สืบค้นงานวิจัย
ชนิดและความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ และวิตามิน ในแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง
นงลักษณ์ สำราญราษฎร์, สมพิศ แย้มเกษม, นงลักษณ์ สำราญราษฎร์, สมพิศ แย้มเกษม - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ชนิดและความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ และวิตามิน ในแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง
ชื่อเรื่อง (EN): Type and Concentration of Carotenoid and Vitamin in Zooplankton Biomass Harveseed from Shrimp Cultured Ponds
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชนิดและความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ และวิตามิน ในแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง นงลักษณ์ สำราญราษฎร์ 1 สมพิศ แย้มเกษม2 1สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำชายฝั่ง 2ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งระยอง บทคัดย่อ การศึกษาชนิดและความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ และวิตามิน ในแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง ดำเนินการโดยรวบรวมตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์จากบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรใน เขตอำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยทำการรวบรวมในเดือนพฤศจิกายน เมษายน และสิงหาคม เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่าง ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน พบว่าแพลงก์ตอนสัตว์ที่รวบรวมได้สามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ Brachionus, Chordata, Cladocera, Copepoda, Decapoda, Eucarida และ Peritrichida โดยกลุ่ม Eucarida พบในสัดส่วนมากที่สุดในฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน) และฤดูร้อน (เดือนเมษายน) เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ และ 99 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ กลุ่ม Chordata พบเฉพาะฤดูร้อน (เดือนเมษายน) เท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่ม Brachionus, Cladocera, Copepoda, Decapoda, และ Peritrichida พบเฉพาะในฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) เท่ากับ 35 เปอร์เซ็นต์, 4 เปอร์เซ็นต์, 42 เปอร์เซ็นต์, 14 เปอร์เซ็นต์ และ 2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่าแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีค่าเฉลี่ยของโปรตีนใกล้เคียงกันในฤดูฝน (เดือนสิงหาคม), ในฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน) และฤดูร้อน (เดือนเมษายน) เท่ากับ 66.12 เปอร์เซ็นต์ และ 74.08 เปอร์เซ็นต์ และ 71.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ไขมันมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยมีค่าสูงสุดในฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) เท่ากับ 10.04 เปอร์เซ็นต์ องค์ประกอบกรดอะมิโนที่จำเป็นมีค่าใกล้เคียงกับวัตถุดิบโปรตีนที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์น้ำ เช่น Krill ปลาป่น และ ปลาป่น เป็นต้น และใกล้เคียงกับความต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นของกุ้ง นอกจากนั้นพบว่าแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง มีองค์ประกอบกรดไขมันจำเป็นกลุ่ม n-3HUFA ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับน้ำมันปลาทูน่า ส่วนชนิดและความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ในแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง คือ Neoxanthin, violaxanthin, Antheraxanthin, Zeaxanthin, Lutein, ?-cryptoxanthin, Echinenone และ ?-carotene พบ ?-carotene มากที่สุดในฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน), ฤดูร้อน (เดือนเมษายน) และในฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) พบในสัดส่วน (% Area) เท่ากับ 27.20 %, 40.44 % และ 82.48 % ตามลำดับ ส่วนวิตามินอี มีค่าไม่แตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล พบว่า ในฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน), ฤดูร้อน (เดือนเมษายน) และในฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) มีค่าเท่ากับ 3.64?0.23 mg/kg, 2.9?0.19 mg/kg และ 3.06?0.78 mg/kg ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผลของคุณค่าทางอาหารของแพลงก์ตอนดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรทำการรวบรวมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนาเทคนิควิธีการเก็บรักษา เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้ทดแทนปลาป่น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจมวลรวมประชาชาติภาคเกษตรกรรมได้อีกทางหนึ่ง คำสำคัญ : แพลงก์ตอนสัตว์ คาร์โรทีนอยด์ วิตามิน คุณค่าทางโภชนาการ
บทคัดย่อ (EN): Type and Concentration of Carotenoid and Vitamin in Zooplankton Biomass Harvest from Shrimp Cultured Ponds Nonglak Samranrat1 Sompit Yamkasam2 1 Coastal Aquatic Feed Research Institute 2 Rayong Coastal Fisheries Research and Development Center Study on Type and Concentration of Carotenoid and Vitamin in Zooplankton Biomass Harvest from Shrimp Cultured Ponds. It was carried on by collecting zooplankton from farmer’s shrimp grow out ponds in Klang district, Rayong Province. Zooplankton biomass was harvested in November, April and August to observe their species variation among cool, dry and rainy season. The collected zooplankton biomass could be categorized into 7 groups; Brachionus, Chordata, Cladocera, Copepoda, Decapoda, Eucarida and Peritrichida . Eucarida was found in the highest proportion presented in cool season (November) and hot season (April) 100% and 99% respectively. Chordata was found only in hot season (April) 1%, while Brachionus, Cladocera, Copepoda, Decapoda and Peritrichida in rainy season (August ) 35%, 4%, 42%, 14% and 2% respectively. Zooplankton biomass was harvested contained high nutrition value.The average protein content from rainy, cool and dry season was 66.12%, 74.08 and 71.17%, respectively. There was seasonal changed in lipid nutrition. Zooplankton biomass had the highest lipid nutrition value in rainy season (August) 10.04%. The harvested zooplankton biomass consisted of essential amino acids at the same level of conventional protein sources usage in worldwide aquaculture feed industry such as Krill and fishmeal. Moreover, the amino acid composition was also fit to amino acid requirement of culture shrimp species. Zooplankton biomass harvest from shrimp cultured ponds was found to contain markedly content of essential fatty acids especially n-3 HUFA and with similar amount found in tuna oil. Type and concentration of carotenoid in zooplankton biomass harvest from shrimp cultured ponds were Neoxanthin, violaxanthin, Antheraxanthin, Zeaxanthin, Lutein, ?-cryptoxanthin, Echinenon and ?-carotene.?-carotene was found in the highest proportion presented in cool season (November) hot season (April) and rainy season (August) 27.20%, 40.44% and 82.48% respectively. The vitamin E content from cool rainy, dry and cool season was 3.64?0.23 mg/kg, 2.9?0.19 mg/kg and 3.06?0.78 mg/kg, respectively. Overall result indicated that zooplankton biomass harvest from shrimp cultured ponds contain high nutritional value. Therefore, systematic collecting and proper preservation technique should be organized among farmer groups in order to get sufficient amount of high quality zooplankton for aquaculture feed industry. This will also contribute beneficial to agricultural GNP (Gross National Product). Key words : Zooplankton, Carotenoid, Vitamin, Nutrition
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-03-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชนิดและความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ และวิตามิน ในแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง
กรมประมง
30 มีนาคม 2554
กรมประมง
ระดับความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ จาก แพลงก์ตอนสัตว์ที่รวบรวมได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การเพิ่มสีและเมตาโบลิซึมในปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830 ระดับความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ จาก แพลงก์ตอนสัตว์ที่รวบรวมได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การเพิ่มสีและเมตาโบลิซึมในปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830 ผลของการเสริมกรดไขมันและวิตามินซีลงในแพลงก์ตอนสัตว์ต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre,1927) การสะสมปริมาณสารสีในลูกปลาแมนดาริน,Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เมื่ออนุบาลด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิด ความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา การใช้แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นดัชนีชี้คุณภาพน้ำทางชีวภาพบริเวณแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบางพระจังหวัดชลบุรี ชนิดและระดับของคาร์โรทีนอยด์ที่เหมาะสมในอาหารเพรียงทราย (Perinereis nuntia Savigny, 1818) ผลของแพลงก์ตอนสัตว์แช่แข็งที่เป็นอาหารต่อความสมบูรณ์พันธุ์และการเจริญเติบโตในกุ้งสีเครย์ฟิช แพลงก์ตอนสัตว์ในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่ เลี้ยงลูก และพื้นที่ใกล้เคียงทางฝั่งทะเลอันดามัน การออกแบบเครื่องต้นแบบระดับโรงงานเพื่อผลิตแคโรทีนอยด์เข้มข้น จากน้ำมันปาล์มดิบ และวิตามินอีเข้มข้นจากดิสทิลเลตกรดไขมันปาล์ม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก