สืบค้นงานวิจัย
การรวบรวมและศึกษาแหล่งเกิดโรครากขาวของยางพาราในเขตปลูกยางภาคใต้
อุไร จันทรประทิน - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การรวบรวมและศึกษาแหล่งเกิดโรครากขาวของยางพาราในเขตปลูกยางภาคใต้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุไร จันทรประทิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การรวบรวมและศึกษาแหล่งเกิดโรครากขาวของยางพาราในเขตปลูกยางภาคใต้ เพื่อรวบรวมแหล่งเชื้อสาเหตุของโรครากขาว และศึกษาแหล่งเกิดโรคโดยการสำรวจแหล่งเกิดโรค ระดับความรุนแรงของโรคและเก็บรวบรวมเชื้อราสาเหตุจากแหล่งต่าง ๆ นำมาแยกเชื้อเพื่อศึกษาลักษณะสำคัญบางประการ ดำเนินการใน 14 จังหวัด ที่ปลูกยางในเขตภาคใต้ ปี 2540-2542 โดยการส่งแบบสอบถามไปยังสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เกษตรจังหวัด และสอบถามเกษตรกรโดยตรง แล้วออกสำรวจในพื้นที่สวนยางตามข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับ เก็บตัวอย่างโรคจากทุกแหล่งที่สำรวจ นำมาแยกเชื้อและพิสูจน์โรคในห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง ที่ศูนย์วิจัยยางสงขลา ผลการดำเนินงาน ปี 2540-2541 ได้รับข้อมูลเบื้องต้นจากแบบสอบถามถึงแหล่งเกิดโรค 415 ราย จาก 11 จังหวัด 87 อำเภอ สำรวจจริงในพื้นที่เกิดโรค 121 ราย (ร้อยละ 29.6% ของแบบสอบถาม) พบเป็นโรครากขาว 40 ราย หรือมีสวนยางเป็นโรคร้อยละ 9.6 ของแบบสอบถามหรือร้อยละ 33.1 ของสวนที่สำรวจ ความรุนแรงของโรคโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.7 จังหวัดที่พบโรครากขาวคือจังหวัดพัทลุง พังงา สงขลา กระบี่ ตรัง ยะลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี และสตูล ตามลำดับ พันธุ์ยางที่พบเป็นโรครากขาวมากที่สุดคือ RRIM 600 รองลงมาคือ BPM 24 ต้นยางเล็ก (1-6 ปี) ที่เป็นโรคมีร้อยละ 35 ยางหลังเปิดกรีด (7-30 ปี) มีร้อยละ 62.5 ผลกระทบที่เกิดขึ้น หากมีต้นยางเป็นโรครากเพียง 1 ต้น/ไร่ ก่อนและหลังเปิดกรีดจะทำให้สูญเสียผลผลิตไปร้อยละ 15-31 ตัวอย่างโรคที่เก็บรวบรวมจากแหล่งสำรวจสามารถแยกเชื้อได้จาก 8 แหล่ง ค่าเฉลี่ยการเจริญของเชื้อบนอาหาร PDA และ MA ทุกอายุการเจริญ (3, 5 และ 7 วัน) ใกล้เคียงกันรูปร่างลักษณะของเชื้อราบนอาหาร PDA และ MA ฟูเล็กน้อย สีขาว เจริญออกรอบ ๆ ก้อนเชื้ออย่างเป็นระเบียบ โคโลนีกลมขอบโคโลนีเรียบ ไม่เปลี่ยนสีอาหาร ลักษณะเด่นคือเส้นใยเจริญลงไปในอาหาร เส้นใยสีใส ผนังบางชั้นเดียว มีผนังกั้น แตกกิ่งก้านสาขา ความสามารถในการทำให้ต้นกล้ายางเป็นโรค พบว่าเชื้อที่ทำให้ต้นกล้ายางตายหลังปลูกเชื้อ 1 เดือนขึ้นไป เชื้อราที่ทำให้เปอร์เซ็นต์การเป็นโรคแตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการเปรียบเทียบมี 3 แหล่งคือ เชื้อราจากอำเภอธารโต จังหวัดยะลา เชื้อจากอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเชื้อจากอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ส่วนเชื้อที่มีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคไม่แตกต่างกับวิธีเปรียบเทียบ มี 3 แหล่งคือเชื้อจากอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เชื้อจากอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง และเชื้อจากศูนย์วิจัยยางนราธิวาส
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การรวบรวมและศึกษาแหล่งเกิดโรครากขาวของยางพาราในเขตปลูกยางภาคใต้
การยางแห่งประเทศไทย
2547
การรวบรวมและศึกษาแหล่งเกิดโรครากสีน้ำตาลของยางพาราในเขตปลูกยางภาคใต้ การรวบรวมและศึกษาแหล่งเกิดโรครากแดงของยางพาราในเขตปลูกยางภาคใต้ กลุ่มวิจัยยางพารา การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรครากขาวในยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจของยางพาราสาเหตุจากโรครากขาว ในพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation พืชร่วมยางที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อราโรครากขาวของยางพารา การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก