สืบค้นงานวิจัย
ผลของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง
จำเริญศรี ถาวรสุวรรณ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Turmeric (Curcuma longa L.) on Immune Responses and Bacterial Disease Resistance in Cage Cultured Sea bass, Lates calcarifer Bloch, 1790
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จำเริญศรี ถาวรสุวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jumroensri Thawonsuwan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Orn-anong Kongtawee
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปลากะพงขาว (Sea bass; Lates calcarifer Bloch, 1790) เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเนื้อมีรสชาติดี เลี้ยงง่าย โตเร็ว สามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้งในแหล่งน้ำกร่อยและน้ำเค็ม นิยมเลี้ยงในกระชังตามแหล่งน้ำธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทั่วไปและบางพื้นที่เลี้ยงในบ่อดิน ในปัจจุบันแหล่งน้ำเลี้ยงปลามีสภาพเสื่อมโทรมลงเต็มไปด้วยมลภาวะต่างๆ มีการปนเปื้อนของอินทรีย์สารและอนินทรีย์สารเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อปริมาณเชื้อโรคที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ไม่อาจป้องกันและกำจัดได้หมดรวมทั้งการเลี้ยงอย่างหนาแน่นทำให้มีโอกาสที่ปลาจะสัมผัสกับเชื้อโรค เกิดความเครียดและอ่อนแอ สาเหตุเหล่านี้มีส่วนโน้มนำให้เกิดโรคได้ง่ายทั้งจากโปรโตซัว แบคทีเรีย และไวรัส โรคติดเชื้อสเตรปโตคอคโคคัส ที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียในปลากะพงขาวส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อวิบริโอ ซึ่งเกษตรกรแก้ปัญหาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ในปัจจุบันการใช้ยาปฏิชีวนะถูกจำกัดและควบคุมอย่างเข้มงวด จึงจำเป็นต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อให้เกษตรกรใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคที่เกิดขึ้น สมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแทนการใช้ยาและสารเคมี เนื่องจากสมุนไพรหลายชนิดมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคได้เช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะและมีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันโรค อีกทั้งยังไม่มีผลตกค้างในตัวสัตว์น้ำ ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีรายงานสรรพคุณทางยามากมายรวมทั้งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและยังหาได้ง่ายในประเทศ ในการเลี้ยงสัตว์น้ำมีการศึกษาประสิทธิภาพของขมิ้นชันในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านเชื้อแบคทีเรียในกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไม (มะลิและคณะ, 2547; กิตติมาและคณะ, 2550; Lawhavinit et al., 2010; จำเริญศรีและคณะ, 2554) สำหรับในปลามีการศึกษาของ Sahu et al. (2008) ที่ใช้ผงขมิ้นชันผสมอาหารสำหรับเลี้ยงปลายี่สกที่ระดับ 0.1-0.5% แล้วทำให้ปลามีความต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila สูงขึ้น และจากการศึกษาผลของการเสริมผงขมิ้นชันในอาหารสำหรับเลี้ยงปลากะรังเสือที่ระดับ 0, 0.01, 0.5 และ 1.0 % พบว่าที่ระดับ 0.01 และ 0.5 % ช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านเชื้อ Vibrio vulnificus (กำลังเขียนรายงาน)การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของขมิ้นต่อการเพิ่มภูมิคุ้มกันและการความต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 240,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง
กรมประมง
31 ธันวาคม 2556
กรมประมง
การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของน้ำเลือดปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ผลของสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อสเตรปโตคอคคัสในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง สรุปชุดโครงการวิจัย การเฝ้าระวังการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียและการศึกษากลไกทางเภสัชเพื่อกำหนดการใช้สารต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ 2546 - 2548 ผลของขมิ้นชัน (Curcumin longa L.) ที่เสริมในอาหารต่อภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะรัง ผลของอุณหภูมิต่อองค์ประกอบเลือดและการตอบสนองภูมิคุ้มกันของปลากะพงขาว ผลของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer,Bloch, 1970) ผลของสารสกัดขมิ้นชันในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและเพิ่มความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) การใช้ยีน MyD88 เป็นยีนติดตาม (gene Marker) ประสิทธิภาพสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลากะพงขาว (lates calcarifer) ผลของสารสกัดหยาบขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโตของปลาคาร์ป ผลของความถี่การให้อาหารสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตของปลากะพงขาว, Lates calcarifer (BLOCH) ที่เลี้ยงในกระชังให้ได้ขนาดตลาด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก