สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลจังหวัดสกลนคร
นายเผด็จ ทามณี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลจังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายเผด็จ ทามณี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องทัศนคติในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการ และถ่ายทอด เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการทางสังคมและเศรษฐกิจของคณะกรรมการ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ และ เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล 124 ศูนย์ ใน 18 อำเภอของจังหวัดสกลนคร ทั้งหมดเป็นจำนวน 1,736 คน รวมจำนวนตัวอย่างที่ศึกษา 382 ตัวอย่าง การประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์ด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ผลการศึกษาพบว่า สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของคณะกรรมการ พบว่า คณะกรรมการ ร้อยละ 87.70 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51 ปี ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักของคณะกรรมการ ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.20 มีอาชีพทำนา อาชีพรอง ร้อยละ 50.52 มีอาชีพค้าขาย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์บริการของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล คณะกรรมการทั้งหมดมีความเข้าใจว่าศูนย์บริการฯเกิดจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของหน่วยงานราชการฯที่เกี่ยวข้องให้บริการและถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร ศูนย์บริการเป็นเวทีให้เกษตรกรได้มีโอกาสในการคิดวิเคราะห์และกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ศูนย์บริการเป็นเวทีชาวบ้านให้ชุมชนได้มีโอกาส มาร่วมปรึกษาหารือ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทัศนคติของคณะกรรมการต่อศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล คณะกรรมการ เห็นด้วยกับนโยบายศูนย์บริการ ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางในการ เชื่อมโยงให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมปฏิบัติงานเพื่อให้บริการและถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร เป็นเวทีของชุมชนที่ใช้ในการพบปะและร่วมในการจัดทำกิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน ด้านวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งศูนย์ กรรมการเห็นด้วยในวัตถุประสงค์ได้แก่ ปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาการเกษตรจาก เดิมที่รัฐมีบทบาทสำคัญ มาเป็นการสร้างความร่วมมือกันระหว่าง อบต. สถาบันเกษตรกรและ ชุมชนในการแก้ปัญหาและวางแผนพัฒนาร่วมกัน ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของภาคราชการจากเดิมที่ต่างคน ต่างทำมาเป็นการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อให้บริการที่จุดเดียว ด้านประโยชน์ต่อชุมชนและชาวบ้าน กรรมการเห็นด้วยว่า การดำเนินงานศูนย์ทำให้เกิดมีอาชีพใหม่ ๆ ด้านการเกษตรเกิดขึ้นในชุมชน เกษตรกรในชุมชนสามารถใช้ศูนย์บริการ เป็นจุดรวบรวมหรือแสดงผลิตภัณฑ์ของตำบล ด้านการดำเนินงานศูนย์ กรรมการเห็นด้วยว่าการดำเนินงานศูนย์บริการ ทำให้คณะกรรมการศูนย์ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากเกษตรกรในชุมชนมากขึ้น การมีศูนย์บริการ ทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปหาความรู้จากหน่วยงานภายนอกตำบล ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล พิจารณาจากปัญหาส่วนบุคคลพบว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่ มีปัญหามาก ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการมาร่วมงานศูนย์ เช่น ค่าน้ำมัน ค่ารถ ค่าอาหาร การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยภาพรวมได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับปานกลางซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้ ในเรื่องของ อุปกรณ์เครื่องมือการเกษตร เอกสารความรู้ทางเกษตร การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการประชุม ได้รับการสนับสนุนมากที่สุด การได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงิน ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ การจัดการด้านการทำงานของคณะกรรมการ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.08 มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน ร้อยละ 52.36 มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงานกันชัดเจน ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ พบว่า ในเรื่องของการจัดทำข้อตกลงร่วมกันคณะกรรมการมีการกำหนดกฏระเบียบในการทำงานและการแบ่งหน้าที่ มีการปฏิบัติงานโดยรวมในระดับปานกลาง ในเรื่องของการประชุม คณะกรรมการ มีการปฏิบัติงานโดยรวมในระดับมาก ซึ่งได้แก่ การวางแผนการปฏิบัติงานโดยจัดทำปฏิทินการทำงาน ร่วมกันติดตามผลการปฏิบัติงาน ร่วมพิจารณากิจกรรม/โครงการลงพื้นที่ มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง การวางแผนปฏิบัติงานศูนย์ โดยรวมมีการปฏิบัติระดับปานกลาง ซึ่งได้แก่ ร่วมกับตัวแทนหมู่บ้านเกษตรกรจัดเวทีชุมชน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผน/กิจกรรม และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติงานตามแผน การจัดทำข้อมูลประจำตำบล มีการปฏิบัติในระดับมาก ในเรื่องของ การมีให้บริการข้อมูลแก่เกษตรกร คณะกรรมการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของตำบล ร่วมกับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของตำบล และมีการสรุปผลข้อมูล การจัดการถ่ายทอดความรู้ มีการปฏิบัติในระดับมาก ได้แก่ ดำเนินการคัดเลือก พัฒนาจุดสาธิต และวิทยากรเกษตรกร สำรวจวามต้องการด้านการฝึกอบรม หรือแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร และจัดให้มีการถ่ายทอด อาคารสำนักงานและวัสดุอุปกรณ์ประจำศูนย์บริการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการ เกษตรประจำตำบล จากการสังเกตุ พบว่า อุปกรณ์พื้นฐานที่จะต้องมีในศูนย์บริการส่วนใหญ่จะมีครบเช่น โต๊ะประชุม ตู้เก็บเอกสาร วัสดุถ่ายทอดความรู้ แผนภูมิตำบล โต๊ะทำงานเจ้าหน้าที่ บอร์ดนิทรรศการต่างๆ
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549-08-07
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลจังหวัดสกลนคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
7 สิงหาคม 2549
การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดราชบุรี ผลการปฏิบัติงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในอำเภอภูเวียง จังหวัดชัยภูมิ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก