สืบค้นงานวิจัย
การใช้ประโยชน์จากใบมะรุมเป็นอาหาร ไก่ไข่ และไก่เนื้อ
ณิฐิมา เฉลิมแสน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์จากใบมะรุมเป็นอาหาร ไก่ไข่ และไก่เนื้อ
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of Moringa (Moringa oleifera Lam.) Leaves as Layer and Broiler Feeds.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณิฐิมา เฉลิมแสน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบมะรุมเป็นอาหารไก่ไข่ และไก่เนื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณค่าทางโภชนะของใบมะรุม และระดับที่เหมาะสมของการใช้ใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ และไก่เนื้อ โดยแบ่งเป็น 4 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 และ 2 เป็นการประเมินคุณค่าทางโภชนะของใบ มะรุมในไก่ไข่ และไก่เนื้อตามลำดับโดยเปรียบเทียบกับใบกระถินที่มีองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกัน ใช้ไก่ไข่อายุ 40 สัปดาห์ จำนวน 30 ตัว (การทดลองที่ 1) และใช้ไก่เนื้ออายุ 3 สัปดาห์ เพศผู้ และ เพศเมียอย่างละ 15 ตัว (การทดลองที่ 2) การทดลองแบ่งเป็น 3 กลุ่มๆละ 10 ตัว สุ่มไก่แต่ละตัวให้ ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งมัน (ใช้หา endogenous nitrogen) ใบกระถินแห้งปัน และใบ มะรุมแห้งปน เลี้ยงไก่ทดลองบนกรงเดี่ยวที่มีถาดรองรับสิ่งขับถ่าย บันทึกน้ำหนักอาหารที่กิน และสิ่ง ขับถ่าย เก็บตัวอย่างอาหารและสิ่งขับถ่ายมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและพลังงาน นำข้อมูลที่ ได้มาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะและพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของใบมะรุม และใบกระถิน วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ T-test comparison ผลการทดลอง ในการทดลองที่ 1 ที่ศึกษาในไก่ไข่ปรากฏว่า เปอร์เซ็นต์การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ ได้แก่ วัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ โปรตีน ไขมัน เยื่อใย ไนโตรเจนฟรีเอ็กแทรกซ์ และพลังงาน รวมทั้งพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของใบ มะรุม และใบกระถินในไก่ไข่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ส่วนการทดลองที่ 2 ในไก่เนื้อปรากฎ ว่าใบมะรุมมีเปอร์เซ็นต์การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ ได้แก่ วัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ โปรตีน เยื่อใย ไนโตรเจนฟรีเอ็กแทรกซ์ และพลังงานสูงกว่าใบกระถิน (P0.05) นอกจากนี้พลังงานที่ใช้ ประโยชน์ได้ของใบมะรุมก็มีค่าสูงกว่าใบกระถิน (P0.05) อย่างไรก็ตามพบว่าไก่ที่ได้รับอาหารผสมใบมะรุมมีการกิน อาหารในปริมาณต่ำกว่าไก่ที่กินอาหารที่ไม่มีการผสมใบมะรุม (P0.05) ส่วนแลคติกแอซิค แบคทีเรียในมูลไก่ที่กินอาหารผสมใบมะรุม 8 เปอร์เซ็นต์มีจำนวนสูงกว่ากลุ่มอื่น (P0.05) ยกเว้น อัตราการรอดชีวิตที่พบว่ไก่ที่กินอาหารผสมใบมะรุม 0 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการรอดชีวิตสูงที่สุด (P 0.05) ยกเว้นเนื้ออก และเนื้อสันในของ ไก่ที่กินอาหารผสมใบมะรุม 6 และ 8 เปอร์เซ็นต์ มีค่าความเป็นสีเหลือง (๖") มากกว่ากลุ่มอื่น (P0.05) ในทำนอง เดียวกัน ความสูงของวิลไลในลำไส้เล็กของไก่ทุกกลุ่มก็ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของตับไก่ทดลองในทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน ดังนั้นใบมะรุมจึงเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดใหม่ในการผลิตอาหารสำหรับไก่ไข่ และไก่เนื้อ ได้โดยสามารถใช้ได้ถึง 8 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร
บทคัดย่อ (EN): The aims of this research were to evaluate the nutritive values of moringa leaf meal and to fine out suitable level in layer and broiler diets. There were 4 experiments in this research. First and second experiments, to evaluate the nutritive values of moringa leaf meal compared with luecaena leaf meal (chemical compositions of 2 types were similar) in layers and broiler were conducted to use moringa leaf meal as layer and broiler chicken feed ingredient. For layers thirty of forty weeks age birds were divided into 3 groups, 10 birds of each group and for broilers thirty of three weeks age chickens were divided into 3 groups, 10 birds (5 males, 5 females) of each group. Groups of the chicken were randomly fed by experimental diets that composed with cassava powder (for endogenous nitrogen analysis), moringa leaf meal and luecaena leaf meal. The chicken was raised individually in metabolic cage, where feed and water were provided ad libitum, and recorded feed intake and feces weight. Experimental diets and excreta were sampling to have proximate analysis for chemical compositions and gross energy. T-test comparison was used for statistical analysis. The results indicated that, In layer, there were no statistical difference (P>0.05) between the nutrients utilization (utilization percentage of dry matter, organic matter, protein, fate, crude fiber, nitrogen free extract, energy and metabolizable energy) of moringa leaf meal and luecaena leaf meal. However, in broilers the nutrients utilization of moringa leaf meal (utilization percentage of dry matter, organic matter, protein, crude fiber, nitrogen free extract, energy and metabolizable energy) were higher than luecaena Leaf meal. (P0.05) between moringa leaf meal and luecaena leaf meal in utilization percentage of ether extract. Therefore, moringa leaf meal is one of feedstuffs for farmer to use in broiler diet production. Third experiment was to investigate the suitable percentage of moringa leaf meal in layer diets. Randomized complete block design was used in this experiment. One hundred and eighty of 38 weeks of age Isa-brown breed layers were divided into 20 groups of 4 rows, 9 birds of each group. The group in each row was randomly assigned to 5 treatments: 0, 2, 4, 6 and 8 % of moringa leaf meal in diets respectively. All birds were placed in separate pen where feed and water were provided ad libitum. There were 5 periods (28 days per period) to collect data of egg production, egg quality. In the last period, the excreta of each group were collected to determine number of microorganism (total plate count, coliform, salmonella and lactic acid bacteria). The results showed that, there were no statistical difference among 5 groups on egg production (hen day and hen house percentage), feed conversion ratio, feed cost per 1 kilogram of egg and egg quality (P>0.05), except daily feed intake of layers fed in dietary mixed moringa leaf meal lower than control. However, the color of egg yolk of layers fed in dietary 6 and 8 % of moringa leaf meal were higher values than the other groups (P0.05), except survival rate of birds were fed by dietary 0 % of moringa leaf meal was higher than the other groups (P0.05), except the breast meat and filet of chicken fed in dietary 6 and 8 % of moringa leaf meal group differed significantly in yellowness (b*) with higher values than the other groups (P<0.01). Besides, there were no statistical differences among 5 groups on number of microorganism in excreta (total plate count, coliform, salmonella and lactic acid bacteria) and on the villi height. By the way, the livers of 5 groups were no differences in morphological change. Thus, supplementation of 8 % of moringa leaf meal in layer and broiler diets can improve broiler health that is the one way to produce organic layer and broilers later.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ประโยชน์จากใบมะรุมเป็นอาหาร ไก่ไข่ และไก่เนื้อ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2555
2555A17002056 การใช้ประโยชน์จากใบมะรุมเป็นอาหาร ไก่ไข่ และไก่เนื้อ ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ การผลิตข้าวโพดดัดแปลงโปรตีนสูงด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบโปรตีนในอาหารไก่เนื้อและไก่ไข่ การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้ในอาหารไก่เนื้อ ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่ไข่ การใช้ถั่วลิสงนาป่นระดับต่างๆในอาหารไก่ไข่ คุณค่าทางโภชนะและการใช้ใบถั่วท่าพระสไตโลในไก่ไข่ การศึกษาคุณสมบัติและความรุนแรงของเชื้อไวรัสโลหิตจางติดต่อในไก่ในไก่เนื้อ การใช้ใบมะรุมในอาหารนกกระทาไข่ การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่ไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก