สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
อภิวัฒน์ จงเรียน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อภิวัฒน์ จงเรียน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ สภาพการผลิต ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 121 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่ทำการศึกษาส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.8 ปี ส่วนใหญ่จบประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.9 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.3 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 5.2 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ทั้งหมดประกอบอาชีพหลักทำนา ส่วนมากประกอบอาชีพรองเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 14.3 ไร่ รายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 14,643.7 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 22,206.9 บาท ร้อยละ 56.2 กู้ยืมเงินเพื่อทำนา ร้อยละ 51.5 กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากเพื่อนบ้านและญาติ และไม่เคยรับการฝึกอบรม มีพื้นที่นาเฉลี่ย 13.2 ไร่ ส่วนใหญ่ทำนาช่วงเดือนพฤษภาคม มากกว่าครึ่งหนึ่งปลูกข้าวเหนียว และเก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง ส่วนใหญ่ทำนาหว่านข้าวแห้ง อัตราเมล็ดพันธุ์นาดำเฉลี่ย 2.3 กิโลกรัม ต่อไร่ อัตราเมล็ดพันธุ์นาหว่านเฉลี่ย 14.8 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 45.5 ดินนาเป็นดินทราย ร้อยละ 48.8 สภาพพื้นที่ทำนาเป็นที่ดอนและที่ลุ่ม เตรียมดินเฉลี่ย 2 ครั้ง ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้เฉลี่ย 441.1 กิโลกรัม ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีหลังหว่านข้าว 30 วัน และใช้ปุ๋ยแต่งหน้า ส่วนใหญ่สามารถควบคุมระดับน้ำในนาได้ ไม่พบการระบาดของโรค เกษตรกรทุกรายไม่มีการป้องกันกำจัดแมลง ร้อยละ 52.1 พบการระบาดของปูนา ส่วนใหญ่กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคนเพียงอย่างเดียว มีการเตรียมเครื่องมือก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว มีการระบายน้ำออกจากแปลงก่อนการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน ทราบผลการเก็บเกี่ยวข้าวเร็วหรือช้าเกินไป เก็บเกี่ยวข้าวในเดือนพฤศจิกายน ตากข้าวนาน 3 วัน นวดข้าวโดยใช้รถนวดข้าว ทั้งหมดทำความสะอาดข้าวก่อนการจำหน่ายหรือเก็บรักษา ส่วนใหญ่เก็บรักษาโดยเก็บเป็นกองในยุ้งฉาง มีการแยกเก็บรักษาข้าวเปลือกกับข้าวที่ใช้ทำพันธุ์ ผลผลิตข้าวเปลือกที่ได้เฉลี่ย 4,011.1 กิโลกรัม ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 353.9 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 58.7 ขายข้าวเปลือกที่โรงสีใกล้บ้าน ราคาขายข้าวเปลือกเฉลี่ย 4 บาท รายได้จากการจำหน่ายข้าวเปลือกเฉลี่ย 10,924.7 บาท ปัญหาการผลิตข้าวของเกษตรกรได้แก่ขาดเงินทุน ขาดแรงงาน ราคาผลผลิตต่ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดความรู้ประสบการณ์ ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ ขาดเมล็ดพันธุ์ดีขาดแหล่งน้ำ และตลาดจำหน่ายผลผลิตอยู่ไกล ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกรกิ่งอำเภอ ลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในอำเภอคอนสวรรค์จังหวัดชัยภูมิ ปี 2549 การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร สถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก