สืบค้นงานวิจัย
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง
สุชาติ ผึ่งฉิมพล - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Abundance and Diversity of Benthic Fauna in the Lower Pasak River
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชาติ ผึ่งฉิมพล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ฉวีวรรณ สุขมงคลรัตน์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): benthic fauna, abundance, diversity, lower Pasak river
บทคัดย่อ: การศึกษาความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ําปBาสักตอนล่างได้ทําการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงกันยายน 2551 โดยใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินชนิด Ekman dredge ขนาด 15x15 เซนติเมตร ทําการเก็บตัวอย่าง 4 จุดสํารวจ ข้อมูลที่ได้นําไปวิเคราะห์โครงสร้างประชาคมสัตว์หน้าดิน และค่าดัชนีทางนิเวศน์วิทยา ผลการศึกษาพบสัตว์หน้าดิน 4 ไฟลัม ได้แก่ Annelida, Mollusca, Arthropoda และ Chordata จําแนกได้ 32 วงศ์ จุดสํารวจที่ 3 มีความหลากหลายของวงศ์สัตว์หน้าดินมากที่สุด เท่ากับ 25 วงศ์ และมีความหลากหลายของวงศ์สัตว์หน้าดินมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2550 เท่ากับ 22 วงศ์ ปริมาณสัตว์หน้าดินเฉลี่ย เท่ากับ 1,248±639.61 ตัวต่อตารางเมตร โดยพบว่ามีปริมาณเฉลี่ยมากที่สุดที่จุดสํารวจที่ 2 วงศ์สัตว์หน้าดินที่พเป็นชนิดเด่นคือ Thiaridae รองลงมาคือ Tubificidae สัตว์หน้าดินวงศ์ Thiaridae,Corbiculidae และ Viviparidae พบปริมาณมากในจุดสํารวจที่ 1, 2 และ 3 ส่วนสัตว์หน้าดินวงศ์ Tubificidae และ Chironomidae พบปริมาณมากในจุดสํารวจที่ 3 และ 4 ค่าดัชนีทางนิเวศน์วิทยาของประชาคมสัตว์หน้าดิน พบค่าดัชนีความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และดัชนีความเท่าเทียมมีค่าเฉลี่ย 1.39±0.10, 2.02±0.20 และ 0.63±0.04 ตามลําดับ ระดับการกระจายของประชาคมสัตว์หน้าดินตามความหลากหลายและความชุกชุมจากมากไปน้อยตามลําดับดังนี้ จุดสํารวจที่ 1, 2, 3 และ 4 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.18±0.75 โดยจุดสํารวจที่ 4 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ป;จจัยคุณภาพน้ํา ได้แก่ ความโปร่งแสง อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง ออกซิเจนละลายน้ํา คาร์บอนไดออกไซด์อิสระ ความเป็นด่าง ความกระด้าง ความนําไฟฟ้า และบีโอดี มีความเหมาะสมต่อการดํารงชีวิตของสัตว์น้ํา ส่วนแอมโมเนียมีค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Canonical Correspondence Analysis (CCA) พบว่าค่าอินทรียวัตถุในดิน ความโปร่งแสง อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง และออกซิเจนละลายน้ํา มีผลต่อการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=273
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา ความหลากหลายและการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย ความชุกชุม ความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความชุกชุม ความหลากหลาย และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 2559A17002023 ความหลากหลายของแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดินบริเวณแม่น้ำน่าน การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินกับคุณภาพน้ำในระบบนิเวศแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก