สืบค้นงานวิจัย
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต
อรรถพล โลกิตสถาพร - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต
ชื่อเรื่อง (EN): Abundance and Diversity of Benthic Fauna in Phra Ong Chao Chaiyanuchit Canal
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรรถพล โลกิตสถาพร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วรมิตร ศิลปชัย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Benthic fauna, Abundance, Diversity, Phra Ong Chao Chaiyanuchit Canal
บทคัดย่อ: การศึกษาความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิด ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมดัวอย่างโดยเครื่องมือเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินชนิด Ekman dredge ขนาด 15x15 เซนดิเมตร ดั้งแต่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จนถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดจะเชิงเทรา รวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร กำหนดจุดสำรวจรวม 5 จุด จุคละ 2 บีริเวณ คือบริเวณริมฝั่ง และบริเวณกลางน้ำ เก็บข้อมูลทุก 2 เดือน ดั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงเคือนกันยายน 2548 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าดัชนีทางนิเวศวิทยา โครงสร้างประชาคมสัตว์หน้าดิน และการวิเคราะห์ทางสถิติแบบหลายวแปร (multivariate analysis) ประกอบด้วยการวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (cluster analysis) และการวิเคราะห์การจัดลำดับ (ordination multi-dimensional scaling, MDS)ผลการศึกษาพบว่าสัตว์หน้าดินในคลองพระองค์เจ้าไซยานุชิด ประกอบด้วยกลุ่มสัตว์หน้าดินทั้งหมดรวม 3 ไฟลั่ม ได้แก่ Annelida Mollusca และ Arthropoda ซึ่งสามารถจำแนกวงศ์ของสัตว์หน้าดินได้ทั้งสิ้น 22 วงศ์ โดยกลุ่ม Mollusca เป็นกลุ่มสัตว์หน้าดินที่เป็นโครงสร้างหลัก และพบในจุดสำรวงที่1มีความหลากหลายของงศ์สัตว์หน้ำดินมากที่สุด ร่วม 19 วงศ์ ปริมาณสัตว์หน้าดินเฉลี่ยดลอดปีของทั้งลำน้ำมีค่าเท่ากับ 414.6+2793 ตัวต่อตารางเมตร วงศ์สัตว์หน้าดินที่พบเป็นชนิดเด่น คือ Tubificidae และพบมีการแพร่กระจายมากของในจุดสำรวจที่ 1 และ 2 ส่วนผลการวิเคราะห์การจัดกลุ่มและจัดลำดับดามจุดสำรวจร่วมกับเดือนสำรวจ และจุดสำรวจร่วมกับพื้นที่เก็บตัวอย่าง พบว่าบริเวณจุดสำรวงที่ 1 และ 2 มีปริมาณสัตว์หน้าดินในวงศ์ Thiaridae และ Tubificidae ค่อนข้างสูงมาก ซึ่งบ่งชี้ถึงจุดสำรวจดังกล่าวมีมลภาวะสูงเช่นกัน ดังนั้นจึงควรต้องมีการเฝ้าระวัง ส่วนบริเวณจุดสำรวงที่ 3, 4 และ 5 พบสัดว์หน้าดินเฉลี่ยในทั้งสองวงศ์ดังกล่าวมีปริมาณต่ำกว่า แต่ต้องฝ้าระวังบริเวณกลางน้ำ อินทรียสารในดินของคลองอยู่ในระดับสูง คุณภาพน้ำเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำต่ำ โดยภาพรวมสภาพคลองนี้ต้องเฝ้าระวังเพราะมีแนวโน้มคุณภาพแหล่งน้ำด้อยลง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2551
เอกสารแนบ 1
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี ความชุกชุม ความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย ความหลากหลาย ความชุกชุม การแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง ความชุกชุม ความหลากหลาย และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ความหนาแน่น ความหลากหลายและกิจกรรมของกลุ่มสัตว์หน้าดิน ในสวนยางพาราที่อายุต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก