สืบค้นงานวิจัย
ทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร
ชัชรี นฤทุม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัชรี นฤทุม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชูเกียรติ รักซ้อน
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ(1)ศึกษาถึงภูมิหลังของเกษตรอำเภอ(2)ศึกษาทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อหน่วยงานทางวิชาการเกษตร(3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อหน่วยงานวิชาการต่าง ๆ (4)ศึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ ในการขอความร่วมมือทางวิชาการจากหน่วยงานวิชาการ วิธีการศึกษาใช้ส่งแบบสอบถามให้เกษตรอำเภอ 680 ราย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม 2527 ได้แบบสอบถามกลับมา 440 ชุด หรือร้อยละ 64.7 ผลการศึกษาพบว่า เกษตรอำเภอส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 37-48 ปี จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สถานภาพทางราชการระดับ 5 เป็นเกษตรอำเภอมาแล้ว 1-9 ปี สำหรับกิจกรรมที่ทำร่วมกับหน่วยงานวิชาการเกษตรมากที่สุดคือ การให้ข้อมูลเบื้องต้นของเกษตรกรในท้องที่ที่รับผิดชอบ กิจกรรมที่ทำร่วมกันน้อยที่สุดคือ การแต่งตั้งกรรมการเพื่อปฏิบัติงานร่วมกันและการติดต่อเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ในการส่งเสริม ส่วนทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อการประสานงานและต่อตัวนักวิชาการของหน่วยงานวิชาการในจังหวัดค่อนข้างดี และไม่แน่ใจถึงการประสานงานกับหน่วยงานนอกจังหวัด และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่สำหรับการประสานงานกับหน่วยงานวิชาการและติดต่อนักวิชาการในจังหวัด จะมีทัศนคติค่อนข้างดี สำหรับทัศนคติที่มีต่อผลงานวิจัยนั้น พบว่าเกษตรอำเภอมีทัศนคติไม่แน่ใจต่อผลงานวิจัยของหน่วยงานวิชาการทุกแหล่ง โดยเฉพาะความพอเพียงของงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ในท้องที่ได้ทันที ส่วนลักษณะการดำเนินงานวิจัยของหน่วยงานวิชาการ เกษตรอำเภอก็มีทัศนคติไม่แน่ใจทั้ง 3 แหล่ง โดยเฉพาะเรื่องของจำนวนบุคลากรและการติดตามผลงานวิจัยว่า ใช้ได้ดีเพียงใดในท้องที่ ทดสอบสมมติฐานพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างทัศนคติของเกษตรอำเภอกับอายุ การศึกษาสถานภาพทางราชการสังกัดสำนักงานเกษตรภาคและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเกษตรอำเภอแต่อย่างใด และเกษตรอำเภอส่วนใหญ่เสนอแนะให้มีการจัดบุคลากรด้านวิชาการเพิ่มเติม โดยเน้นการเพิ่มประสบการณ์เกี่ยวกับท้องที่ให้มากขึ้น และเสนอให้มีการสัมมนาระหว่างนักวิชาการและนักส่งเสริมปีละ 1-2 ครั้งด้วย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นแหล่งวิชาการที่ใหญ่และน่าเชื่อถือที่สุด แต่อยู่ห่างไกล ติดต่อลำบาก จึงเสนอให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดทำข่าวสารการวิจัยแจกจ่ายให้เกษตรอำเภอทราบ และควรมีหน่วยเคลื่อนที่ออกไปเผยแพร่ความรู้ด้วย และผู้วิจัยได้เสนอแนะให้หน่วยงานวิชาการต่าง ๆ กำหนดงานวิจัยเป็น 2 ส่วนคือ วิจัยพื้นฐานร้อยละ 30 และวิจัยประยุกต์ร้อยละ 70 รวมทั้งควรมีหน่วยงานกลางควบคุมงานวิจัยมิได้ซ้ำซ้อน และงานวิจัยควรทำต่อเนื่องและให้ครบวงจร นอกจากนี้ผู้วิจัยยังเสนอแนะให้ใช้ประโยชน์จากการประชุมวิชาการประจำปี ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่ ๆ ให้แก่เกษตรอำเภอควบคู่ไปกับการทำเอกสารทางวิชาการอย่างง่าย ๆ แจกจ่ายให้แก่เกษตรอำเภอ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2526
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร
ชัชรี นฤทุม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2527
ทัศนคติของเกษตรจังหวัดที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร การแสดงออกในบทบาทนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอตามการรับรู้ของเกษตรตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาปัญหาบางประการในการบริหารงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในเขตโครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรประเทศไทย การปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในจังหวัดภาคใต้ ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออก การศึกษาทัศนคติของสมาชิกที่มีต่อรายการโรงเรียนเกษตรทางอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร บทบาทของเกษตรอำเภอและเกษตรตำบลภาคตะวันตก ตามระบบการฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน ภายใต้โครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ความพึงพอใจในภาระหน้าที่และงานของเกษตรอำเภอในจังหวัดภาคเหนือ การศึกษาทัศนคติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครปฐมและราชบุรี ที่มีต่อสื่อที่ใช้ในงานส่งเสริม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก