สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2547
สมเจตน์ เลขะวัฒนะ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2547
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมเจตน์ เลขะวัฒนะ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง การจำหน่าย ปัญหา และข้อเสนอแนะในการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเหลือง ปี 2547/2548 จำนวน 1,544 ราย ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematie Sampling : SYS) คัดเลือกจำนวนตัวอย่าง ร้อยละ 10 ได้จำนวนตัวอย่าง 154 ราย การจัดเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยเครื่อง Computer โปรแกรม SPSS for Windows ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยสูงสุด ต่ำสุด ในการสรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง ร้อยละ 89.61 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.14 ปี ร้อยละ 98.70 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.9 คน มีแรงงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 3.71 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 38.71 ไร่ต่อครัวเรือน เกษตรกรร้อยละ 80.51 มีที่ดินเป็นของตนเอง เกษตรกรร้อยละ 33.33 มีที่ดินทำนา และทำไร่ ต่ำว่า 10 ไร่ เกษตรกรบางรายต้องเช่าที่ดินเพิ่ม เกษตรกรร้อยละ 48.70 ทำการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ร้อยละ 42.21 เลี้ยงโค ร้อยละ 48.57 เลี้ยง 6-10 ตัว เกษตรกรมีเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรมากกว่า 1 ชนิด โดยเกษตรกรร้อยละ 87.66 มีรถไทยแลนด์ร้อยละ 85.71 มีเครื่องสูบน้ำ ร้อยละ 61.69 มีเครื่องพ่นยาชนิดคันโยก ร้อยละ 92.21 เป็นสมาชิกกลุ่ม ธกส. และเกษตรกรเป็นสมาชิกมากกว่า 1 กลุ่ม เกษตรกรร้อยละ 56.49 มีประสบการณ์ในการปลูกถั่วเหลือง 11-15 ปี มีพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง 6-10 ไร่ ซึ่งเหมาะสมกับแรงงานในครอบครัว เกษตรกรร้อยละ 79.87 ปลูกถั่วเหลืองช่วงเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นสภาพไร่ และให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 215 กก./ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกถั่วเหลืองในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม เกษตรกรร้อยละ 49.20 ไม่ทำการเตรียมดินก่อนปลูก เกษตรกรร้อยละ 96.65 ไม่มีการเก็บตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ เกษตรกรร้อยละ 50.30 ได้รับความรู้เรื่องการปลูกถั่วเหลืองจากเพื่อนบ้านซึ่งปฏิบัติต่อเนื่องกันมา อาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เกษตรกรร้อยละ 70.13 อาศัยน้ำฝนในการผลิตถั่วเหลืองซึ่งบางครั้งฝนทิ้งช่วงทำให้ผลผลิตต่ำ ควรได้มีการศึกษาว่า การปลูกถั่วเหลืองในช่วงกลางฤดูฝน ช่วงเดือนใดจะให้ผลผลิตและคุณภาพดีที่สุด คุ้มกับการลงทุน เกษตรกรร้อยละ 53.90 ไม่เคยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองของทางราชการ เกษตรกรร้อยละ 46.75 ใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตถั่วเหลือง เกษตรกรร้อยละ 83.09 ทำการปลูกอื่น ๆ ก่อนปลูกถั่วเหลือง เช่น ข้าวโพด, ข้าวนาปี เกษตรกรร้อยละ 49.35 ใช้พันธุ์เชียงใหม่ 60 ปลูกและเกษตรกรร้อยละ 41.56 ใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่า 21 กก./ไร่ ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไปด้วย อีกทั้งเกษตรกรร้อยละ 73.38 ปลูกโดยวิธีหว่าน ซึ่งใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์มากเกินความจำเป็น เกษตรกรร้อยละ 64.29 รู้จักเชื้อไรโซเบี่ยม แต่มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 38.96 ไม่เคยใช้ไรโซเบี่ยม อาจเป็นเพราะหาซื้อไม่ได้ในท้องถิ่น เกษตรกรร้อยละ 88.96 ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต ร้อยละ 62.23 ไม่ทำการกำจัดวัชพืช และร้อยละ 41.56 ทำการพ่นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูถั่วเหลือง และไม่มีการตรวจนับแมลงก่อนพ่นสารเคมี เกษตรกรร้อยละ 94.81 ใช้แรงงานคนเก็บเกี่ยว ร้อยละ 82.96 ใช้เครื่องจักรกลในการนวด ร้อยละ 88.96 ไม่มีการคัดแยกเมล็ดก่อนจำหน่าย ร้อยละ 48.05 จำหน่ายถั่วเหลืองให้แก่พ่อค้าท้องถิ่น เกษตรกรร้อยละ 94.15 จำหน่ายถั่วเหลืองได้ในราคา 9.01-12 บาท เกษตรกรร้อยละ 98.05 มีปัญหาเรื่องสารเคมีและปุ๋ยเคมีแพง ร้อยละ 93.51 มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิต ร้อยละ 92.21 มีปัญหาเรื่องแหล่งจำหน่ายเชื้อไรโซเบี่ยม ร้อยละ 77.92 มีปัญหาเรื่องผลผลิตต่ำ ร้อยละ 75.32 มีปัญหาเรื่องการเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ ร้อยละ 55.84 มีปัญหาเรื่องแรงงานเก็บเกี่ยว ร้อยละ 64.94 มีปัญหาเรื่องแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ดี ร้อยละ 21.43 มีปัญหาเรื่องการรวมกลุ่มซื้อปัจจัยการผลิต ร้อยละ 11.69 มีปัญหาเรื่องเงินทุนในการผลิต และเกษตรกรร้อยละ 9.74 มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูถั่วเหลือง ซึ่งเกษตรกรร้อยละ 91.56 เสนอให้ทางราชการสนับสนุนเครื่องเกี่ยวนวด ร้อยละ 98.05 เสนอให้สนับสนุนเครื่องคัดเมล็ดและเกษตรกรร้อยละ 38.96 เสนอให้ทางราชการสนับสนุนการประกันราคาขั้นต่ำ จากการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ ส่งเสริมให้ความรู้ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มซื้อปัจจัยการผลิต เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง จัดให้มีการเชื่อมโนงการตลาดระหว่างผู้ผลิตและโรงงานอุตสาหกรรมและภาครัฐ ต้องทำการศึกษาวิจัยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เฉพาะถิ่น รวมทั้งการศึกษาวิจัยต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้มีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตถั่วเหลืองในท้องถิ่น และสนับสนุนให้จัดตั้งกองทุนเพื่อการผลิตระดับหมู่บ้าน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดอุตรดิตถ์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2547
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดแพร่ สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งของเกษตรกรอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ปีเพาะปลูก 2546/2547 สภาพการผลิตถั่วเหลืองปี 2546 /2547 ของเกษตรกรตำบลกุดเลาะ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ สถานการณ์การผลิตและการตลาดถั่วเหลือง ปี 2527 การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก