สืบค้นงานวิจัย
ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรใน ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
นภาลัย บุญทิม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรใน ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง (EN): Cost and return of Mango cv. Nam Dok Mai in Dong Mun Lek Tambol, Mueng Phetchabun District Phetchabun
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นภาลัย บุญทิม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรในต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาวิธีการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ใน ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 2) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกร วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการจัดเก็บข้อมูลจากเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จำนวน 30 ครัวเรือน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ คำนวณหากำไร(ขาดทุน) และวิเคราะห์ทางการเงิน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในเชิงพาณิชย์ โดยนำต้นพันธุ์มาปลูกในระยะ 4x5 เมตร ในช่วงแรกจะดูแลด้วยการรดน้ำ เช้า-เย็น เมื่อโตเต็มที่จึงให้ปุ๋ยบำรุงต้น ราดสารเร่งดอก แทงช่อ เมื่อเริ่มติดลูกขนาดเท่ากำปั้น จะนำถุงมาห่อ หลังจากนั้น 30-40 วันจึงจะเก็บมาจำหน่ายให้กับตัวแทน ซึ่งเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละ 2-3 ครั้ง ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ พบว่า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนส่วนใหญ่ คือ ค่าถุงห่อมะม่วง และอุปกรณ์รดน้ำหรือค่าจัดตั้งระบบน้ำ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ได้แก่ ค่าสารเคมีและยาฆ่าแมลง เนื่องจากเกษตรกรต้องการให้มะม่วงออกนอกฤดู จึงจำเป็นต้องใช้สารดังกล่าวเป็นจำนวนมาก การจำหน่ายมะม่วงส่วนใหญ่จะส่งออกไปจำหน่ายประเทศจีน เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น จึงทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนค่อนข้างสูง ผลการวิเคราะห์ทางการเงิน พบว่า การลงทุนปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นบวก และ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่ามากกว่า 1 แสดงให้เห็นว่า ทุกขนาดของพื้นที่ปลูกคุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้ง มีระยะเวลาคืนทุนภายใน 4 ปี สำหรับปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับสวนมะม่วง คือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ที่มาทำลายมะม่วง ทำให้ผิวไม่สวย ราคาขายต่ำ เกษตรกรแก้ปัญหาโดยการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อให้แสงแดดส่องถึง จึงสามารถช่วยลดปัญหาเพลี้ยที่จะมาทำลายมะม่วงได้ คำสำคัญ : ต้นทุน, ผลตอบแทน, มะม่วงน้ำดอกไม้
บทคัดย่อ (EN): This research presents an analysis of cost and return of Mango cv. Nam Dok Mai in Tambol Dong Mun Lek, Mueang District, Phetchabun Province. The following objectives : 1) Study the growing of Mango cv. Nam Dok Mai in Tambol Dong Mun Lek, Mueang District, Phetchabun Province. 2) Study cost and return of of Mango cv. Nam Dok Mai farmers 3) Study problems and suggestions of Mango cv. Nam Dok Mai farmers. Methodology of research, researchers collected data from growers of Mango cv. Nam Dok Mai Sithong number 35 households with questionnaires. The data were analyzed by calculating the percentage, profit (loss) and financial analysis. Results from the mango cv. Nam Dok Mai Si Thong growing method found that most agriculturists grew commercially by grew in 4x5 meters distances. In the first part the mango was grow by the morning-evening watering, when fully grown fertilizing maintain, pour a chemical for hurry bloom. Mangos was size first, they were wrap in bags , after that it is more than 30-40 days to sell to agents. Agriculturists could harvest 2-3 times a year. Result of analysis cost and return of Mango cv. Nam Dok Mai found most of investment cost of mango was expense the mango bags and the establishment of water or watering equipment. Most of operating was the chemicals and pesticides because the agriculturists wanted to harvest the mangos outside season. Selling mangos were exported to distributors in China , Viet Nam and Japan etc. that the agriculturists received compensation was quite high. The results of the financial analysis found investment grew the mango cv. Nam Dok Mai was net present value (NPV) was positive and beneficial and cost ratio (B/C ratio) was greater than 1 indicate all size of areas grew with investment payback period was also within 4 years. For most of problem that had occurred with the mangos were leafhoppers destroyed mango mealy bugs that came to light, it was low sales prices. the agriculturists solved the problem by trimming the branches and transparent manner that the sun shines through that help reduce the problem leafhoppers to destroy mango. Keyword : Cost, Return, Mango cv. Nam Dok Mai
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรใน ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2558
การบริหารและจัดการความเสี่ยงเพื่อลดโรคแอนแทรคโนสของผล มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรที่ปลูกผักระหว่างการใช้ปุ๋ยมูลกระบือและปุ๋ยเคมี สมการการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาสมการการผลิตและต้นทุนผลตอบแทนจาก การปลูกยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ และการปลูกพืชที่หลากหลาย บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการสีและต้นทุนผลตอบแทนจาก เทคโนโลยีการลดความชื้นข้าวเปลือกแบบต่างๆ ของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาต้นทุนผลตอบแทนของธุรกิจแปรรูปยางพารา จ.สุราษฎร์ธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก