สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการบริหารจัดการศัตรูอ้อย
สุนี ศรีสิงห์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการบริหารจัดการศัตรูอ้อย
ชื่อเรื่อง (EN): Sugarcane Pest Management
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุนี ศรีสิงห์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2554- 2558 ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลักตามประเภทของศัตรูอ้อยที่สำคัญ คือ กิจกรรมด้านการจัดการวัชพืช การจัดการด้านแมลงศัตรูอ้อยแบบผสมผสาน และการจัดการโรคใบขาวซึ่งเป็นโรคที่สำคัญของอ้อย ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชทั้งก่อนงอก หลังงอก และประเภทเถาเลื้อย ในพื้นที่ปลูกอ้อย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ระยอง และนครสวรรค์ พบว่า สารกำจัดวัชพืชที่นำมาทดสอบส่วนใหญ่สามารถควบคุมวัชพืชในไร่อ้อยค่อนข้างดี แม้มีปัญหาเป็นพิษในช่วงแรกแต่สามารถใช้ได้ และจากการสำรวจวัชพืชทั้งในภาคกลาง 44 แปลงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 55 แปลง จากตัวอย่างจำนวน 158 ประชากรยังไม่พบว่ามีวัชพืชต้านทานสารเคมีแต่อย่างใด การป้องกันกำจัดวัชพืชแบบผสมผสานในพื้นปลูกอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในดินร่วนทรายการปลูกพืชคลุมดินจะทำให้มีปริมาณวัชพืชลดลง แต่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเมื่อใช้ถั่วขอปลูกเป็นพืชคลุมดินและกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานและเครื่องมือติดรถไถเดินตามทำให้ได้ผลผลิตอ้อยสูงสุด และให้กำไรสูงกว่าการไม่ปลูกพืชคลุมดิน ส่วนในดินร่วนการไม่ปลูกพืชแซมจะทำให้ผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอรวมกันเพิ่มขึ้น และให้ผลกำไรสูงสุด ในกิจกรรมวิจัยและพัฒนาวิธีการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญ ทำการสำรวจแมลงในพื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ปี 2554-2556 พบว่าแมลงอ้อยที่สำคัญคือหนอนกอลายจุดเล็ก และหนอนกอลายใหญ่ การแพร่ระบาดของแมลงความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญ โดยความชื้นที่ระดับ 70% ขึ้นไปหนอนกอลายจุดใหญ่จะมีการทำลายมากที่สุด ส่วนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตกแมลงนูนหลวงเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญ เมื่อทำการศึกษาการเข้าทำลายในช่วงปี 2555-2558 ทั้งในไร่เกษตรกรและในเรือนทดลองพบว่าการทดลองปล่อยหนอนวัย3 ตั้งแต่ 1 ตัวทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง เนื่องจากน้ำหนักต่อลำลดลง ในขณะที่ไม่ทำให้ความหวานของอ้อยลดลง ส่วนการสำรวจในไร่เกษตรกร พบว่า หนอนแมลงนูนหลวงมีผลให้อ้อยเกิดความสูญเสียต่อผลผลิตน้ำหนักต่อไร่และจำนวนลำของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่อายุ 12 เดือนลดลง โดยการเข้าทำลายของหนอนแมลงนูนหลวงที่ระดับ 32.22% ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง 55.81% สำหรับความสูญเสียความหวานนั้น พบว่าอ้อยมีค่าความหวานสูงขึ้นเนื่องจากการสูญเสียน้ำ ระยะเวลาของการทำลายของแมลงนูนหลวงมีผลต่อความเสียหาย เนื่องจากอ้อยจะแสดงอาการขาดน้ำเร็ว และหากไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงแรกจะทำให้สูญเสียผลผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่ามีพื้นที่การระบาดเพิ่มขึ้นเช่นในเขตอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ การให้น้ำมีผลทำให้วงจรชีวิตของด้วงหนวดยาวเปลี่ยนไป แมลงเป็นตัวเต็มวัยเร็วขึ้นและมีหนอนหลายขนาดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน กิจกรรมการจัดการโรคใบขาวแบบผสมผสาน ใช้เทคนิคทางด้านชีวเคมีเช่น High Resolution Melting (HRM) , Real time PCR เพื่อศึกษาความแตกต่างของเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวอ้อย และความเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในอ้อยที่เป็นโรค เพื่อหาทางตรวจเชื้อที่แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันกำจัดโรคใบขาว นอกจากนี้ได้หาทางลดปัญหาความรุนแรงของโรคใบขาวได้แก่ การศึกษาผลของระยะเวลาปลูกต่อการเกิดโรค การใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสมในการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรค และการใช้น้ำร้อนและสารปฏิชีวนะในการลดปริมาณเชื้อในท่อนพันธุ์และในเนื้อเยื่ออ้อยปลอดโรคตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The project has been done during 2011 -2015. It consisted of 3 activities as major pests of sugarcane, weed, insect pests and white leaf disease. The activities on weed were testing efficacy of herbicides, pre-emergence, post-emergence and herbicides for vine weeds. All tested chemicals were less toxic to sugarcane and could control most weeds for 60 days. From the survey of 44 sugarcane fields in the central part and 55 fields in the northeast part of Thailand, 158 weed population samples were tested for the herbicide resistance. The results showed that there was none. Integrated weed management were conducted in sandy-loam and loam soil of sugarcane in northeast during 2011-2013. The results showed that the most profit from sandy-loam soil field was, to plant velvet bean (Stizolobium deeringiamum) cover the soil and controlled weed by hand weeding and small tractor; whereas in the loam soil, planting green manual increased the cost of production. In the activities on insect pests of sugarcane, from field survey during 2011-2013 in the northeast fields, the most important insect pests were Chilo infuscatellus and C. tumidicostalis the infestion depended on humidity rather than rain fall and soil moisture. In central part, the most important pest was cane grub (Lepidiota stigma). Number of the worms infestation per tool was studied. The results showed that 1 worm could cause the yield reduction due to weight of cane were reducing. By crop cutting in the farmers’ field showed that sugarcane Khonkhen3 with 32.22% infested with the cane grub caused 55.81% cane yield reduction. The activities on control of white leaf disease, the biotechnology techniques such as High Resolution Melting (HRM), Real time PCR, were used to differentiate the phytoplasma the caused white leaf and grassy shoot like symptoms, to quantified the phytoplama and to detect contamination of tissue culture and cane setts. There were biochemical changes in infected sugarcane at different stages. Effect of planting dates on white leaf was found. Production of sugarcane disease free seed setts and use minor element to reduce yield loss also discussed.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการบริหารจัดการศัตรูอ้อย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น ศึกษาสถานการณ์การระบาดของศัตรูอ้อยในแปลงผลิตอ้อยพันธุ์ดีปลอดโรค-แมลง โครงการ : การทดสอบผลผลิตอ้อยโคลนก้าวหน้าในระดับภูมิภาค (อ้อยตอปีที่ 1) การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย รายงานผลการวิเคราะห์เทคนิคการจัดการพันธุ์และเขตกรรมเพื่อควบคุมศัตรูอ้อย การบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กรณีศึกษา: โครงการ “หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย” ในจังหวัดอุบลราชธานี การบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรปศุสัตว์อินทรีย์ในจังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก