สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชัชวาล ประเสริฐ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the System of Production and Marketing of Turkey in the Upper North-Eastern Region.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัชวาล ประเสริฐ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chatchawan Prasert
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อุไร แสนคุณท้าว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Urai Saenkhunthow
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง ในพื้นที่ 11 จังหวัด จำนวน 131 ราย พ่อค้าผู้รวบรวม จำนวน 3 ราย และผู้ประกอบการร้านอาหารเมนูไก่งวง 5 ราย พบว่า เกษตรกร ส่วนใหญ่เลี้ยงไก่งวงเป็นอาชีพเสริม (ร้อยละ 90.84) เนื่องจากเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ (ร้อยละ 24.90) เป็นฟาร์มขนาดเล็กที่มีแม่พันธุ์ 6-20 ตัว (ร้อยละ 46.04) เพื่อจำหน่ายเป็นพ่อแม่พันธุ์ (ร้อยละ 50.23) ไก่งวงที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสม (ร้อยละ 54.91) เนื่องจากปล่อยให้จับคู่ผสมพันธุ์กันเอง ตามธรรมชาติ (ร้อยละ 72.52) ทั้งนี้แม่พันธุ์ไก่งวงออกไข่เฉลี่ยปีละ 3.31 ครั้งๆละ 13.83 ฟอง ฟักไข่เองตามธรรมชาติ (ร้อยละ 83.78) อัตราการฟักออกเฉลี่ยร้อยละ 78.30 อนุบาลลูกไก่งวงโดยการกกด้วยหลอดไฟฟ้าและใช้กรงกกยกพื้นสูงมุงด้วยตาข่ายป้องกันยุง (ร้อยละ80.92) โรงเรือนมีความแข็งแรงและถาวร (ร้อยละ 85.50) ภายในกั้นคอกแยกเลี้ยงตามระยะการเจริญเติบโต (ร้อยละ 54.62) บนพื้นดิน (ร้อยละ 77.22) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารเพียงพอกับความต้องการ (ร้อยละ 97.71) และมีพื้นที่สำหรับปล่อยเลี้ยง (ร้อยละ 95.42) ให้กินอาหารข้นเป็นหลักแล้วเสริมด้วยพืชอาหารสัตว์ในท้องถิ่น (ร้อยละ 41.24) โดยการผสมอาหารข้นใช้เอง (ร้อยละ 60.70) วัตถุดิบอาหารสัตว์ซื้อจากนอกฟาร์ม (ร้อยละ 56.58) โดยเฉพาะรำข้าว (ร้อยละ 56.04) ใช้น้ำจากบ่อบาดาล (ร้อยละ 49.65) เลี้ยงไก่งวงร่วมกับสัตว์ปีกอื่นๆ (ร้อยละ 71.76) เมื่อนำสัตว์ปีกเข้าฟาร์มทำการกักโรคก่อน (ร้อยละ 62.60) ทำวัคซีนตามโปรแกรม (ร้อยละ 48.08) เมื่อสัตว์ป่วยรักษาด้วยตนเอง (ร้อยละ 87.50) โดยใช้ยาปฏิชีวนะ (ร้อยละ 65.96) ทำการถ่ายพยาธิเป็นประจำ (ร้อยละ 73.28) เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตไข่ 4.80 บาท/ฟอง ลูกไก่แรกเกิด-8 สัปดาห์ 89.88 บาท/ตัว ลูกไก่อายุ 9-28 สัปดาห์ 231.43 บาท/ตัว และพ่อแม่พันธุ์ 535.78 บาท/ตัว ส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารสัตว์ (ร้อยละ 45.49) ในขณะที่ได้รับผลตอบแทน จากการจำหน่ายไข่ 15.63 บาท/ฟอง ลูกไก่แรกเกิด-4 สัปดาห์ 90.80 บาท/ตัว ลูกไก่อายุ 5-12 สัปดาห์ 189.91 บาท/ตัว ลูกไก่อายุ 13-28 สัปดาห์ 325.39 บาท/ตัว พ่อพันธุ์ 158.04 บาท/กก. แม่พันธุ์ 156.81 บาท/กก. และไก่ขุนเพื่อจำหน่ายเนื้อ 151.36 บาท/กก. โดยจำหน่ายเป็นไก่มีชีวิต (ร้อยละ 95.28) ให้กับผู้บริโภคในชุมชน (ร้อยละ 48.60) ทั้งนี้เกษตรกรประสบปัญหาการผสมเลือดชิดภายในฟาร์ม (ร้อยละ 43.30) วัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาแพง (ร้อยละ 40.76) ขาดความรู้ด้านการสุขาภิบาลและการป้องกันโรคสัตว์ (ร้อยละ 59.20) ขาดการวางแผนการผลิต (ร้อยละ 50.47) ระบบการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นตลาดที่มีการซื้อขายกันเอง ในชุมชน เกษตรกรผู้ผลิตสามารถตั้งราคาขายได้เอง โดยเกษตรกรผู้ผลิตหันมาประกอบอาชีพเสริมเป็นพ่อค้าผู้รวบรวม ทำการรับซื้อไม่จำกัดปริมาณ ในราคาหน้าฟาร์มเท่ากันกับที่ตนเองจำหน่ายให้ลูกค้า จึงทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง พร้อมให้บริการชำแหละสดในอัตราค่าบริการตัวละ 50-100 บาท ในขณะที่ผู้ประกอบการร้านอาหารส่วนใหญ่ให้บริการอาหารไก่งวงเป็นเมนูเสริมพิเศษ ประเภทอาหารท้องถิ่น เพื่อตอบสนองผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าจร โดยมีความต้องการเฉลี่ยสัปดาห์ละ 7.80 ตัว ทั้งนี้เมื่อไก่งวง ออกจากฟาร์มเกษตรกรไปจนถึงมือผู้บริโภค เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 97.50 ในขณะที่พ่อค้าผู้รวบรวมมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 2.50 แต่มีต้นทุนการตลาดร้อยละ 6.10 ของราคาขายปลีก สำหรับวิถีการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเริ่มจากเกษตรกรผู้ผลิตจำหน่ายไก่มีชีวิตให้กับผู้บริโภคในชุมชน ร้อยละ 48.60 เพื่อนเกษตรกร ร้อยละ 24.58 พ่อค้าผู้รวบรวมในภูมิภาค ร้อยละ 16.21 และพ่อค้าผู้รวบรวมจากต่างภูมิภาค ร้อยละ 2.23 ในขณะที่พ่อค้าออกตระเวนรับซื้อไก่งวงมีชีวิต มารวบรวมไว้ก่อนจำหน่ายทั้งในรูปแบบไก่มีชีวิตและไก่ชำแหละสด ให้กับเกษตรกรไปเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ ร้อยละ 37.50 ผู้บริโภคในชุมชน ร้อยละ 37.50 และผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้อยละ 25 ซึ่งนำไปแปรรูปเป็นเมนูอาหารจำหน่ายให้กับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าจร ร้อยละ 60 และผู้บริโภคในท้องถิ่นร้อยละ 40
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to study on the system of production and marketing turkey in the upper north-eastern region consisting eleven provinces. Questionnaire was used in this study; in addition, 131 farmers raising turkeys, 3 middlemen and 5 food shop owners selling turkey for food were interviewed. It has been found that majority of the farmers raising turkey was their sideline 90.84%. They reared turkey on a small farm with 6-20 brood hens 46.04%. Most of the breed was crossbreed of 54.91%. Breeding was done by allowing the mating of brood hen and tom naturally on a farm, 72.52%. Brood hens lay eggs at the average of 3.31 times a year, 13.83 eggs per times natural hatching of 83.78% with the average hatching rate of 78.30%. Prior to placement, the brooder house was hanged with lamp; the floor was raised and surrounded with screen for protection, 80.92%. The poults were separated according to their stage of growth 54.62% with an area allowing them to pasture 95.42%, fed with concentrate feeds added with local feed plants 41.24%, mixed concentrate feeds prepared by the farmer himself 60.70%. Animal feeds ingredients were purchased outside the farm from animal feed supply farmer market 56.58% particularly rice bran 56.04%, underground water was used for watering 49.65%. Raised turkey with other poultry 71.76% were brought to be raised on the farm, they were quarantined not less than 15 days 62.60 %. Vaccination was administered following the program 48.08%. When the animals get sick, the farmers treated by themselves 87.50% by using antibiotic 65.96%, deworming was done regularly 73.28%. The farmers had the capital for egg production 4.80 baht per egg. Turkey poults at the early age to 8 weeks were sold at 89.88 baht per head, for 9-28 weeks 231.43 baht per head, for brood hen and tom 535.78 baht per head. Mostly was for feeds cost 45.49% so as they earned from selling eggs 15.63 baht per egg, poults at the early age to 4 weeks 90.80 baht per head, for poults aged 5-12 weeks were sold at 189.81 baht per head, 13-28 weeks for 325.39 baht per head, toms 158.04 per kilo, brood hens 156.81 baht per kilo and for feedlot turkey meat 151.36 baht per kilo, for lived turkey 95.28%, and sold to the consumers in the community 48.60%. The farmers encountered problems inbreeding on the farm 43.30%. The feed ingredients were costly 40.76%, lack of knowledge on sanitation and animal disease protection 59.20%, and lack of planning production 50.47%. Marketing turkey system in the upper north-eastern region is a market where there is buying and selling in the community. Farmer producers set up the price by themselves besides they turned to be trader collectors as their sideline. They purchased at unlimited amount at the farm price equals to the price they sold to the customers, thus made the transportation expenses high together with giving services for the dissection at the rate of 50-100 baht each. While majority of the restaurant food dealers offered turkey recipes as special local food to the consumers who were passer- by customers with necessity at the average 7.80 each per week, so as when the turkey transported from the farm to the consumers, farmers had a high market share 97.50 %, while the share of the market traders got only 2.50 %, but with marketing costs 6.10% of the retail price. For the marketing channels for turkeys in the upper north-eastern region started from the producer farmers sold lived turkey to the consumers in the community at 48.60%, and for the farmers 24.58 %, trader collectors in the region 16.21% and trader collectors from different regions 2.23 %, while the traders bought lived turkeys and were collected before selling, both lived and dissected ones were led to farmers for breeding in 37.50%, and restaurant food dealers 25%, which led to be processed as food recipe sold to consumers as passer-by customers 60% and local consumers 40%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
เอกสารแนบ: https://tnrr.nriis.go.th/pdf_file/46b44c1e0_440052.pdf
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก