สืบค้นงานวิจัย
สภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดร้อยเอ็ด
สกล คุณอุดม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สกล คุณอุดม
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องสภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมบางประการของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และ เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการแตกต่างกัน ซึ่งปฏิบัติงานในจังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2548 ทั้งหมดจำนวน 123 คน จาก 20 อำเภอใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับคำนวณหาค่าต่าง ๆ ทางสถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า F - test ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 44.4 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนักวิชาส่งเสริมการเกษตร 6 มีอายุราชการเฉลี่ย 19.9 ปี และมีอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 18,722.43 บาท สภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร โดยภาพรวมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี ในทุกด้านตามบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ การประชุม การบริการด้านส่งเสริมการเกษตร ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร การจัดทำแผนและออกปฏิบัติงานตามแผน และการประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล ปัจจุบันนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่ รับผิดชอบ 2 ตำบล จำนวนหมู่บ้านเฉลี่ย 19.1 หมู่บ้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก ที่ศึกษา มี 2 ปัจจัย ได้แก่ เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง ที่ศึกษา มี 3 ปัจจัย ได้แก่ การจัดสวัสดิการ โอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และความเพียงพอของรายได้ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1) การเสริมรายได้หรือลดรายจ่าย ควรสนับสนุนให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร มีการประกอบอาชีพเพื่อเสริมรายได้หรือลดรายจ่ายที่ไม่สร้างความเสียหายแก่งานที่ปฏิบัติ เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงเป็ดไก่ สำหรับใช้บริโภคในครัวเรือน 2) การออกปฏิบัติงานตามแผน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ควรจัดทำแผนปฏิบัติงานให้เป็นปัจจุบันและควรปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนที่กำหนด 3) การดำเนินงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรควรมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด เพราะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรที่สำคัญในพื้นที่ซึ่งสามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี 4) เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมาก ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาบุคลากรทั้ง 2 กลุ่มเป็นประจำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดร้อยเอ็ด
สกล คุณอุดม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2549
ความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ปี 2542 ทัศนคติของนักวิชาการที่มีต่องานส่งเสริมการเกษตร การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชัยภูมิ การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร : ศึกษาเฉพาะระบบการติดตามและนิเทศงาน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัด การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดชลบุรี การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา การปฏิบัติงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก