สืบค้นงานวิจัย
ผลของความสูงของตอซังและวิธีการควบคุมวัชพืชที่มีต่อวัชพืชและผลผลิตข้าวในนาหว่านน้ำตมที่ปลูกโดยไม่ไถพรวน
ประสาน วงศาโรจน์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ผลของความสูงของตอซังและวิธีการควบคุมวัชพืชที่มีต่อวัชพืชและผลผลิตข้าวในนาหว่านน้ำตมที่ปลูกโดยไม่ไถพรวน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of height of rice straw after being harvested and the weed control method on yield of wet seeded rice under no-tillage
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประสาน วงศาโรจน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prasan Vongsaroj
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 แล่ะชัยนาท 1 อัตราเมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัม/ไร่ ในแปลงย่อยหนาด 4x8 เมตร จำนวน 4 ซ้ำๆ ละ 12 แปลงย่อย ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และสถานีทดลองข้าวชัยนาท จังหวัดชัยนาท ตามลำดับ ดูแลต้นข้าวให้อยู่ในสภาพดีในระยะเก็บเกี่ยว วางแผนการเก็บเกี่ยวให้เหลือฟางมีความสูงระดับคอรวงสูง 30 ซม. และระดับผิวดิน และเตรียมแปลงปกติคือ ไถดะ แปร คราด ทำเทือก ตามแผนแบบ split plot design ที่มีความสูงของฟางต่าง ๆ กัน และการเตรียมแปลงปกติเป็น main plot การควบคุมวัชพืชวิธีต่างๆ คือ ไม่กำจัดวัชพืช ถอนด้วยมือที่ 30 วันหลังหว่านข้าว และใช้สารกำจัดวัชพืช propanil/2,4-D 30/6% EC อัตรา 320 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ พ่น 15 วันหลังหว่านข้าว เป็น sub plot เพื่อศึกษาผลของความสูงของซังและวิธีการควบคุมวัชพืชในการควบคุมวัชพืชที่มีต่อวัชพืชและผลผลิตข้าวในนาหว่านน้ำตม โดยดำเนินการหว่านข้าวพันธุ์เดิมอัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่ หลังล้มตอซัง ทำการทดลอง 2 ครั้ง ที่สุพรรณบุรี และ 3 ครั้งที่ชัยนาทติดต่อกัน ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545 ผลการทดลองพบว่า การปลูกข้าวล้มตอซังที่ใช้ฟางสูงระดับคอรวงและ 30 ชม. สามารถลดวัชพืช คือ เทียนนา (Jussiaea linifolia (L.) Vabl) หนวดปลาดุก (FimbristyIis miliacea (I.) Vahl) หญ้าข้าวนก (Echinochloa crus-galli (L.) Beauv.) ที่สุพรรณบุรี และหญ้าไม้กวาด (Leptochloa chinensis (L.) Nees) และหนวดปลาดุกที่ชัยนาท และทำให้ผลผลิตอยู่ใกล้เคียงกับการเตรียมแปลงปกติตลอดการทดลอง การปลูกข้าวล้มตอซังไม่ว่าพ่างระดับคอรวงระดับ 30 ชม. หรือติดดิน มีผลทำให้หญ้าปล้องหิน (Paspalum scorbiculatum L.) หญ้าไซ (Leersia hexandra Sw.) และแห้วหมู (Cyperus rotundus L.) เพิ่มขึ้นทั้งสองสถานที่ที่ดำเนินการทดลอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/155919
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summary only
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของความสูงของตอซังและวิธีการควบคุมวัชพืชที่มีต่อวัชพืชและผลผลิตข้าวในนาหว่านน้ำตมที่ปลูกโดยไม่ไถพรวน
กรมการข้าว
2545
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การแข่งขันกับวัชพืชของข้าวบางพันธุ์ และวิธีการควบคุมวัชพืชที่เหมาะสมในสภาพนาน้ำฝน ผลของวิธีการควบคุมวัชพืชและการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาหว่านข้าวแห้งอาศัยน้ำฝน การใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA ในถั่วเหลืองที่ปลูกแบบไถและไม่ไถพรวน การจัดการฟางข้าวและวิธีการควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งโดยไม่เตรียมดิน ศึกษาวิธีการปลูกที่เหมาะสมสำหรับข้าวปทุมธานี 1 การเปรียบเทียบการใช้น้ำของข้าวระหว่างการไม่ไถพรวนกับการหว่านน้ำตมและปักดำ การจัดการวัชพืชโดยการปลูกพืชแบบหมุนเวียนในข้าวนาน้ำฝนที่มีการเตรียมดินแบบไถพรวนและไม่ไถพรวน ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนจากปุ๋ยของข้าวสุพรรณบุรี 1 ที่ปลูกในชุดดินวัฒนา การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก