สืบค้นงานวิจัย
การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกอง
พิสุทธิ์ พูลสวัสดิ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกอง
ชื่อเรื่อง (EN): Effective of insecticide for controlling Cossus chloratus in Lansium domesticum
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิสุทธิ์ พูลสวัสดิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาการใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อลด การใช้สารเคมี ดำเนินการในแปลงลองกอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่มดำเนินการ เดือนตุลาคม 2255 สิ้นสุด โครงการ เดือนกันยายน 2556 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 วิธีการทดลอง วิธีการละ 5 ซ้ำ ได้แก่ วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม วิธีการที่ 2 พ่นด้วยสารคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีการที่ 3 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการ ระบาดทุก 7 วัน และวิธีการที่ 4 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาด ทุก 14 วัน พบว่า วิธีการที่ 3 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตเกรด A มากที่สุดเท่ากับ 22.79 ส่วนวิธีการที่ 1 แปลงควบคุม ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตเกรด B C และเกรดต่ำ มากที่สุดเท่ากับ 16.67 8.11 และ2.01 ตามลำดับ สำหรับวิธีการที่ 3 พ่นด้วยสารป้องกัน แมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน สามารถทำให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น เนื่องจากมีค่าเฉลี่ยผลผลิตเกรดต่ำ ต่ำที่สุด ส่วนเปอร์เซ็นต์รอยแผลที่พบบนต้นลองกองในแต่ละวิธีการทดลอง พบว่า ในวิธีการที่ 2 ฉีดพ่นด้วยคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พบเปอร์เซ็นต์รอยแผลน้อยที่สุด ส่วนในวิธีการที่ 1 แปลงควบคุม จะพบเปอร์เซ็นต์รอยแผลบนต้นมากที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกอง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
การศึกษาประสิทธิภาพของสารเร่ง พด.7 ในการป้องกันกำจัดหนอนชอน เปลือกลองกอง การศึกษาวิธีการควบคุม หนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกอง โดยวิธีผสมผสาน การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากใบหญ้าแฝก ศึกษาการควบคุมศัตรูลองกองแบบผสมผสานในจังหวัดนราธิวาส การใช้เชื้อรา Metarhizium anisopliae PSUM04 ควบคุมเพลี้ยอ่อนผัก Lipaphis erysimi (Kalt.) (Homoptera: Aphididae) ในผักคะน้าระบบไฮโดรโปนิกส์ การศึกษาสภาพการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองของเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมในภาคตะวันออกโดยใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae Weiser ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. การประยุกต์ใช้เชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นในการควบคุมศัตรูพืชเพื่อการผลิตผักวงศ์กะหล่ำปลอดภัยจากสารพิษ ศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ลองกองกวนชนิดแผ่น
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก