สืบค้นงานวิจัย
โครงการกระบวนการผลิตกรดแลคติกจากแป้งมันสำปะหลังดิบด้วยเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย
รศ.ดร.วิเชียร ลีลาวัชรมาศ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: โครงการกระบวนการผลิตกรดแลคติกจากแป้งมันสำปะหลังดิบด้วยเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย
ชื่อเรื่อง (EN): Direct lactic acid production from raw cassava starch by lactic acid bacteria
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รศ.ดร.วิเชียร ลีลาวัชรมาศ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “กระบวนการผลิตกรดแลคติกจากแป้งมันสำปะหลังดิบด้วยเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย” แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.วิเชียร ลีลาวัชรมาศ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการและพัฒนาสูตรอาหารสำหรับการผลิตกรดแลคติกจากแป้งมันสำปะหลังดิบให้สามารถใช้ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม และเพื่อพัฒนาสูตรอาหารและสภาวะในการเก็บรักษาสายพันธุ์แลคติกแอซิดแบคทีเรียให้คงความสามารถในการหมักแป้งมันสำปะหลังดิบอย่างถาวร จากการศึกษาวิจัย สามารถคัดแยกเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติการย่อยแป้งได้จากหัวมันสำปะหลังสดได้ทั้งหมด 27 สายพันธุ์ ทั้งนี้พบว่าเชื้อส่วนใหญ่แยกได้จากมันสำปะหลังที่หมักแบบไม่ผ่านการพลาสเจอร์ไรส์มากกว่าตัวอย่างมันสำปะหลังที่ผ่านการพลาสเจอไรส์ก่อนหมัก จากเชื้อทั้งหมด 22 สายพันธุ์ พบว่ามีอยู่ 4 สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยแป้งได้ดี ประกอบด้วย       และ  โดยดูจากกิจกรรมของเอ็นไซม์อะมัยเลสของเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์ และเมื่อนำเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์มาทดลองหมักกรดแลคติกจากมันสำปะหลัง พบว่าแลคติกแอซิดแบคทีเรียที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำไปใช้ในการหมักกรดแลคติกจากมันสำปะหลังมี 2 สายพันธุ์ คือ  และ ทั้งนี้ปริมาณกรดแลคติกที่เชื้อทั้งสองสายพันธุ์สามารถผลิตได้ในสภาวะที่ปัจจัยต่างๆ เหมาะสมที่สุดจะได้กรดแลคติกปริมาณใกล้เคียงกัน คือ แลคติกแอซิดแบคทีเรียสายพันธุ์  ผลิตกรดแลคติกได้สูงสุด 2.38 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนัก/น้ำหนัก) และสายพันธุ์  ผลิตกรดแลคติกได้สูงสุด 2.20 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนัก/น้ำหนัก) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานอื่นๆ ที่เคยมีรายงานเกี่ยวกับการผลิตกรดแลคติกจากมันสำปะหลัง หรือจากวัตถุดิบประเภทแป้ง พบว่า ประสิทธิภาพการผลิตของเชื้ออยู่ในระดับปานกลาง ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ องค์ความรู้ใหม่และกระบวนการในการผลิตกรดแลคติกโดยตรงจากแป้งมันสำปะหลังดิบ  
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-08-31
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-08-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการกระบวนการผลิตกรดแลคติกจากแป้งมันสำปะหลังดิบด้วยเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 สิงหาคม 2555
อาหารจากมันสำปะหลัง พัฒนากระบวนการหมักข้าวด้วยเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียเพื่อเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ การห่อหุ้มกล้าเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียเพื่อใช้ในอาหารหมัก การตรวจหา gtf ยีนและการแสดงออกในแลคติกแอซิดแบคทีเรีย เพื่อการผลิตเบต้า-กลูแคน การผลิตไส้กรอกอีสานเพื่อสุขภาพโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติกสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่สามารถผลิตสารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (กาบา) การเพิ่มคุณค่าทางโภชนะของกากถั่วเหลืองโดยใช้ยีสต์หมักร่วมกับ แลคติกแอซิดแบคทีเรียในน้ำนมดิบ การใช้ผงแบคทีเรียกรดแลคติกจากหญ้าหมักเป็นสารโพรไบโอติกในการเลี้ยงไก่ ฤทธิ์ของแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกที่แยกได้จากอุจจาระของหมูและวัว ในการยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในทางเดินอาหาร การผลิตกรดแลคติกจากแป้งด้วยเชื้อแบคทีเรียแลคติก การคัดเลือกสายพันธุ์แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกและยีสต์จากสุกรในประเทศไทยเพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคและไวรัส porcine epidemic diarrhea (PED)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก