สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน
ชยาพร วัฒนศิริ, ภวัต เจียมจิณณวัตร, หฤษฏี ภัทรดิลก, ชัยวัฒน์ คงสม - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Organic Agriculture by Community
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลประสบการณ์ที่สำเร็จของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ซึ่งรวมกลุ่มผลิตข้าวและผักอินทรีย์ด้วยความต้องการของชุมชนและดำเนินกิจกรรมกลุ่มแบบวิถีชุมชน เพื่อสังเคราะห์ต้นแบบเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน สำหรับเผยแพร่ให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และชุมชนต่าง ๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมให้มีความเข้มแข็งต่อไป โดยเลือกศึกษากลุ่มตัวแทนเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ กลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มเกษตรอินทรีย์ จังหวัดพัทลุง และเกษตรอินทรีย์แม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้การสัมมนาแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิคการสัมมนาแบบเจาะกลุ่มและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ ต้นแบบเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน และแนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ผลการศึกษาพบว่า ต้นแบบเกษตรอินทรีย์มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การจัดการผลิตเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน และการจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน โดยการจัดการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จควรมีการจัดการประกอบด้วย วางแผน ดำเนินการผลิต ติดตามและประเมินผล สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานเฉพาะ การจัดการผลิตจึงควรจัดการตรวจสอบตามข้อกำหนด ส่วนการจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์ สมาชิกกลุ่มควรกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน จัดกิจกรรมร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน โดยเอื้ออาทรระหว่างกัน ภายใต้การบริหารจัดการของผู้นำ แกนนำ หรือคณะกรรมการที่มีคุณภาพ นอกจากนั้นกลุ่มเกษตรอินทรีย์สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าและยั่งยืนได้ ควรประสานเครือข่ายกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์อื่น ๆ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีการสร้างเครือข่ายประกอบด้วย 5 ขั้นตอน เริ่มด้วยการพบปะสนทนาหรือการเสวนาอย่างไม่เป็นทางการ ประชุมร่วมกัน จากนั้นจึงจัดทำแผนกิจกรรมร่วมกัน ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน และประเมินผลร่วมกัน และเพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ให้เข้มแข็งและยั่งยืนด้วยวิถีชุมชนได้ เครือข่ายควรจัดกิจกรรมสำคัญ โดยจัดโครงสร้างการบริหารเครือข่าย จัดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเครือข่าย กำหนดมาตรฐานการผลิตอินทรีย์ของเครือข่าย พัฒนาระบบการให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียนร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เกษตรอินทรีย์จึงจะสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนด้วยวิถีชุมชน คำสำคัญ : เกษตรอินทรีย์ ต้นแบบเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชน เครือข่ายเกษตรอินทรีย์
บทคัดย่อ (EN): The study of Development of Community-Based Organic Agriculture is a qualitative research by collecting the data of successful experiences of farmer groups that produce organic rice and vegetables on community-based farming in different regions. This study aims to synthesize and then summarize learned lessons from those organic farmers, groups, and communities in order to develop a model of community-based organic farming and their community-based organic farming network for distributing to small-scale farmers, farmer groups and organizations, and communities, as well as concerned government and non-government organizations. It is expected that other farmers, farmers groups and communities will further examine and then apply the model to strengthen themselves. This study uses the samples of successful community-based organic farming including Sanamchaiket Organic Farmer Group in Chachoengsao province, Pattalung Organic Farmer Group in Pattalung province, and Mae Tha Organic Farmer Group in Mae-On district, Chiangmai province for collecting primary and secondary data. Participatory seminar is employed by using both focus group and in-depth interview techniques. Collected data is then analyzed and synthesized to develop the community-based organic farming model and network establishment and development. The result of this study shows that the community-based organic farming model has 2 main components: community-based organic production and community-based organic farmer group management. The successful community-based organic production required proper management, including data analyzing, production planning, monitoring and evaluation, producing and inspecting according to organic standard. For community-based organic farmer group management, the group members always seek mutual objectives, encourage cooperative and learning activities, and subsequently facilitate caring culture among group members through core leader management. Organic farming network is developed through 5 steps: informal meeting with core leaders, interest group meeting, participatory planning meeting, mutual activity implementing, participatory monitoring and evaluation meeting. In order to strengthen and sustain organic farming network based on local ways of life, the important activities are suggested for an organic farming network: setting up an administrative structure; setting up learning centers in member communities; developing its own organic standard; developing a communication system for information, knowledge, and wisdom dissemination; organizing periodical sharing and learning activities among members; and drawing learned lessons periodically. Key words: Organic Agriculture, Community-Based Organic Farming Model, Organic Farming Network
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
30 กันยายน 2553
การพัฒนาต้นแบบหลักสูตรเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการศึกษาทางไกล กระบวนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  และการบูรณาการสร้างและพัฒนาระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ แผนงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ แนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สาธิตการจัดการฟาร์มระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 1 ไร่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มวิจัยพริกเพื่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน ประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาแกนนำเกษตรกรและยุวเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2552 (เกษตรอินทรีย์ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาเทคโนโลยีการบังคับดอกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียในระบบเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก