สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรการทำสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศราวุธ ทองเนื้อห้า, ศราวุธ ทองเนื้อห้า - มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรการทำสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่อง (EN): The Strength Development in Agricultural Groups of Rubber Tree Farms Suratthani Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรการทำสวนยาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและรูปแบบผลิตภัณฑ์ยาง การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคของกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางและศึกษาแนวทางในการพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ประชากร ได้แก่ เกษตรกรสวนยางที่เป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางในจังหวัดสุราษฏร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการประชุมกลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40 – 49 ปี และไม่มีอาชีพเสริมนอกจากการทำสวนยาง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (จากสวนยาง) ตั้งแต่ 5,001 – 10,000 บาท มีจำนวนสวนยางที่ถือครอง ตั้งแต่11-20 ไร่ ทั้งหมดเป็นสวนยางที่กรีดได้ผลผลิตแล้ว และใช้แรงงานในครอบครัวน้อยกว่า 2 คน ระยะเวลาที่เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มมากกว่า10 ปี ผลประโยชน์ที่เกษตรกรสวนยางได้รับจากกลุ่มที่เข้าเป็นสมาชิกมากที่สุด คือ เงินรายได้ ส่วนผลผลประโยชน์ที่กลุ่มได้รับคือการเพิ่มความเข้มแข็ง ประเภทของยางที่ขายผ่านกลุ่มส่วนใหญ่เป็นการขายน้ำยางสด รองลงมาเป็น ยางก้นถ้วย และมีการจำหน่ายผ่านกลุ่มเกษตรกรยางพาราแม้จะมีราคาเท่ากับท้องตลาด และมีความพึงพอใจบทบาทกลุ่มเกษตรกรยางพารา ด้านการให้บริการช่วยเหลือมากที่สุด ในการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาพรวมเกษตรกรจะมีส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งด้านการวางแผนของกลุ่มเกษตรกร ด้านการดำเนินงานของกลุ่ม และด้านการติดตามและประเมินผล การวิเคราะห์ SWOT ในภาพรวมของกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพารา ด้านจุดแข็งของกลุ่ม มีความเข้มแข็งของแกนนำ มีความเข้าใจการดำเนินงาน กลุ่มมีทุนดำเนินงานที่เพียงพอ มีแผนการบริหารความเสี่ยง สมาชิกเข้าใจบทบาทของตัวเอง มีความเชื่อมั่นและมีความเข้มแข็ง มีการวางแผนพัฒนากลุ่มทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีการดำเนินงานที่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น มีเครือข่ายที่กว้างขวางและหลากหลาย และมีการจัดสวัสดิการและการดูแลสมาชิกอย่างทั่วถึง ด้านจุดอ่อนของกลุ่ม ยังขาดการประชาสัมพันธ์ข่าวสารไปยังสมาชิกที่ไม่ทั่วถึง สมาชิกยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ ทฤษฎี และระเบียบฯ ข้อบังคับ ขาดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ระบบการตรวจสอบกิจการยังเป็นระบบเอื้ออาทรไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงของที่แท้จริง มีปัญหาการส่งผ่านข้อมูลจากฝ่ายปฏิบัติการสู่ฝ่ายบริหาร เกิดทัศนคติในเชิงลบของสมาชิกต่อการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการ และการบริการของเจ้าหน้าที่ และขาดการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมต่อสังคม (CSR) ด้านโอกาสของกลุ่ม มีนโยบายการสนับสนุนการดำเนินงานจากภาครัฐ มีตลาดกลางสินค้าการเกษตรที่รับส่งสินค้าโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนการทำงาน และภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มขยายตัว ส่วนด้านอุปสรรคของกลุ่ม สถานการณ์ทางการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนนโยบายในการพัฒนาประเทศ การเกิดภัยธรรมชาติ (น้ำท่วม ภัยแล้ง) การเปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอกประเทศ มีผลกระทบต่อสมาชิก ราคาสินค้าอุปโภค บริโภคเพิ่มสูงขึ้นกระทบต่อค่าครองชีพ และปัญหาข่าวการฉ้อโกง การทุจริตในการดำเนินงานของสหกรณ์อื่นๆ มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ส่วนแนวทางในการพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางในจังหวัดสุราษฏร์ธานีจากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือจะต้องดำเนินการพัฒนาตัวบุคคลให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ รูปแบบในการดำเนินงานของกลุ่ม ความรู้ทางด้านการดำเนินธุรกิจ ทั้งในส่วนสมาชิก เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและผู้บริหารกลุ่ม ให้เกิดวิสัยทัศน์ในการบริหารและการดำเนินงาน เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อพัฒนาให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง และที่สำคัญคือการการปรับบทบาทของภาครัฐใหม่ โดยภาครัฐควรปรับบทบาทเป็นผู้ส่งเสริม มากกว่าบทบาทการเป็นผู้ควบคุม และควรมีการตั้งองค์กรอิสระหรือองค์กรมหาชนมาขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรไม่ควรนำระบบราชการมาใช้ เพราะไม่สามารถปรับการดำเนินงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ใช้ระบบพี่เลี้ยงในการพัฒนา โดยให้กลุ่มที่มีความเข้มแข็งและมีความสำเร็จในการดำเนินงาน เป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มที่ยังไม่มีความเข้มแข็งโดยพัฒนาระบบเครือข่ายให้มีความเชื่อมโยงในห่วงโซ่อุปทานยางพารา ครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ คำสำคัญ:กลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา ความเข้มแข็ง การพัฒนา
บทคัดย่อ (EN): Strength Development of Rubber Farmer group in Suratthani Sarawut Thongnuaha1 This research is to study about general conditions and rubber product format, analysis, strong - weak point, opportunity, obstacle of the rubber farmer group in Suratthani Population is rubber farmers who are member of the rubber farmer group in Suratthani, tools have used in this paper is questionnaires and discussion group, and then Statistic results are frequency, average percentage and S.D. General information of answerers were found that mostly of them are men, aged during 40-49 years old and main occupation is rubber farmer without any extra jobs. Moreover, they can receive salary per month from main career around 5,001-10,000 baht, and they have their own rubber trees about 11-20 Rai (17,600-32,000 square metres), and all of them are the rubber trees that the farmer in Suratthani can harvest with 2 labors per family. Actually, it was found that most of members are joined the group for over 10 years, and normally the advantages that members can individually gain is income; on the other hand benefit that the rubber group can get from members is supporting etc. Moreover, the categories of rubber products that members usually generate among the group are latex and cup rubber respectively. Although cost of rubber products have equal to the market, they still pleasure the rubber group with operation and collaboration service. While we focus on participation of farmers to the rubber group operation was fair- planning, progression, track and evaluation. Therefore, SWOT analysis of the rubber farmer group has both strong and weak points, so it was found that members understand a process of group operation, has suitable budget, be able to handle with risk management, trust in strength of group, set a short and long term plan to group development, cooperate with other organization, wide and various well known, and thoroughly manage benefit to members. However, weak points - it was found that the rubber group lack of appropriate promotion to other members. Furthermore, some of members cannot understand about principle, policy, and rules, so they have lacked of self development continually and seriously, and then examination system is lack of accuracy - incomplete to display real risk condition from rubber trade – negative attitude trouble of man labor to board director and finally they lack of participation to public. Opportunity In addition, the government has highly supported policy to the group operation with center market without middle man and local government extremely encourages the rubber group progression among expanded economy condition. Obstacles Unsteady political condition gradually cause to country development policy and natural disaster; external and internal economy transformation has affected to member, and then increased price of consumption products impact to cost of living, and moreover fraudulent problem and dishonest cooperative from outside organization that influence to trusting of member. Conclusion, the results of recommendation for Strengthen Development of Rubber Farmer group in Suratthani was found that all of members must increase self-development for comprehension about duties, principles, and responsibilities, working style, business knowledge within members, officers, and director of group. Therefore, they should have positive attitude to management and operation to motivate and develop the rubber group and especially the character of government that they have to be supporter not controller and moreover they should establish private organization to progress the farmer group with bureaucracy, because it cannot suitably adjust highly competitive economy transformation, although the rubber group in Suratthani should be a curator system by the famer group who succeed from operation system being a guide to the farmer group who lack of strength with using connection system development to rubber supply chain both initial part, middle and the end. Keyword: the rubber famer group, strength, and development
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรการทำสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
30 กันยายน 2557
แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อการคงอยู่ในอาชีพได้อย่างยั่งยืน ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง โครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและดัชนีชี้วัดความสุขของชุมชนบนพื้นที่สูง การศึกษาวิเคราะห์สภาวการณ์ของกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนากลุ่มเกษตรกร ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในโครงการพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้าน ปี 2562 การศึกษาการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาแม่บ้านเกษตรกร การสร้างระบบกลุ่มเกษตรกรพี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบกลุ่มภาคเหนือของประเทศไทย โดยประยุกต์หลักการพัฒนาองค์การและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านที่เหมาะสมในการทำสวนยางพาราเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภาคอีสาน การศึกษาการพัฒนาสมาชิกเกษตรกรก้าวหน้าให้เป็นเกษตรกรชั้นนำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก