สืบค้นงานวิจัย
การใช้ยีสต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารในการเลี้ยงปลาชะโอนในกระชัง
ณพัชร สงวนงาม - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การใช้ยีสต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารในการเลี้ยงปลาชะโอนในกระชัง
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of Brewers Yeast (Saccharomyces cerevisiae) as Supplementary Feed for Ompok bimaculatus (Bloch,1797) in Cage Culture
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณพัชร สงวนงาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): NAPHAT SA-NGHUN-NGAM
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองเลี้ยงปลาชะโอนด้วยอาหารที่เสริมยีสต์ 4 ระดับคือ 0 (ไม่เสริมยีสต์), 2, 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ ปลาชะโอนมีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 5.15±0.06 กรัม ความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 7.22±0.05 เซนติเมตร เป็นระยะเวลา 6 เดือน จากการทดลองพบว่าปลาชะโอนที่ได้รับอาหารเสริมยีสต์ 4 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการเจริญเติบโตดีที่สุด ได้แก่ ค่าน้ำหนักสุดท้าย ค่าความยาวสุดท้าย น้ำหนักเพิ่มต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และมีค่าดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญจากปลาชะโอนในชุดทดลองอื่นๆ รวมทั้งมีแนวโน้นการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นตามระดับยีสต์ที่เพิ่มขึ้นในอาหาร แต่ลดลงที่ระดับของยีสต์ 6 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร ซึ่งอาจเป็นผลจากปริมาณอาหารที่กินต่อตัว ซึ่งปริมาณอาหารที่กินในแต่ละชุดการทดลองไม่แตกต่างกัน ด้านอัตราแลกเนื้อพบว่าปลาชะโอนที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมยีสต์ 4 เปอร์เซ็นต์ มีค่าอัตราแลกเนื้อแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับปลาชะโอนที่เลี้ยงด้วยอาหารอาหารไม่เสริมยีสต์ และเสริมยีสต์ 2 เปอร์เซ็นต์ ในปริมาณอาหารที่กินแต่ละชุดการทดลองไม่แตกต่างกัน และอัตรารอดพบว่าปลาชะโอนทุกชุดการทดลองมีค่าไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าการเสริมยีสต์ในอาหารด้วยปริมาณที่เหมาะสมส่งผลให้ปลาชะโอนมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในปลา hybrid striped bass (Morone chrysops × M. saxatilis) (Li and Gatlin, 2003, 2005) และปลานิล (Oreochromis niloticus) (Lara Flores, 2003) เนื่องจากยีสต์มีความสามารถในการช่วยย่อยสารอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงทำให้สัตว์น้ำสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตมากขึ้น (ศิริรัตน์, 2539) นอกจากนี้ Jonewell (1993) รายงานว่ายีสต์ชนิด S. cerevisiae ประกอบด้วยเอนไซม์จำนวนมาก บางส่วนถูกขับออกมาในลำไส้และช่วยเสริมเอนไซม์ที่มีอยู่แล้วในทางเดินอาหาร จึงช่วยให้เพิ่มอัตราการย่อยได้ ทำให้การกินอาหารเพิ่มขึ้น ผลที่ได้คือการเพิ่มน้ำหนักหรือผลผลิต ช่วยสนับสนุนสมดุลย์ของจุลชีพในลำไส้ หากมีการให้อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับการทดลองของ อนุวัติ และคณะ (2551) ที่ศึกษาประสิทธิภาพของยีสต์ในอาหารกบนา โดยการเสริมยีสต์ในอาหารทดลอง 4 ระดับ คือ 0, 2, 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ พบว่ากบนาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมยีสต์ 4 เปอร์เซ็นต์ มีค่าดีที่สุด ในด้านของน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักเพิ่มต่อวันอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตราแลกเนื้อมีค่าดีกว่าทุกชุดการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการศึกษาของ สุพัตร์ และคณะ (2551) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของยีสต์ในอาหารกุ้งก้ามกราม โดยการเสริมยีสต์ในอาหารทดลอง 4 ระดับ คือ 0, 2, 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ พบว่ากุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมยีสต์ 4 เปอร์เซ็นต์ มีค่าดีที่สุด ในด้านของน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักเพิ่มต่อวัน เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ มีค่าดีกว่าทุกชุดการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับการตรวจวัดคุณภาพน้ำในการทดลองครั้งนี้พบว่าคุณภาพน้ำที่พบในบ่ออนุบาลยังมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำตามที่กล่าวอ้างโดยไมตรี และจารุวรรณ (2528) มั่นสิน และ ไพพรรณ (2544) ซึ่งระบุไว้ว่าปริมาณออกซิเจนละลายไม่ควรมีค่าน้อยกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรดเป็นด่างควรมีค่าอยู่ในช่วง 6.5-9.0 ความเป็นด่างมีค่าในช่วง 100-120 มิลลิกรัมต่อลิตร ความกระด้างมีค่าในช่วง 75-150 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าแอมโมเนียรวมไม่ควรเกิน 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (Lawson, 1995) จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเสริมยีสต์ 4 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารเป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงปลาชะโอนโดยมีผลทำให้กุ้งการเจริญเติบโตดีกว่าที่ไม่เสริมยีสต์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-04-30
เอกสารแนบ: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20180404145646_1_file.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ยีสต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารในการเลี้ยงปลาชะโอนในกระชัง
กรมประมง
30 เมษายน 2559
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
การใช้ยีสต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารกบนา การใช้ประโยชน์จากยีสต์ผงสกัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารในสุกรขุน การเลี้ยงปลาอีกงในกระชังด้วยความถี่ในการให้อาหารต่างกัน การเลี้ยงปลาชะโอนในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน 2 ช่วงอายุ การเลี้ยงปลาเค้าดำในกระชังด้วยอัตราการให้อาหารต่างกัน การเลี้ยงปลาสวายโมงในกระชังด้วยอาหารที่ใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน การใช้โมลาสยีสต์ (molasses yeast) เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มภูมิคุ้มกันในโค การใช้เศษขนมปังเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง การเลี้ยงปลากะพงแดงในกระชังโดยใช้ อาหาร 3 ชนิด ผลของนมหมักกรดในสูตรอาหารเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชัง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก