สืบค้นงานวิจัย
ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง
สมชาย ผะอบเหล็ก - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง
ชื่อเรื่อง (EN): Influence of harvesting date on protein content and seed quality of high protein soybean varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาย ผะอบเหล็ก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somchai Pa-oblek
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60, Tampomss, EHP 275 และCM 9510-1 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตและมีปริมาณโปรตีน ในเมล็ดสูงแต่เมล็ดพันธุ์มีความงอก และความแข็งแรงต่ำไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหา ปริมาณโปรตีนในเมล็ดที่ระยะเก็บเกี่ยวต่างๆ และหาระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์ โปรตีนสูง ในฤดูแล้งปี 2551 และ 2552 กับถั่วเหลืองสายพันธุ์/พันธุ์ EHP 275, CM 9510-1, Tampomass และเชียงใหม่ 60 โดยเก็บเกี่ยวที่ 4 ระยะ คือ 1. ฝักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล 50% (R7.5) 2. ฝักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล 95% (R8) 3. R8+5 วัน 4. R8+10 วัน ผลการทดลองพบว่า ระยะเก็บเกี่ยวตั้งแต่ R7.5 ถึง R8+10 วัน ไม่มีผลให้ปริมาณโปรตีนในเมล็ดแตกต่าง กัน ความแตกต่างขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยสายพันธุ์ CM 9510-1 มีปริมาณโปรตีนต่ำสุด ส่วนพันธุ์ Tampomass มีปริมาณ โปรตีนสูงสุด ในด้านผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์นั้น พันธุ์เชียงใหม่ 60 และ Tampomass เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตและ ผลผลิตเมล็ดพันธุ์สูงสุด พันธุ์ EHP 275 และ Tampomass ให้ผลผลิตและผลผลิตเมล็ดพันธุ์สูงสุดเมื่อเก็บเกี่ยวที่ระยะ R7.5 ถึง R8+10 วัน สายพันธุ์ CM 9510-1 ให้ผลผลิตสูงสุดที่ระยะ R8 ถึง R8+10 วัน และผลผลิตเมล็ดพันธุ์สูงสุดที่ระยะ R8+5 วัน ถึง R8+10 วัน ส่วนพันธุ์เชียงใหม่ 60 การเก็บเกี่ยวที่ทุกระยะการเจริญเติบโตให้ผลผลิตสูงสุด แต่การผลิตเมล็ด พันธุ์ควรเก็บเกี่ยวที่ระยะ R8 ถึง R8+10 วัน โดยความงอกหลังปรับปรุงสภาพของถั่วเหลืองทั้ง 4 พันธุ์ ระหว่าง 93.7-97.9% และสูงกว่ามาตรฐานเมล็ดพันธุ์หลัก (> 80%) นอกจากนี้มีความแข็งแรงสูง ระหว่าง 90.9-94.2% ส่วนความงอกหลัง เก็บรักษาไว้ในสภาพอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 4 เดือน และมีความงอกสูงระหว่าง 90.1-95.9% และมีความแข็งแรงอยู่ระหว่าง 64.7-72.1%
บทคัดย่อ (EN): Chiang Mai 60, Tampomass, EHP275 and CM9510-1 are high yielding and high protein soybean varieties but they appear to possess low seed vigor and short storability. The influence of harvesting date on protein content and seed quality of high protein soybean varieties were evaluated in the dry seasons, 2008 and 2009. Four soybean varieties, EHP275, CM9510-1, Tampomass and Chiang Mai 60, were harvested at four different soybean growth stages, R7.5, R8, R8+5 days, R8+10 days. The results showed that harvesting date did not significantly affect soybean seed protein content. The protein content depended on variety. CM 9510-1 line contained the lowest protein content, whereas Tampomass variety had the highest. Chiang Mai 60 and Tampomass provided the highest grain yield and seed yield. EHP275 and Tampomass showed the highest grain yield and seed yield when harvested during R7.5 to R8+10 days growth stages. CM 9510-1 provided the highest grain yield during R8 to R8+10 days and the highest seed yield during the growth stages R8+5 days to R8+10 days. Chiang Mai 60 showed the highest grain yield when harvested at any growth stage. However, in order to obtain the highest seed yield, it should be harvested during the growth stages of R8 to R8+10 days. Percentages of seed germination and vigor after processing were more than 90%, whereas percentages of seed vigor after storage for four months at room temperature were 64.7-72.1%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=222.pdf&id=593&keeptrack=10
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ระบบคัดแยกคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองโดยการวิเคราะห์ภาพถ่าย ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชผสมเพื่อยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม ผลของไคโตซานในการควบคุมโรค และผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์แนะนำ ผลกระทบจากการเพิ่มระดับโอโซนในบรรยากาศจากสภาวะโลกร้อนต่อคุณภาพของโปรตีนและไขมันชนิดสำคัญของถั่วเหลืองพันธุ์พื้นเมืองไทย การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุประสานชนิดแตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพของก้อนพอกและคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของสารพอกและวัสดุประสานต่างชนิดกัน ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบและเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมะเขือเทศลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก