สืบค้นงานวิจัย
การออกแบบและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องผสมปุ๋ยในระดับเกษตรกร
ดาเรศร์ กิตติโยภาส - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การออกแบบและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องผสมปุ๋ยในระดับเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): DESIGN AND DEVELOPMENT OF FERTILIZER BLENDER FOR FARMER SCALE
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดาเรศร์ กิตติโยภาส
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: เครื่องผสมปุ๋ยที่ได้ทำการออกแบบและพัฒนาขึ้นนี้เป็นเครื่องจักรที่ใช้เพื่อผสมคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยเคมี ให้ได้ปุ๋ยผสมในทุกอัตราส่วนที่ต้องการโดยมีส่วนผสมแม่ปุ๋ย 2-3 ชนิด มีขนาดของโครงสร้างรวมทั้งอัตราการทำงานที่เหมาะสมกับการใช้งานในระดับกลุ่มเกษตรกร โครงสร้างของเครื่องผสมปุ๋ยเป็นวัสดุเหล็กชุบสังกะสีเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของปุ๋ยมีขนาดความกว้าง 1.60 เมตร ยาว 2.80 เมตร สูง 2.55 เมตร มีส่วนประกอบหลักคือ (1) ถังบรรจุแม่ปุ๋ย มีลักษณะเป็น Hopper ภายในแบ่งเป็น 3 ช่องสำหรับใส่แม่ปุ๋ย 3 ชนิดรวมความจุ 500 กิโลกรัม มีความลาดเทก้นถัง 45 องศา (2) ชุดควบคลุมอัตราการไหลและหัวแบ่งแม่ปุ๋ย เป็นอุปกรณ์สำหรับปรับตั้งอัตราการจ่ายแม่ปุ๋ย สามารถปรับตั้งเป็นอิสระต่อกันทั้ง 3 ชนิด (3) หัวผสม เป็นอุปกรณ์ผสมคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ผ่านมาจากชุดควบคุมอัตราการไหลให้ปุ๋ยผสมมีการกระจายตัวสม่ำเสมอ (4) เครื่องต้นกำลัง ใช้มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า ผลการทดสอบใช้งานการผสมปุ๋ยเคมีจากแม่ปุ๋ย 3 สูตร จำนวน 5 ชนิด จาก 4 ยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อทดสอบผสม 31 สูตรๆละ 5 ซ้ำ รวมทั้งสิ้น 1,550 ตัวอย่าง ได้ผลค่าความละเอียดในการผสมของเครื่อง คิดเป็นค่าความคลาดเคลื่อนโดยน้ำหนักอยู่ระหว่าง -2.34 ถึง 2.69% ในขณะที่ค่าความผิดพลาดของการผสมปุ๋ยด้วยแรงงานคนมีโอกาสสูงถึง 25% จึงนับว่าค่าความผิดพลาดของเครื่องผสมปุ๋ยที่ออกแบบพัฒนาขึ้นนี้มีค่าน้อยมากอีกทั้งมีระบบการทำงานไม่ยุ่งยาก ง่ายต่อการปรับตั้งและดูแลบำรุงรักษาชิ้นส่วนต่างๆสามารถผลิตได้ภายในประเทศมีจุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องผสมปุ๋ยอยู่ระหว่าง 1.5-1.8 ตันต่อปี และมีระยะการคืนทุนประมาณ 3 ปี และจากการส่งเสริมการใช้งานจำนวนทั้งสิ้น 32 เครื่อง ในพื้นที่เป้าหมายการส่งเสริมการให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน พบว่ามีกลุ่มที่ที่สามารถทำงานได้ถึง 18.8 ตันต่อปี โดยคิดเป็นมูลค่ากำไรสุทธิที่ได้จากการผสมปุ๋ยเป็นเงิน 44,726.70 บาท ซึ่งเป็นข้อมูลชี้ให้เห็นได้ว่าเครื่องผสมปุ๋ยที่ด้ออกแบบมานี้สามารถใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นเคร่องมือช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการผสมปุ๋ยใช้เองของเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การออกแบบและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องผสมปุ๋ยในระดับเกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
โครงการวิจัยการออกแบบและพัฒนาเครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติตามวิเคราะห์ดินสำหรับอ้อย การออกแบบและประดิษฐ์เครื่องควักไส้ปลา การสร้างเครื่องต้นแบบและพัฒนาเครื่องวัดปริมาณยางในน้ำยางด้วยพลาสติก การพัฒนาเครื่องและซอฟท์แวร์เพื่อช่วยในการสื่อสารทางเลือกแบบพกพาและการศึกษาการใช้งานเครื่องต้นแบบเวอร์ชั่น 1 ในผู้ป่วย โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร ออกแบบและพัฒนาเครื่องหั่นย่อยต้นถั่วลิสง การออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบกรีดยางพาราแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้า การวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องระเหยสารภายใต้ระบบสุญญากาศ และเครื่องอบแห้งด้วยพลังงานไมโครเวฟสำหรับการอบแห้งและสกัดสารจากพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูง การผลิตเส้นด้ายยางด้วยเครื่องต้นแบบ ผลของการใส่ปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของต้นสาคู

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก