สืบค้นงานวิจัย
ความรู้และทัศนคติการป้องกันและกำจัดปูนาของเกษตรกรในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลาง
ประพันธ์ ทิพยสหัสรังสี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความรู้และทัศนคติการป้องกันและกำจัดปูนาของเกษตรกรในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประพันธ์ ทิพยสหัสรังสี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่องความรู้และทัศนคติการป้องกันกำจัดปูนาของเกษตรกรในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลางวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรที่ปลูกข้าวในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลาง ทัศนคติของเกษตรกรในการป้องกันและกำจัดปูนา ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันและกำจัดปูนา ปัญหาความต้องการของเกษตรกร ตลอดจนประเมินความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 220 ราย ประเมินความรู้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในระดับพื้นที่จำนวน 41 ราย จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิงคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ร้อยละ 57.7 อายุอยู่ระหว่าง 43-51 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับ ป.4-ป.6 คิดเป็นร้อยละ 64.1 มีส่วนน้อยที่มีการศึกษาสูงกว่านี้ จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีเฉลี่ย 3.38+1.57 คน แรงงานในการทำนาเฉลี่ย 2.19 + 0.81 คน พื้นที่ทำนาเฉลี่ย 29.54 + 23.59 ไร่ ในปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะทำนาปีละ 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 65.5 ผลผลิตนาปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 220,438.60 กิโลกรัม ส่วนผลผลิตนาปรังที่ได้จากการทำนาเฉลี่ย 21,673.86 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 78.2 การติดต่อสื่อสารของความรู้ในการป้องกันและกำจัดปูนา สื่อบุคคลส่วนใหญ่พบการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 78.6 เฉลี่ยมีการติดต่อ 1.62 + 1.22 ครั้งต่อปี สื่อกลุ่มจะได้รับการฝึกอบรม คิดเป็นร้อยละ 59.10 เฉลี่ยได้รับการฝึกอบรม 1.05 + 1.16 ครั้ง สื่อด้านกลุ่มสื่อสารมวลชนส่วนใหญ่จะได้รับความรู้จากวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 39.10, 35.90 และ 34.50 ตามลำดับ ทัศนคติของเกษตรกรในด้านการป้องกันและกำจัดปูนา ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเห็นด้วยว่าปูนานอกจากเป็นศัตรูข้าวแล้ว ยังเป็นพาหะนำโรคพยาธิใบไม้มาสู่คน การป้องกันและกำจัดหากจำเป็นต้องป้องกันกำจัดจะใช้สารเคมีชนิดถูกตัวตาย และมีความเห็นด้วยว่ารัฐควรประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ความรู้ในการป้องกันและกำจัด จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีความรู้ในการป้องกันและกำจัดปูนาดี วิธีการป้องกันและกำจัดที่เคยปฏิบัติมาจะใช้เหยื่อพิษและลอบดัก อิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อทัศนคติในการป้องกันและกำจัดปูนา จากการศึกษาพบว่า เมื่อวิเคราะห์ผลรวมปัจจัยพื้นฐาน เศรษฐกิจ การเข้ากลุ่มเกษตรกรสื่อบุคคล สื่อมวลชน มีอิทธิพลต่อการป้องกันและกำจัดปูนาน้อย แต่หากแยกวิเคราะห์ปัจจัยด้านบวก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา แรงงานในการทำนา การติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พ่อค้าวัสดุเกษตร มีความเห็นด้วยมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความรู้ในการป้องกันและกำจัดปูนา ผลจากการวิเคราะห์พบว่า อิทธิพลต่าง ๆ เศรษฐกิจ การเข้ากลุ่ม สื่อบุคคลและสื่อมวลชน มีอิทธิพลต่อการป้องกันและกำจัดปูนาน้อย แต่เมื่อวิเคราะห์ย่อยพบว่า ปัจจัยบางอย่างทำให้ความรู้เพิ่มขึ้น เช่น การเข้ากลุ่ม การติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พ่อค้าวัสดุการเกษตร เพื่อนบ้าน และเครือญาติ ความต้องการของเกษตรกร พบว่า เกษตรกร เพื่อนบ้าน และเครือญาติ ด้านความรู้และปัจจัยการผลิต สำหรับการส่งเสริมการเกษตร ต้องการให้มีการฝึกอบรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ความรู้ในการป้องกันกำจัดปูนาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจะรู้ว่าปูนาระบาดในช่วงเวลาใด มีลักษณะการทำลายอย่างไร แต่ในเรื่องพฤติกรรมของปูนา วิธีการป้องกันกำจัด ตลอดจนการติดตามสถานการณ์เจ้าหน้าที่ส่งเสริการเกษตรมีความรู้แต่ไม่มั่นใจ สำหรับการวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จ SPSS/FW หาค่า ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การคิดหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ใช้ Multiple regression, Correlation และ Anova (Analysis of variance)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/152811
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความรู้และทัศนคติการป้องกันและกำจัดปูนาของเกษตรกรในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลาง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์ สภาพการผลิตพันธุ์ข้าวเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก