สืบค้นงานวิจัย
การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากใบหญ้าแฝก
วงเดือน ไม้สนธิ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ชื่อเรื่อง: การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากใบหญ้าแฝก
ชื่อเรื่อง (EN): The Production of Enzyme Ionic Plasma from Vetiver Grass
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วงเดือน ไม้สนธิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและศึกษาสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของน้ำหมักชีวภาพจากใบหญ้าแฝกแบบสดและแห้งโดยทำการหมักเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และทุกๆ 2 สัปดาห์นำน้ำหมักชีวภาพมาทำการตรวจวิเคราะห์ จากการศึกษาสมบัติทางกายภาพ คือ สี กลิ่น ความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนำไฟฟ้า พบว่าเมื่อทำการหมักเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ จะได้ของเหลวข้นมีสีน้ำตาลอมแดง แต่เมื่อทำการหมักต่อไปจนครบ 4 สัปดาห์ น้ำหมักชีวภาพที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้มมากขึ้น จากการวัดค่า pH พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 6.71-7.75 และค่าการนำไฟฟ้า พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 10.15-12.98 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร โดยค่าการนำไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อทำการหมักเป็นระยะเวลานานขึ้น การศึกษาสมบัติทางเคมีทำโดยการหาปริมาณ total nitrogen ด้วยวิธี Kjeldahl จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อทำการหมักเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ น้ำหมักชีวภาพจากใบหญ้าแฝกแบบสดและแห้ง มีค่า %N สูงสุด คือ 0.08% และ 0.18% ตามลำดับ มีค่า % P สูงสุด คือ 0.07 % และ 0.08% ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ปริมาณ potassium พบว่าเมื่อทำการหมักเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ น้ำหมักชีวภาพจากใบหญ้าแฝกแบบสดและแห้ง มีค่า % K สูงสุด คือ 0.33% และ 0.35% ตามลำดับ จากการศึกษาสมบัติทางชีวภาพโดยการหาปริมาณแบคทีเรียด้วยเครื่องนับโคโลนี พบว่าตลอดระยะเวลาของการหมัก 12 สัปดาห์มีค่าไม่แตกต่างกันในทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): This research is aimed at the production and study of the physical, chemical and biological characteristics of Enzyme Ionic Plasma of both fresh and dried Vetiver Grass which were fermented for a period of twelve weeks. In a regular two weeks period of experimentation, the fermented liquid had been examined and analyzed. In-depth study of its physical characteristics regarding its colors, smells, pH and conductivity, it was found that the fermented liquid became more auburn within the span of four weeks of fermentation. Moreover, it would be more brown after four weeks of fermentation. According to pH measurements, it showed a value around 6.71 – 7.75 ; whereas the conductivity had shown a measurement between 10.15 –12.98 Ms/cm. The conductivity had shown to be increased when the fermentation was conducted for more time. Obviously, after the six weeks of fermentation, it revealed that the Vetiver Grass of fresh and dry Vetiver Grass was at the highest level of %N, that was 0.08% and 0.18% respectively; whereas the highest level of %P, that was 0.07% and 0.08% respectively. The ten weeks of fermentation, it revealed that the Vetiver Grass of fresh and dry Vetiver Grass was at the highest level of %K, that was 0.33% and 0.35% respectively. The study of the biological characteristics on bacteria capacity through the colony counter revealed that it was not statistically different within the span of twelve weeks of fermentation.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากใบหญ้าแฝก
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
30 กันยายน 2553
เอกสารแนบ 1
การศึกษาและพัฒนาสูตรน้ำหมักชีวภาพจากผลและใบตะลิงปลิงหมักโดยแบคทีเรียกรดแลคติก เพื่อผลิตยางก้อนถ้วย การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากเครื่องในปลานิลโดยวิธีทางเคมีและชีวภาพ และการ นำไปใช้ การจัดการปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวหอมมะลิ การศึกษาและพัฒนาปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากไข่น้ำ (Wolffia arrhiza) วิจัยและพัฒนาการใช้น้ำหมักชีวภาพจากกากยีสต์เพื่อผลิตคะน้าอินทรีย์ การศึกษาปัจจัยในการหมักน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของพืช ผลของชนิดน้ำหมักชีวภาพที่มีต่อผลผลิต และคุณภาพของชา ในกลุ่มชุดดินที่ 29 ผลของอัตราและระยะเวลาการใช้น้ำหมักชีวภาพกากยีสต์ที่เหมาะสมเพื่อผลิตคะน้า ประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพต่อคุณภาพดินและผลผลิตทางการเกษตร-พริกขี้หนู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก