PC.0038, PC.0039, PC.0043 and Chit Tha It (check), the spacings at 6x6 m. The results found that, plant height was not significantly different with the Sweet Tha It. The PC.0015 and PC.0039 had the highest plant height of 141.37 and 141.25 cm. respectively, the PC.0038 had the lowest plant height of 116.25 cm. The Chit Tha It had the plant height of 129.37 cm. In terms the diameter of canopy found that, not significantly difference with the Chit Tha It, the PC.0015 had the widest diameter of canopy was 137.50 cm. The PC.0043 had lowest diameter of canopy of 106.25 cm. The Chit Tha It had diameter of canopy of 126.25 cm. In terms the long stem circumference had significantly difference with the Chit Tha It. The PC.0015 and PC.0039 had the longest stem circumference of 15.62 and 15.56 cm. respectively. The PC.0043 and PC.0038 had the shortest stem circumference of 12.41 and 12.42 cm. respectively, the Chit Tha It had long stem circumference of 14.03 cm. In terms of the yield found that, all varieties not flowering. Selection of Sweet Maprang and Mayongchit clones by induce mutation by irradiation. The first time on September 2012, there were 3 levels of radiated dose were 10.54, 14.81 and 19.64 Krad, treated with Sweet Maprang “Suwanbaat’ number of 60 plants and Mayongchit “Chit Tha It” number of 60 plants found that, All levels of radiation caused the death Marian Plum all. The second time on December 2013, with 3 levels of radiated dose was 2.3, 3.6 and 4.1 Krad. At radiated levels of 2.3 Krad found had the number of survival of the Sweet Maprang “Suwanbaat’ of 13 plants, at radiated levels of 3.6 Krad found had the number of survival the Sweet Maprang “Suwanbaat’ of 10 plants and radiated levels of 4.1 Krad found the had number of survival the Sweet Maprang “Suwanbart’ of 15 plants. At radiated levels of 2.3 Krad found had the number of survival of the Mayongchit “Chit Tha It” of 10 plants, at radiated levels of 3.6 Krad found had the number of survival of the Mayongchit “Chit Tha It” of 6 plants and at radiated levels of 4.1 Krad found had the number of survival of the Mayongchit “Chit Tha It” of 13 plants. Study of spacing and pruning suitable of Marian Plum. The experimental design was in split plot with 3 replications of 8 treatments including, the main plot were spacing at 4x6 and 6x6 metre, the sub plot were pruning method of Central leader, Modified central leader, Open center and No pruning. The results found that, the spacing and pruning not effect on the size of the canopy. The pruning had effect on the size of the stem. The spacing and pruning had effect on plant height. The spacing at 4x6 metre with Central leader, Modified central leader and Open center found had the highest plant height of 111.30, 109.98 and 103.05 cm. respectively, significantly difference with no pruning had the lowest plant height of 84.58 cm. The spacing at 6x6 metre with Central leader and Modified central leader found had the highest plant height of 112.50 and 103.19 cm. respectively, significantly difference with no pruning. The spacing at 4x6 and 6x6 metre with Central leader and Modified central leader found had the highest plant height of 111.92 and 106.59 cm. respectively, significantly difference with Open center and no pruning had plant height of 94.71 and 86.67 cm. respectively. Fertilizer management for quality production of Marian Plum. The experiments design was conducted in the field of farmer at Taphan Hin District, Phichit Province. The experiment consisted of 3 treatments including, 1) the farmers’ method 2) the recommend’s method and 3) application by using soil analysis method. The soil analysis found that, the soil reaction had pH was neutral (6.61), the very high of organic matter (2.84 %), the very high of phosphorus (124.15 mg/kg), the very high of potassium (384.00 mg/kg), the moderate of nitrogen (14.00 ppm) and the silt loam of texture. As a result of the experiment found that, the recommend’s method had cost of chemical fertilizers on average of 4,184.40 baht per rai, the farmers’ method had cost of chemical fertilizers on average of 5,579.20 baht per rai and application by using soil analysis had cost of chemical fertilizers on average of 3,084.84 baht per rai. In terms of the income found that, application by using soil analysis had the highest average of incomes of 52,420.49 baht per rai, followed by the recommend’s method had average of incomes of 51,415.86 baht per rai, and the farmers’ method had average of incomes of 49,862.84 baht per rai. Application by using soil analysis had average of incomes more than the recommend’s method and the farmers’ method of 1,040.63 and 2,557.65 baht per rai, respectively. Water management on flowering for quality production of Marian Plum. The experimental design was in randomized complete block design with 4 replications of 5 treatments including, 1) the watering to 100% of the field capacity 2) the watering to 80% of the field capacity 3) the watering to 60% of the field capacity 4) the watering to 40% of the field capacity and 5) no watering. As a result of the experiment, in terms of the growth found that, plant height and width of canopy were not significantly difference. Found that, width stem circumference significantly difference. The watering to 80% of the field capacity had the widest stem circumference of 78.00 cm. In terms of the yield found that, weight per fruit, the number of fruit per kilogram, yield per rai and the percentage of sweet not significantly difference. Found that, The titratable acidity (TA) had significantly difference. The watering to 80% of the field capacity had the highest the percentage of the titratable acidity of 5.99%. Applications of petroleum and chemicals for suppression of thrips on Marian plum. The experiment design was consisted of 8 treatments compared to spraying with water (control). After the spraying of petroleum and chemicals on 3, 7 and 14 days, the evaluation effective by counting the population of thrip under the microscope found that, the chemicals including, thiamethoxam, fipronil, imidacloprid, dinotefuran, acetamiprid and ema- mectin benzoate had the number of thrip were decrease 50-60 percent, better than the use of oil were refined white oil and petroleum spray oil had the number of thrip were decrease 33-39 percent and better than spraying with water, after the spraying of treatment on 7 days significantly difference. After the spraying of treatment on 14 days, the acetamiprid and fipronil had the number of thrip of 1.50 and 2.75 thrips respectively, followed by thiamethoxam, imidacloprid and emamectin benzoate had the number of thrip among 4.0-6.5 thrips. After the spraying on 7 days, the refined white oil and petroleum spray oil had the number of thrip of 3.0 and 3.67 thrips respectively, after the spraying with water on 7 and 14 days had add more volume of thrips. After the spraying with water on 7 days had the number of thrip of 5.33 thrips and after spraying with water on 18 days had the number of thrip of 8.0 thrips. The population of thrip were decreases rapidly after spraying of treatment. The refined white oil and petroleum spray oil can control the population of thrip better spraying of water. |