สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี
สุชาติ จันทร์เหลือง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชาติ จันทร์เหลือง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): GAP
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการผลิตลำไยตามระบบการผลิตทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP ) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ วิธีการผลิตและขายผลผลิต การปฏิบัติตามระบบ ( GAP ) รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาจำนวน 400 ราย เป็นเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าคะแนนความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกร มีอายุเฉลี่ย 48.2 ปี ส่วนใหญ่ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 46.11 ไร่ มีพื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 22.38 ไร่ พื้นที่ปลูกลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว เฉลี่ย 14.60 ไร่ และมีประสบการณ์ในการผลิตลำไย เฉลี่ย 8.42 ปี เกษตรกรจะชักนำให้ลำไยออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม มากที่สุดคือ ร้อยละ 56.00 และการนำวิธีการปฏิบัติในการผลิตลำไยมาใช้ในสวนของตนเอง อยู่ในระดับมาก ส่วนการตัดสินใจขายจะใช้วิธีดูจากกำหนดเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และขายให้กับบริษัทส่งออกโดยตรง โดยผู้ซื้อรับผิดชอบในการเก็บเกี่ยวและการคัดเกรด ส่วนการปฏิบัติตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP ลำไยพบว่า เกษตรกรได้ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านต่างๆดังนี้ คือ ด้านการจัดการสุขลักษณะสวน อยู่ในระดับ มาก ด้านการจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตร อยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านการจัดการปัจจัยการผลิตอยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านการจัดการในขั้นตอนการผลิต อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านการจัดการในการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว อยู่ในระดับ น้อยที่สุด ด้านการจัดการเพื่อการควบคุมการคละปนของผลิตผลด้อยคุณภาพกับผลิตผลคุณภาพ อยู่ในระดับ น้อยที่สุด และด้านการบันทึกข้อมูลอยู่ในระดับ มากที่สุด สำหรับปัญหาที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามระบบ GAP ของเกษตรกรพบว่า ด้านการผลิตอยู่ในระดับ มาก ด้านการตลาด อยู่ในระดับ มากที่สุด และด้านการปฏิบัติตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP ลำไย อยู่ในระดับ มากที่สุด สำหรับข้อเสนอแนะที่อยากจะให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้านการผลิต อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านการตลาด อยู่ในระดับ มากที่สุด และด้านระบบการจัดการคุณภาพ GAP ลำไย อยู่ในระดับ มากที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดจันทบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
รายงานผลการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี เทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย การทดสอบระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยในแปลงเกษตรกรจังหวัดเชียงราย ระบบการผลิตและเกษตรดีที่เหมาะสมของชมพู่ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โครงการวิจัยแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก