สืบค้นงานวิจัย
การจัดการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์ดอกมะลิของเกษตรกรบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปี 2549
ประภาพรรณ คืนดี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การจัดการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์ดอกมะลิของเกษตรกรบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปี 2549
ชื่อเรื่อง (EN): Production and marketing management on Jasmine product of farmers in Sila village, Sila subdistrict, Khon Kaen province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประภาพรรณ คืนดี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prapapun Kuendee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จรัญ ไทยานนท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Charun Dayananda
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: จุดประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อหาต้นทุน รายได้และกำไร วิถีการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาด ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการผลิตและระบบการตลาดของมะลิและผลิตภัณฑ์ดอกมะลิ ข้อมูลที่ใช้ไนการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม ผลการศึกษาต้นทุน รายได้และกำไร ปรากฏว่า พวงมาลัยพวงเล็กที่ยังไม่ติดโบว์ รายได้ในฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เท่ากับ 2.00 บาทต่อพวงเท่ากันทั้ง 3 ฤดู ต้นทุนทั้งหมดในฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เท่ากับ 1.53, 1.59 และ 1.83 บาทต่อพวง ตามลำดับ ดังนั้นกำไร ในฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว มีค่าเท่ากับ 0.48, 0.41 และ 0.18 บาทต่อพวง ตามลำดับ พวงมาลัยพวงใหญ่ที่ยังไม่ติดโบว์ รายได้ในฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เท่ากับ 4.00 บาทต่อพวง เท่ากันทั้ง 3 ฤดู ต้นทุนทั้งหมด ในฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เท่ากับ 2.13, 2.33 และ 2.75 บาทต่อพวง ตามลำดับ ดังนั้นกำไรในฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว มีค่าเท่ากับ 1.88, 1.68 และ 1.26 บาทต่อพวง ตามลำดับ วิถีการตลาดมี 5 ช่องทาง แต่ช่องทางที่มีการจัดจำหน่ายมากที่สุด คือ วิถีตลาดที่ 1 โดยเริ่มจากเกษตรกรได้นำดอกมะลิมาร้อยเป็นพวงมาลัยที่ยังไม่ติดโบว์ และจำหน่ายต่อให้พ่อค้าขายปลีกในหมู่บ้านเพื่อทำการแปรรูปต่อเป็นพวงมาลัยติดโบว์แล้วจำหน่ายให้ผู้บริโภคเป็นอันดับสุดท้ายจึงใช้ช่องทางนี้ในการหาส่วนเหลื่อมการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาดของพวงมาลัยพวงเล็กและพวงใหญ่ในฤดูร้อนเท่ากับ 3.00 และ 6.00 บาทต่อพวง ตามลำดับ ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการตลาดของพวงมาลัยพวงเล็กและพวงใหญ่ในฤดูร้อนเท่ากับ 2.07 และ 2.91 บาทต่อพวงตามลำดับ และกำไรของพ่อค้าเท่ากับ 0.93 และ 3.10 บาทต่อพวง ตามลำดับ ส่วนเหลื่อมการตลาดของพวงมาลัยพวงเล็กและพวงใหญ่ในฤดูฝนเท่ากับ 3.00 และ 6.00 บาทต่อพวง ตามลำดับ ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการตลาดของพวงมาลัยพวงเล็กและพวงใหญ่ในฤดูฝนเท่ากับ 1.94 และ 2.78 บาทต่อพวงตามลำดับ และกำไรของพ่อค้าเท่ากับ 1.06 และ 3.22 บาทต่อพวง ตามลำดับ ส่วนเหลื่อมการตลาดของพวงมาลัยพวงเล็กและพวงใหญ่ในฤดูหนาวเท่ากับ 3.00 และ 6.00 บาทต่อพวง ตามลำดับ ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการตลาดของพวงมาลัยพวงเล็กและพวงใหญ่ในฤดูหนาวเท่ากับ 1.96 และ 2.80 บาทต่อพวงตามลำดับ และกำไรของพ่อค้าเท่ากับ 1.04 และ 3.21 บาทต่อพวง ตามลำดับ ปัญหาในการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์มะลิ คือหนอนเจาะดอกมะลิระบาดมากในฤดูฝนและผลผลิตต่ำในฤดูหนาว อุปสรรคในการผลิตมะลิคือขาดแคลนแรงงานในการเก็บมะลิในช่วงฤดูร้อน
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to investigate costs, income and profit, marketing channel, marketing margin, problems, and recommendations for an improvement of production and marketing system of jasmine flowers and jasmine- based products. Data were collected in term of questionnaire from the purposely-selected jasmine growers. The income from a jasmine garland, without a bow in the summer, rainy season and winter was 2.00 Baht per garland. The production costs in summer, rainy season, and winter were 1.53, 1.59 and 1.83 Baht per garland, respectively. Therefore, the benefits in summer, rainy, and winter were 0.48, 0.41 and 0.18 Bath, respectively. For a big garland without a bow, the income in the summer, rainy season and winter was 4.00 Baht per garland. Therefore, the benefit, in summer, rainy season, and winter were 1.88, 1.68 and 1.26 Bath, respectively. There were five distribution channels, but the most dominant one was the marketing channel I. This started when the garlands were made by farmers, detached of any bow, and then distributed to local retailers in the village. These garlands were subsequently processed by mounting bows and then sold to customers. In summer, the marketing margins of both small and big garlands were 3.00 and 6.00 Baht per garland, respectively. The production cost of small and big garland in summer was 1.94 and 2.78 Baht per garland, respectively, and the profit was 1.06 and 3.22 Baht per garland, respectively. In winter, the marketing margin of small and big garland was 3.00 and 6.00 Baht per garland, respectively, and the production cost was was 1.96 and 2.80 Baht per garland, respectively. Therefore, the merchants made 1.04 and 3.21 Baht per garland, respectively. Other problem facing by the farmers included a jasmine borer and labor shortage during summer for harvesting.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=12-Prapapun.pdf&id=217&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์ดอกมะลิของเกษตรกรบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปี 2549
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2550
เอกสารแนบ 1
การวิเคราะห์ระบบการตลาดปลาช่อนในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเครือข่ายอินแปง บ้านบัว อำเภอกุดบากจังหวัดสกลนคร การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น แรงจูงใจและผลด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ บ้านสว่าง ตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาต้นทุนการผลิต กำไรเบื้องต้นจากการขาย และความรู้-ทัศนคติ การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอจังหวัดชัยนาทและนครปฐมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน 2534 การพัฒนาระบบวิเคราะห์ต้นทุนกำไรของกระบวนการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วงมหาชนกบ้านหนองบัวชุม ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก