สืบค้นงานวิจัย
ผลของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิตในอ้อยตอ1
เศวตฉัตร เศษโถ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิตในอ้อยตอ1
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of mixed cultivar planting on yield in 1st ratoon crop
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เศวตฉัตร เศษโถ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sawettachat Set-tow
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: อ้อยเป็นพืชปลูกเชิงเดี่ยวทำให้ต้องปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่องโดยไม่ปลูกพืชชนิดอื่นรวมทั ้งยังใช้เวลา เพาะปลูกยาวนานซึ่งครอบคลุมไปถึงอ้อยตอ แนวคิดการปลูกอ้อยหลายพันธุ์ร่วมกันในแปลงอาจเป็นอีกหนึ่งหนทางสำหรับการพัฒนาผลผลิตอ้อยให้เพิ่มสูงขึ ้นในอ้อยตอ โดยการอาศัยการแข่งขันของสายพันธุ์ที่มีความ แตกต่างในการเจริญเติบโต ดังนั้นการทดลองนี ้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิต ภายใต้ระบบปลูกอ้อยข้ามแล้ง ปลูกทดสอบคู่พันธุ์ผสมจำนวน 10 คู่พันธุ์ เปรียบเทียบกับการปลูกอ้อยพันธุ์เดี่ยวอีก 5 พันธุ์ รวมเป็น 15 กรรมวิธี พันธุ์ที่ใช้ประกอบด้วย KK3, Kps01-12, KKU99-02, MP02-458 และ UT-13 ที่หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือนมกราคม 2559 ถึง มกราคม 2560 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อกจำนวน 3 ซ้ำ ตรวจวัดข้อมูล ที่อายุ 12 เดือน ได้แก่ ผลผลิต เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ค่าซี.ซี.เอส และองค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ จำนวนลำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำ และความยาวลำ พบว่าทุกลักษณะที่ตรวจวัดมีความแตกต่างระหว่างการปลูกร่วมพันธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อประเมินการปลูกร่วมกันของคู่พันธุ์พบว่าคู่พันธุ์ KK3 กับ KKU99-02, KK3 กับ Kps01-12 และ UT-13 กับ KKU99-02 ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกร่วมกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าพันธุ์ที่มีทรงกอแคบควรปลูกผสมกับพันธุ์ที่มีทรงกอปานกลางหรือทรงกอกว้างจึงจะสามารถให้ผลผลิตอ้อยสูง การปลูกแบบผสมทำให้ลักษณะของทรงกอของทั ้งสองพันธุ์เกิดการแข่งขันในเชิงบวกส่งเสริมให้ความยาวลำและจำนวนลำเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังทำให้เปอร์เซ็นต์บริกซ์และค่าซีซีเอสสูงตามไปด้วย
บทคัดย่อ (EN): Sugarcane is a monoculture plant that requires continuous sugarcane cultivation without growing other crops and also takes a long cultivation period, which extends to ratoon crop. Accordingly, the concept of growing many cane varieties all together in the same plot may be another way for the development of sugarcane production to increase ratooning ability. The development that relying on the competition of species that are different in growth. The objective of this experiment was to investigate the response of mixed two common sugarcane cultivars on yield under rainfed condition in ratoon crop. The sugar canes were tested by planting 10 pairs mixed cultivar compared with 5 single cultivars of sugarcane cultivation, a total of 15 treatments. The two mixed cultivars combination consists of KK3, Kps01-12, KKU99-02, MP02-458, and UT-13. The experiment was carried out at the Agronomy Research Station, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University during January 2016 to January 2017. This investigation was laid out in RCBD with 3 replications. At 12 months after harvest, the data were collected including yield, CCS, brix, and yield components (millable cane, stalk diameter, and stalk length). The results showed that yield, C.C.S., brix, and yield components were significantly different between two mixed cultivars planting compared to single cultivar. The mixed cultivar between KK3 vs KKU99-02, KK3 vs Kps01-12 and UT-13 vs KKU99-02 had provided high cane yield. Moreover, the cultivars that have narrow canopy should be planted with mixed varieties that have had a moderate or wide-canopy shape so wide it can provide high yield. Mixed planting resulted in positive competition, increased length and number of sugarcanes, and improved brix value and CCS. Furthermore, it also makes the brix and CCS directly higher as well.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=10_174_61.1.pdf&id=3939&keeptrack=6
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิตในอ้อยตอ1
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว เสถียรภาพผลผลิตของพันธุ์พริกกะเหรี่ยงพันธุ์คีรีราษฎร์ ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum) ผลของปุ๋ยมูลไก่ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าปักกิ่ง ผลของระดับของการให้นํ้าชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าหวาน สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารในผลผลิตต่อคุณภาพผลผลิตของส้มโอพันธุ์มณีอีสาน ศึกษาพันธุ์ปรงเพื่อการขยายพันธุ์ และการอนุรักษ์พันธุ์พืช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก