สืบค้นงานวิจัย
ผลของระยะเวลาและวิธีการให้โคลชิซินต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแตงโม
วุฒิกร เหลี่ยมสุทธิพันธุ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของระยะเวลาและวิธีการให้โคลชิซินต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแตงโม
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Timing and Method of Colchicine Application on Morphological Characteristics of Watermelon
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วุฒิกร เหลี่ยมสุทธิพันธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wutikorn Lurmsutipan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กิตติ สัจจาวัฒนา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Kitti Satjawattana
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาและวิธีการให้โคลชิซินต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยาในแตงโม ดำเนินการที่มหาวิทยาลัยพะเยา และบริษัท เจียไต๋ จำกัด วางแผนการทดลองแบบ split-split plot นำต้นกล้าที่เพาะอายุ 5 วันมาทดลองหยดด้วยโคลชิชินที่ยอดจำนวน 3 ระดับความเข้มข้น คือ 0.2 %  0.4% และ 0.6%  โดยแบ่งช่วงเวลาการหยดสารเป็นหยดสาร 1 ครั้งต่อวัน (07.00  08.00  09.00 และ 10.00 นาฬิกา) และหยดสาร 2 ครั้งต่อวัน (07.00+17.00  08.00+17.00   09.00+17.00   และ 10.00+17.00 นาฬิกา) และหยดติดต่อกัน 3 วัน และ 5 วัน บันทึก อัตราการรอดชีวิต ลักษณะทางสัณฐานวิทยา และจำนวนต้นที่มีขนาดเซลล์คุมและเม็ดคลอโรพลาสต์มากกว่า      ดิพลอยด์ปกติ ผลที่ได้พบว่า ต้นมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงเกิน 98 % ในทุกกรรมวิธี ต้นที่รอดชีวิตมีความสูง และ ความกว้างใบที่แปรปรวนแตกต่างกันในแต่ละกรรมวิธี การหยดโคลชิซินความเข้มข้น 0.4 เปอร์เซ็นต์ 1 ครั้งต่อวัน ช่วงเวลา 07:00 นาฬิกา ติดต่อกัน 3 วัน ให้จำนวนต้นที่มีขนาดและเซลล์คุมใหญ่กว่าปกติที่แตกต่างกับชุดควบคุมมากที่สุด เท่ากับ 71.46 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to study effects of timing and method of colchicine application on morphological characteristics in watermelon. This research  was conducted at Phayao University Experiment  at Farm and Chia Tai company ltd. using split-split plot design with two main plots (3 and 5 days), eight sub-plot (07.00, 08.00,  09.00, 10.00, 07.00+17.00,  08.00+17.00, 09.00+17.00 and 10.00+17.00 o’clock) and three concentrations. (0.2 %, 0.4% and 0.6%) The survival rate, morphological characteristics and number of putative plants were recorded. The results showed that the survival rate of watermelon was higher than 98% in all treatments, the survived watermelon had the hight of plant and leaf width that varied in different treatments. All treatments, these survived watermelon were used to screen putative plants by the measuring size of guard cells and chloroplast number. The result revealed that the colchicine dropping at 0.4% in the morning at 07.00 a.m. in three days of continue dropping gave the highest number of putative plants.  
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระยะเวลาและวิธีการให้โคลชิซินต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแตงโม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2553
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของมะแว้งต้น การจำแนกหญ้าโขย่ง (Rottboellia cochinchinensis Lour. W. Clayton) โดยการใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิค AFLP ผลของความเข้มข้นและระยะเวลาในการแช่สารโคลชิซินต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาและปริมาณคลอโรฟิลของว่านมหาลาภ การจำแนกชนิดปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิดและลูกผสมในวงศ์ Pangasiidae โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและลักษณะทางสัณฐานของไม้น้ำมวกเหล็ก 3 แหล่ง ผลของความเข้มข้นและระยะเวลาในการแช่สารโคลชิซินต่อลักษณะทางสรีรวิทยาของว่านมหาลาภ การใช้ประโยชน์ และสัณฐานวิทยา ของวัชพืชวงศ์หญ้าและวงศ์กกในจังหวัดนครศรีธรรมราช การเพิ่มจำนวนโครโมโซม “ครามงอ” (Indigoferasuffruticosa) โดยการใช้โคลชิซิน เพื่อการสนับสนุนภูมิปัญญาของจังหวัดสกลนคร การแยก การจัดจำแนกชนิดและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของสาหร่ายปรสิตพืช Cephaleuros spp. บนอาหารสังเคราะห์ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา และทางการเกษตรของเชื้อพันธุกรรมอ้อยในสภาพภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก