สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาชุดทดสอบโปรตีนที่ละลายน้ำสำหรับยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา
สายรุ้ง อวยพรกชกร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดทดสอบโปรตีนที่ละลายน้ำสำหรับยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สายรุ้ง อวยพรกชกร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โปรตีนเป็นองค์ประกอบหนึ่งอยู่ในน้ำยางธรรมชาติสามารถก่อให้เกิดการแพ้ต่อผู้ใช้ได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จังศึกษาปริมาณโปรตีนในน้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ยางพารา มักวิเคราะห์หาปริมาณไนโตรเจนรวมโดยเทคนิคเจลดาร์ล ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ในน้ำยางข้น ดังนั้นในที่นี้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนในตัวอย่างเหล่านี้ด้วยวิธีโมดฟายด์ลาวรี โดยโปรตีนจากน้ำยางที่ละลายได้ทำปฏิกิริยากับสารละลายคอปเปอร์ (II) และฟอลินซิโอแคลตูรีเอเจนต์เกิดเป็นสารประกอบสีน้ำเงิน แล้วทำการตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 745 นาโนเมตร ในงานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการสกัดโดยการแช่ในตัวทำละลาย คลื่นความถี่สูง และไมโครเวฟและพบว่า เทคนิคไมโครเวฟเป็นเทคนิคที่เหมาะสมที่สุด โดยศึกษาชนิดของตัวสกัดโปรตีน กำลังไฟฟ้าของเครื่องไมโครเวฟในครัวเรือน และระยะเวลา โปรตีนจากน้ำยางถูกสกัดได้ดีด้วยสารละลายสกัดได้ดีด้วยสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาลีนเข้มข้น 2.5 เท่า จำนวน 5 มิลลิลิตร และใช้เทคนิคไมโครเวฟ ที่กำลังไฟฟ้า 560 วัตต์ เป็นเวลา 60 นาทีทำให้หาปริมาณโปรตีนในยางพาราและถุงมือยาง เท่ากับ 2.59 และ 0.42 มิลลิกรัมต่อกรัมตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาชุดทดสอบโปรตีนที่ละลายน้ำสำหรับยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
2558
การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การพัฒนาชุดทดสอบคุณภาพของน้ำยางพาราด้วยเครือข่ายเซนเซอร์ ไร้สาย โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา การศึกษาวิจัยแนวทางการพัฒนายางพาราจังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาการใช้อัตราที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตของยางพาราบนชุดดินระนองในจังหวัดชุมพร โครงการ ต้นแบบการทำผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่ใช้ทางทันตกรรมจัดฟัน ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก