สืบค้นงานวิจัย
การใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่าเป็นสารดึงดูดการกินอาหารที่ใช้พืชเป็นแหล่งโปรตีนหลัก สำหรับเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) และกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)
สกนธ์ แสงประดับ, พิเชต พลายเพชร, ปิยารมณ์ คงขึม, ธนิกานต์ บัวทอง, สกนธ์ แสงประดับ, พิเชต พลายเพชร, ปิยารมณ์ คงขึม, ธนิกานต์ บัวทอง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่าเป็นสารดึงดูดการกินอาหารที่ใช้พืชเป็นแหล่งโปรตีนหลัก สำหรับเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) และกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)
ชื่อเรื่อง (EN): Using Tuna Fish Soluble Concentrate as Feed Attractants in Plant Protein Base Diets for Asian Sea Bass (Lates calcarifer), White Shrimp (Litopenaeus vannamei)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่าเป็นสารดึงดูดการกินอาหารที่ใช้พืชเป็นแหล่งโปรตีนหลักสำหรับปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) และกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) พิเชต พลายเพชร1*, ปิยารมณ์ คงขึม2, ธนิกานต์ บัวทอง1 และ สกนธ์ แสงประดับ1 1ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำชลบุรี 2ส่วนบริหารจัดการประมงทะเล กองบริหารจัดการด้านการประมง บทคัดย่อ ศึกษาการใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่าเป็นสารดึงดูดการกินอาหารของปลากะพงขาวซึ่งวัดทางอ้อมจากอัตราการกินอาหาร เลี้ยงปลากะพงขาวขนาด 14 กรัม ด้วยอาหารทดลอง 7 สูตร โดยสูตรที่ 1 (สูตรควบคุม) ใช้ปลาป่น 52.4% สูตรที่ 2-7 ไม่ใช้ปลาป่นและใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่า 0, 1, 2, 3, 4 และ 5% ตามลำดับ เลี้ยงปลาในถังไฟเบอร์กลมขนาดความจุ 100 ลิตร ซึ่งต่อเข้ากับระบบน้ำหมุนเวียน ให้อาหารแต่ละสูตรๆ ละ 3 ถัง แบบกินจนอิ่ม วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารทุกสูตรมีอัตรารอดตายไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวันสูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) และปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่า 4% มีอัตราการกินอาหารสูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่าอัตราต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) ขณะที่ร้อยละของจำนวนกุ้งที่เข้าหาอาหารที่ใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่า 3% ณ นาทีที่ 10 มีค่าสูงกว่าอาหารสูตรควบคุมและอาหารที่ใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่าอัตราอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) คำสำคัญ : ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่า สารดึงดูดการกินอาหาร ปลากะพงขาว กุ้งขาว *ผู้รับผิดชอบ : ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร (038) 326512 โทรสาร (038) 312512 E-mail : pichet28@yahoo.com
บทคัดย่อ (EN): Using Tuna Fish Soluble Concentrate as Feed Attractants in Plant Protein Based Diets of Asian Sea Bass (Lates calcarifer Bloch, 1790) and White Shrimp (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) Pichet Plaipetch1*, Piyarom KhongKhuem2 Tanikarn Buathong1 and Sakon Sangpradub1 1Chonburi Aquatic Animal Feed Technology Research and Development Center 2Marine Fisheries Management Section, Fisheries Management Division A study on using tuna fish soluble concentrate (TFSC) as feed attractant in diet of Asian sea bass, indirectly measured by feed intake was conducted. Fish with the weight of 14 g was fed with each of 7 diets, in which diet 1 (control) containing 52.4% fishmeal. Diets 2-7 were fishmeal free diets containing TFSC by 0, 1, 2, 3, 4 and 5%, respectively. Fish was stocked in 100-L circular fiber tank connected with a water recirculating system. For each diet, three groups of fish were fed to satiation twice a day for 4 weeks. The results indicated that non-significant differences of survival rate were observed among fish fed all test diets (p>0.05). Fish fed control diet showed significantly higher daily weight gain than those of fish fed other diets (p0.05). Fish fed 4% TFSC diet showed significantly higher feed intake than those of fish fed control and other TFSC diets (p0.05). Meanwhile, percentage of shrimp approached 3% TFSC diet at minute 10 showed significantly higher than those of shrimp approached control and other TFSC diets (p0.05). Keywords : Tuna fish soluble concentrate, Feed attractant, Asian sea bass, White shrimp Corresponding Author*: Baangpra Sub-district, Sri Racha, Chonburi Province 20110 Tel. (038) 326512 Fax (038) 312532 E-mail: pichet28@yahoo.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่าเป็นสารดึงดูดการกินอาหารที่ใช้พืชเป็นแหล่งโปรตีนหลัก สำหรับเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) และกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)
กรมประมง
30 กันยายน 2558
กรมประมง
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ผลของอาหารที่ใช้โปรตีนจากพืชเป็นแหล่งโปรตีนต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และคุณค่าทางโภชนาการของกุ้งขาว Litopenaeus vannamei (Boone, 1931) กุ้งกุลาดํา Penaeus monodon (Fabric การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน ผลของการเสริม Phytase ต่อการดูดซึมและสะสมแร่ธาตุในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) กุ้งกุลาดํา (Penaeus monodon Fabricius, 1798) และปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อทดแทนปลาป่นในอาหารปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) สำเร็จรูป พิษเฉียบพลันของแอมโมเนียต่อลูกปลากะพงขาว ( Lates calcarifer ) ระดับวัตถุดิบจากพืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการใช้เป็นแหล่งโปรตีนหลักในอาหารสำหรับกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) และปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว การเสริมกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิดในสูตรอาหารปลากะพงขาว กุ้งขาวและกุ้งกุลาดำที่มีการใช้โปรตีนพืชในอัตราสูง การใช้โปรตีนเข้มข้นทดแทนปลาป่นในอาหารสำหรับปลากะพงขาว (Lates calcarifer)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก