สืบค้นงานวิจัย
การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547
ทิพจันทร์ กาญจนเตชะ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทิพจันทร์ กาญจนเตชะ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการผลิตพริกของเกษตรกรในอำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาพื้นฐานบางประการทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตพริก 2) เพื่อศึกษาการผลิตพริกของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตพริกของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุ เฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 16.66 ไร่ พื้นที่ปลูกพริกเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนและค้าขาย รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 26,257 .01 บาทต่อปี มีรายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 15,348.00 บาทต่อปี มีรายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 43,193.25 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ อาศัยกองทุนพัฒนาหมู่บ้านเป็นแหล่งเงินทุนในการปลูกพริก ส่วนใหญ่เห็นว่าการปลูกพริกมีรายได้ดี เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกพริกเฉลี่ย 8.96 ปี ปลูกพริกเพื่อเพิ่มรายได้หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ได้รับความรู้คำแนะนำในการปลูกพริกจากญาติ หรือเพื่อนบ้าน มีพื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 1.48 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ทำการปลูกพริกในเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตพริกในเดือนธันวาคม โดยใช้เมล็ดพริกพันธุ์หัวเรือ ใช้เมล็ดพันธุ์จากการเก็บเองในอัตราเฉลี่ย 0.54 กก.ต่อไร่ ได้ผลผลิตพริกสดเฉลี่ย 1,338.5 กก.ต่อไร่ ใช้การเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยคอกและใส่ปุ๋ยเคมี ไม่ใส่ปุ๋ยทางใบ ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ใช้น้ำจากบ่อน้ำบาดาลโดยใช้ปั้มไฟฟ้าแล้วต่อสายยางรดน้ำในช่วงเช้า โรคที่ป้องกันกำจัดคือโรคกุ้งแห้ง โรคและแมลงจะเกิดในระยะการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ มีการใช้ยาเคมีในการป้องกันกำจัด ประเภทดูดซึม เมื่อสังเกตเห็นว่ามีโรค/แมลง เก็บเกี่ยวตามอายุประมาณ 65 วัน ไม่มีการคัดเลือกคุณภาพพริกหลังการเก็บเกี่ยว ได้ผลผลิตพริกสดเฉลี่ย 1,339.5 กก.ต่อไร่ ราคาผลผลิตพริกสดเฉลี่ย 11.41 บาทต่อกก.ราคาพริกแห้งเฉลี่ย 68.08 บาทต่อกก. จำหน่ายให้กับพ่อค้าท้องถิ่น เกษตรกรส่วนใหญ่แก้ไขปัญหาราคาผลผลิตต่ำโดยการตากเป็นพริกแห้ง และไม่ขยายพื้นที่ปลูก ปัญหาในการผลิตพริกเกษตรกรประสบปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ สภาพพื้นที่ปลูกไม่เหมาะสม ขาดเมล็ดพันธุ์ดี กลายพันธุ์ ขาดแรงงาน ประสบปัญหาน้อยได้แก่ ขาดความรู้ ขาดเงินทุน แหล่งน้ำ น้ำเป็นกรดเป็นด่าง น้ำไม่เพียงพอ คุณภาพผลผลิตไม่ตรงตามความต้องการของตลาด ราคาผลผลิตตกต่ำ ขาดการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่าย ข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา ควรมีการส่งเสริมความรู้เรื่องการคัดเมล็ดพันธุ์ โดยจัดทำแปลงศึกษาหรือแปลงเรียนรู้โดยเฉพาะหากเป็นเกษตรกรรายใหม่ และภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทสนับสนุนในด้านการตลาด โดยควรจัดให้มีตลาดรองรับผลผลิต มีการประกันราคาผลผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2547
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547 สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ (ฝนทิ้งช่วง) ปี 2547 จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรในการผลิตพริกพื้นเมืองพันธุ์หัวเรือตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก