สืบค้นงานวิจัย
ความต้านทานโรคประจำถิ่นของยางพันธุ์แนะนำชั้น 1, 2 และ 3 ในเขตภาคใต้ตอนบน
อารมณ์ โรจน์สุจิตร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ความต้านทานโรคประจำถิ่นของยางพันธุ์แนะนำชั้น 1, 2 และ 3 ในเขตภาคใต้ตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Assessment on Regional Diseases Susceptibility of Recommended Clones
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารมณ์ โรจน์สุจิตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความต้านทานโรคประจำถิ่นของยางพันธุ์แนะนำชั้น 1 , 2 และ 3 ในเขตภาคใต้ตอนบนจำนวน 18 พันธุ์ และพันธุ์อื่นที่ไม่อยู่ในคำแนะนำพันธุ์ยางอีก 10 พันธุ์ รวมทั้งหมด 28 พันธุ์ โดยได้ทำการปลูกสร้างแปลงทดสอบ 5 สถานที่ คือ 1) ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) สถานีทดลองยางระนอง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 3) สถานีทดลองยางพังงา อำเภอตะกั่วป่า 4) สถานีทดลองยางวังทัง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และ 5) สถานีทดลองยางกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยมีพื้นที่แปลงทดสอบประมาณ 19 19 25 12 และ 17 ไร่ ตามลำดับ วางแผนผังแปลงทดสอบแบบ RCB มี 3 ซ้ำใช้ระยะปลูก 2.5 x 8 เมตร เริ่มดำเนินการปลูกสร้างแปลงในปี 2536 ด้วยยางชำถุงและติดตาในแปลง ปฏิบัติการดูแล บำรุงรักษาต้นยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง และดำเนินการตรวจสอบและบันทึกการระบาดของโรคและความรุนแรงของโรคในยางแต่ละพันธุ์ตามฤดูกาลระบาดของโรค 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนมีนาคม -กรกฎาคม โรคที่ตรวจสอบคือโรคในยางแต่ละพันธุ์ตามฤดูกาล การระบาดของโรค 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนมีนาคม - กรกฎาคม โรคที่ตรวจสอบคือโรคใบจุดต่าง ๆ เช่น โรคใบจุดตานก โรคใบจุดคอลเลโตตริกัม โรคราแป้ง เป็นต้น และช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน โรคที่ตรวจสอบคือโรคใบร่วงไฟทอปทอรา ทำการบันทึกการเจริญเติบโตของต้นยางตั้งแต่อายุ 2 ปี ทุกปี และเก็บรวบรวมข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาด้านปริมาณน้ำฝน จำนวนวันฝนตก และอุณหภูมิเฉลี่ยทุกเดือนตั้งแต่ปี 2536-2541
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2542
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้านทานโรคประจำถิ่นของยางพันธุ์แนะนำชั้น 1, 2 และ 3 ในเขตภาคใต้ตอนบน
การยางแห่งประเทศไทย
2542
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพารา การระบาดของโรคยางพาราที่สำคัญ และผลกระทบต่อผลผลิตของยางพันธุ์แนะนำ การศึกษาชนิดของชันโรง (Trigona spp.) ในภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย . การศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ยางแนะนำ เพื่อผลผลิตเนื้อไม้และผลผลิตน้ำยาง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ความต้านทานโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของยางพารา การศึกษายีนต้านทานโรคในยางพาราเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ยาง ประสิทธิภาพของสารเคมีบางชนิดที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคเส้นดำและโรคเปลือกเน่าของยางพารา ในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจันทร์เทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน สำรวจอาการเปลือกแห้งของยางพาราในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก