สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพในการผลิตไก่ฟ้าของประเทศไทย
สมพงษ์ บุญสนอง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพในการผลิตไก่ฟ้าของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพงษ์ บุญสนอง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไก่ฟ้าเป็นสัตว์ปีกกลุ่มหนึ่งที่มีสีสันสวยงาม ซึ่งบรรพบุรุษของไก่ฟ้าเป็นไก่ป่าที่มีถิ่นกำเนิดในปาเขตร้อนของทวีปเอเชีย ไก่ฟ้าทุกชนิดตัวผู้จะมีสีสวยงามกว่าตัวเมีย ซึ่งตัวเมียมักมีสีค่อนข้างกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นการหลบซ่อนศัตรูในเวลากกไข่และเลี้ยงดูลูกตามลำพัง ไก่ฟ้าทั่วโลกมี 16 ตระกูล 48 ชนิด ถ้ารวมชนิดย่อยจะมี 152 ชนิดย่อย และมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียทั้งสิ้น ยกเว้นนกยูงคองโกเท่านั้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอาฬริกา สำหรับในประเทศไทยพบไก่ฟ้าอยู่ 6 ตระกูล รวม 14 ชนิดย่อย และทุกชนิดจัดเป็นสัตว์ป๋าที่ถูกคุกคามและพบเห็นได้ยากในปาธรรมชาติ บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ในกรงเลี้ยงเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ไก่ฟ้าคงสายพันธุกรรมอยู่ได้ เป็นที่น่ายินดีที่หลายฝ่ายทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้พยายามช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ไก่ฟ้าไทยโดยพยายามศึกษาด้านการเพาะเลี้ยงกันอย่างจริงจังและประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ปัจจุบันพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี พ.ศ.2535 ได้อนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์สกุลไก่ฟ้าได้ จึงนับว่าเป็นโอกาสดีที่ผู้สนใจจะเพาะเลี้ยงไก่ฟ้าจะได้ทำโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=194.pdf&id=686&keeptrack=11
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพในการผลิตไก่ฟ้าของประเทศไทย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การวิเคราะห์นโยบายการค้าระหว่างประเทศและศักยภาพการแข่งขันของบริษัทไทยในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูประหว่างประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ศึกษาศักยภาพด้านต้นทุนของกระบวนการจัดการธุรกิจปาล์มน้ำมันเพื่อความได้เปรียบทางการค้าของประเทศไทย รูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจส่งออกของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพและสถานภาพด้านสิ่งแวดล้อมในฟาร์มสุกรและโคนมทั่วประเทศไทย ระบบการผลิตและต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นพืชหลักเทียบกับการผลิตข้าวมาตรฐาน (GAP) ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การผลิตและประยุกต์ใช้โปรไบโอติคเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ ทิศทางงานวิจัยด้านแพะในประเทศไทย แร่ธาตุกับสัตว์เคี้ยวเอื้องในประเทศไทย การศึกษาสถานภาพเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก