สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศ
เสาวนี เขตสกุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): Production Technology of Tomato
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เสาวนี เขตสกุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): TYLCV
บทคัดย่อ: โครงการเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2558 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์รับประทานสดผลเล็กและผลใหญ่ สายพันธุ์แท้และพันธุ์ลูกผสม เพื่อได้ลักษณะที่ต้องการ ที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี ผลผลิตสูง รสชาติดี ใช้บริโภคสด และใช้ประกอบอาหาร ทนทานโรค เหมาะสำหรับปลูกในฤดูฝน คุณภาพดี มีความแน่นเนื้อ มีสารสำคัญ อาทิ สารไลโคพีน เบต้าแคโรทีน และวิตามินซีสูง การปรับปรุงเขตกรรมและการจัดการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตมะเขือเทศที่มีคุณภาพในฤดูฝนที่เหมาะสมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป จากการสำรวจและจำแนกพันธุ์มะเขือเทศ สามารถแบ่งมะเขือเทศออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มเชอรี กลุ่มสีดา กลุ่มรับประทานสดผลใหญ่ กลุ่มแปรรูป และกลุ่มต้นตอ และจากการทดสอบสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ (Specific Combining Ability; SCA) ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเชอรี ได้แก่ คู่ผสม 036-8 x041 036-8 x 396 186 x 002-6 362-1 x 041 และ 448 x 041 และกลุ่มแปรรูป ได้แก่ คู่ผสม 045 x 017-1 045-6X033-6-2 398X409, 402X398 และ 402 x 403 การคัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศรับประทานสดผลเล็ก (สีดา) คัดได้ 5 รหัสพันธุ์ คือ 101-2-8-7-4-6 108-2-4(1)-2-2-2 108-8-3-1-6-2 156-1-3-2-4-1 และ 297-5-7-2-3-5 การทดสอบสายพันธุ์ลูกผสมมะเขือเทศรับประทานสดผลเล็กในแหล่งต่างๆ พบว่า คู่ผสม 448 X 041 และคู่ผสม 036-8 X 041 เหมาะสมต่อการปลูกในฤดูฝน การคัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศรับประทานสดผลใหญ่ คัดได้ 5 รหัสพันธุ์ คือ 91-10-1-8-7-9 159-13-3-10-8-9 160-2-7-8-1-3 160-2-7-8-8-6 และ 160-5-3-3-7-8 การทดสอบสายพันธุ์ลูกผสมมะเขือเทศรับประทานสดผลใหญ่ในแหล่งต่างๆ พบว่า คู่ผสม 398X409 และ 403X402 เหมาะสมต่อการปลูกในฤดูฝน การคัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศที่มีปริมาณเบต้าแคโรทีน และไลโคปีนสูง พบว่า รหัสพันธุ์ 126-1 และ 299 มีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูง รหัสพันธุ์ 126-1 303 และ 337 มีปริมาณไลโคปีนสูง และรหัสพันธุ์ 126-1 มีทั้งปริมาณเบต้าโรทีน และไลโคปีนสูง การคัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรคเหี่ยวเขียวและการใช้เครื่องหมายโมเลกุลเพื่อคัดเลือกพันธุ์ต้านทาน จากมะเขือเทศที่มีสารเบต้าแคโรทีน และไลโคปีนสูง พบว่า ทุกสายพันธุ์อ่อนแอต่อเชื้อโรคเหี่ยวเขียว และนำรุ่นลูกที่เกิดจากการผสมตัวเองของต้นต้านทานมาทดสอบความต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว พบว่า มะเขือเทศมีความต้านทานเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์ H7996 ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทาน การเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยเครื่อง PCR โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SCAR สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอมะเขือเทศต้นต้านทานได้ 1 เครื่องหมาย โดยปรากฏแถบดีเอ็นเอขนาด 200 bp. จำนวน 13 ต้น การเปรียบเทียบความต้านทานโรคใบหงิกเหลืองในมะเขือเทศ (TYLCV) พบว่า พันธุ์ CLN 3078 C CLN 2071 D และพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือ มีความต้านทานต่อ TYLCV มากกว่าทุกสายพันธุ์ จากการทดสอบในสภาพแปลงปลูกในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า พันธุ์ CLN 3078 C มีความต้านทานต่อเชื้อ TYLCV ได้ดีกว่าทุกสายพันธุ์ และมะเขือเทศพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือ มีความสามารถต้านทานเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบหงิกเหลืองได้สูงในระดับหนึ่ง จากการศึกษาต้นตอที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศในฤดูฝน พบว่า การเสียบยอดมะเขือเทศผลเล็ก (มะเขือเทศ ศก.19) และมะเขือเทศผลใหญ่ (ลูกผสมพันธุ์การค้า) โดยใช้ต้นตอมะเขือเปราะคางกบ มะเขือขื่นกรอบ และมะเขือพวง มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง โดยมะเขือเทศผลเล็กพันธุ์ ศก.1 ศก.19 และมะเขือเทศพื้นเมือง ไม่เหมาะสมในการใช้เป็นต้นตอสำหรับมะเขือเทศผลใหญ่ การปลูกมะเขือเทศผลเล็กโดยการใช้ต้นตอจากมะเขือขื่นกรอบ ให้จำนวนผลต่อต้น น้ำหนักต่อต้น และน้ำหนักต่อไร่มากที่สุด การปลูกมะเขือเทศผลใหญ่โดยการใช้ต้นตอให้น้ำหนักผลผลิตต่อไร่ไม่แตกต่างกับการปลูกโดยไม่ใช้ต้นตอ มะเขือเปราะคางกบ และมะเขือขื่นกรอบ มีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นต้นตอ และแนะนำให้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ต้นตอเชิงพาณิชย์ได้ พันธุ์มะเขือเทศที่ได้จากการทดลองทั้งหมด จะได้นำมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศตามกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The experiments of tomato (Solanum lycopersicum L.) production technology project were conducted at Si Sa Ket Horticultural Research Center, Chiang Rai Horticultural Research Center and Nakhon Phanom Agricultural Research and Development Center for 4 years duration, during 2012–2015. The objectives of this project were to improve new tomato varieties through both conventional method and hybridization. It aims to enhance yield, have good agronomic qualities, improved levels of resistance to plant disease, include screening and development of new sources of high phytochemical like lycopene, carotene and vitamin C. We also, improved cultural practice for reduced costs of tomato production in the rainy season. The survey and classify of tomato accessions by commercial tomato criteria for Thailand market. Tomato accessions were classified to 5 groups, included Cherry type, Sida type, Table type, Processing type and Rootstock type. Two tomato groups with high yield and yield components were selected by specific combining ability (SCA) technique. Cherry type, included 036-8x041, 036-8x396, 186x002-6, 362-1x041, 448x041 varieties and processing type, included 045 x 017-1, 045-6x033-6-2, 398x409, 402x398, 402x403 varieties. The selection of fresh small tomato (Solanum lycopersicum L. cv. Sida), five selected accessions, namely 101-2-8-7-4-6, 108-2-4(1)-2-2-2, 108-8-3-1-6-2, 156-1-3-2-4-1 and 297-5-7-2-3-5 were collected. The evaluations of a small fruit size hybrid tomato at different locations were concluded that the 448X041 and 036-8X041 hybrid varieties are suitable for a rainy growing season. For the selection of table tomato, five selected accessions were collected, namely 91-10-1-8-7-9, 159-13-3-10-8-9, 160-2-7-8-1-3, 160-2-7-8-8-6 and 160-5-3-3-7-8. The evaluation of processing hybrid tomato at different locations were found that the 448X041 and 036-8X041 hybrid varieties are suitable for a rainy growing season. The tomatoes were screened for high beta-carotene and lycopene content. From the results, the selected accession No. 126-1 and No. 229 had higher beta-carotene contents than other accessions. The selected accessions No.126-1, No.303 and No.337 had higher lycopene contents than other accessions. The selected accession No.126-1 was showed both high beta-carotene and lycopene contents. The screening for bacterial wilt resistance in tomato and using molecular markers linked to disease resistance. The result showed that all accessions were susceptible. The resistant plants were self-pollinated for seed production. Their seedlings were screened for theirs resistance. They were showed high resistance equal to the resistant control variety (H7996). The DNA extraction and amplified with PCR, two SCAR markers were used for amplification. The result indicated that one marker can be amplified the resistant tomato. Thirteen tomatoes were showed 200 bp. DNA fragment. The comparison of resistance to tomato yellow leaf curl virus (TYLCV) of tomatoes in glasshouse were showed that the tomato varieties namely CLN 3078 C, CLN 2071 D and northern local tomato were higher levels of resistance than other varieties. The results of under field condition at Chiang Rai province and Si Sa Ket province conditions were concluded that the CLN 3078 C variety is the highest resistant. The northern local tomato variety is the best sources of resistance to TYLCV. The grafting tomatoes onto different rootstock for increase yield of tomatoes in rainy season. The results showed that the Kermit eggplant (Solanum melongena), cockroach berry (Solanum capsicoides) and turkey berry (Solanum torvum Sw.) were given high graft survival rates for Sida tomato and table tomato. The SK1, SK19 and local cultivar tomato (named ‘Krua’) were not suitable rootstocks for the table tomato. Sida tomato grafted onto cockroach berry, SK1 and Kermit eggplant rootstocks were given high number of fruit per plant, fruit weight per plant and fruit weight per rai. Grafting table tomatoes onto different rootstocks were not significantly affected on fruits weight per rai. However, table tomato grafted onto turkey berry, cockroach berry and Kermit eggplant rootstocks were given high fruit weights. In conclusion, the cockroach berry and Kermit eggplant are suitable for use as a tomato rootstock and could be recommended to a commercial rootstock seed producer. All selected accessions from the studies will be used for the evaluation in the next phase of varietal improvement program.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตชา การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 การตอบสนองของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีของการปลูกมะเขือเทศในระบบข้าว มะเขือเทศ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วแปยีให้เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งที่มีคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก