สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศผสมผสานกับปลาเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ
สุริยะ จันทร์แก้ว, อำนวยโชค เวชกุล, สุริยะ จันทร์แก้ว, อำนวยโชค เวชกุล - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศผสมผสานกับปลาเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ
ชื่อเรื่อง (EN): The Polyculture of Feminization of Climbing Perch in Earthen Ponds Using Various Eeconomics Fish
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชื่อโครงการวิจัย การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศผสมผสานกับปลาเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ผู้วิจัย 1. นายอำนวยโชค เวชกุล 2. นายสุริยะ จันทร์แก้ว หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับทุนอุดหนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 บทคัดย่อ การทดลองแปลงเพศปลาหมอไทยโดยใช้ฮอร์โมน 17 เบต้าเอสตร้าไดออล ให้อาหารไม่ผสมฮอร์โมนเป็นชุดการทดลองที่ 1 การทดลองที่ 2 และ 3 ปลาหมอไทยแปลงเพศให้อาหารผสมฮอร์โมนในระดับความเข้มข้น 50 และ 100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ทดลองเลี้ยงเป็นระยะเวลา 90 วัน พบว่า ปลาหมอไทยมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 25.18?6.42 28.84?6.90 กรัม และ 29.11?5.79 กรัม ตามลำดับ น้ำหนักไม่ความแตกต่างกันนทางสถิติ (p>0.05) อัตราส่วนเพศเมียของปลาหมอไทย เท่ากับ 42.80?10.18, 62.23?22.50 และ 78.90?10.18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อัตราส่วนเพศมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อในการทดลองที่ 2 มีค่าต่ำสุด เท่ากับ 2.11?0.07 ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร เท่ากับ 83.91 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนการผลิตในการทดลองที่ 2 มีค่าต่ำสุด เท่ากับ 48.98 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตปลาหมอไทย เท่ากับ 4,025 กิโลกรัม ปลาดุกอุย เท่ากับ 198 กิโลกรัม และปลานิลแปลงเพศ เท่ากับ 204 กิโลกรัม ผลตอบแทนคิดเป็นรายได้สุทธิในแต่ละชุดการทดลอง เท่ากับ 168, 7,165, 6,247 และ 1,185 บาท ตามลำดับ คุณภาพน้ำระหว่างการ ทดลอง พบว่า ความโปร่งแสงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 6.50-43.50 เซนติเมตร อุณหภูมิของน้ำ 22.0-30.8 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดของน้ำ 1.3-66.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ของ CaCO3 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 0.4-8.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ความกระด้างของน้ำ 12.2-49.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ของ CaCO3 ปริมาณแอมโมเนีย 0.2-2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณไนไตรท์ 0-0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณไนเตรท 0-27.6 มิลลิกรัมต่อลิตร และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ 6.3-46.0 มิลลิกรัมต่อลิตร แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นส่วนใหญ่ พบใน Class Cyanophyceae, Chlorophyceae, Euglenophyceae ปริมาณที่พบสูงสุดในแต่ละ Class ได้แก่ Oscillatoria sp., Pediastrum sp. และ Trachelomonas sp. ตามลำดับ คำสำคัญ : การเลี้ยง ปลาหมอไทยแปลงเพศ, ผสมผสาน, ปลาเศรษฐกิจ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศผสมผสานกับปลาเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
30 กันยายน 2551
การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศร่วมกับการเลี้ยงปลาดุกอุย ผลของฮอร์โมนเอสโตรเจน 2 ชนิด ต่อการผลิตลูกปลาหมอแปลงเพศ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการเลี้ยงปลาหมอร่วมกับปลานิล การทดลองแปลงเพศปลาหมอให้เป็นเพศเมียโดยใช้สารสกัดกวาวเครือขาว การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีBioflocในบ่อเลี้ยงปลาเศรษฐกิจแบบรวมและปลาพื้นเมืองภาคเหนือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Biofloc ในบ่อเลี้ยงปลาเศรษฐกิจแบบรวมและปลาพื้นเมืองภาคเหนือ การใช้ข้อมูลจากเครื่องหมายพันธุกรรมเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย การวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมน 17 β-estradiol ในปลาหมอแปลงเพศ ระบบการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ปริมาณโลหะหนักบางชนิดในปลาเศรษฐกิจที่จับด้วยอวนล้อมปลาทูน่าบริเวณมหาสมุทรอินเดียตะวันออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก