สืบค้นงานวิจัย
ประเมินผลการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ทัศนีย์ ศุภพฤกษ์, วิทยา พันธะกิจ, อำนาจ ศิริเพชร, อรสา เพชรสลับศรี, เทิดศักดิ์ มิตรวงค์, พลชาติ คฤหานนท์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ประเมินผลการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่อง (EN): Artificial Habitat Assessment at Banbodan Village, Thaimuang District, Phang-nga Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาทัศนคติของชาวประมงต่อแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ชาวประมงพื้นบ้านที่ออกทำการประมงบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมืองจังหวัดพังงา จำนวน 96 ราย ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2554 พบว่า ชาวประมงมีอายุเฉลี่ย 43.60?11.07 ปี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 66.7 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 75.8 และพบว่ามีประสบการณ์ทำประมงอยู่ระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 51.0 โดยมีแหล่งทำประมง ที่ระดับความลึกน้ำเฉลี่ย 21.65?8.63 เมตร มีระยะห่างจากแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเฉลี่ย 1.33?1.28 กิโลเมตร เครื่องมือประมงที่นิยมใช้มากที่สุด คือ อวนจมปลา ร้อยละ 44.8 ชาวประมงมีรายได้จากการประกอบอาชีพประมงอย่างเดียวร้อยละ 33.3 และมีรายได้จากการประกอบอาชีพอื่นร่วมด้วยร้อยละ 66.7 ส่วนปัญหา ที่ชาวประมงประสบมาก คือ ปัญหาต้นทุนทำการประมงสูง และปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนเพิ่มขึ้น ชาวประมงมีความรู้เรื่องแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในระดับต่ำ ปานกลาง และสูง ร้อยละ 28.1 54.2 และ 17.7 ตามลำดับ มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในระดับต่ำ ปานกลาง และสูง ร้อยละ 28.1 47.9 และ 24.0 ตามลำดับ โดยรับรู้ข่าวสารผ่านช่องทางเพื่อนบ้านมากที่สุด ร้อยละ 76.0 และความถี่ของการได้รับข้อมูลข่าวสารมากที่สุด คือ ปีละครั้ง ร้อยละ 60.9 ซึ่งข่าวสารที่ได้รับเป็นข้อมูลประโยชน์ของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมากที่สุด ร้อยละ 92.7 ชาวประมงมีทัศนคติต่อแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในระดับต่ำ ปานกลาง และสูง ร้อยละ 24.0 51.0 และ 25.0 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อระดับทัศนคติของชาวประมงต่อแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ได้แก่ แหล่งทำประมง ระดับความรู้ และระดับการรับรู้ข่าวสาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน เท่ากับ -0.380, 0.287 และ 0.395 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยอื่น เช่น อายุ ระดับการศึกษา จำนวนชนิดเครื่องมือประมง ระดับประสบการณ์ทำประมง และแหล่งที่มาของรายได้ ไม่มีผลต่อระดับทัศนคติของชาวประมง
บทคัดย่อ (EN): The study on the attitude of small scale fishers towards artificial habitat was conducted interview data with questionnaires from 96 fishers who fished in Ban Bodan artificial habitat, Thaimuang district, Phang-nga province. The interviews were conducted during January to December 2011. The results showed that the average age of fishers was 43.60?11.07 years old, with the majority of Muslim (66.7%). Most fishers had education level of primary school or lower (72.9%) and had experience in fishery for 20-30 years (51.0%). The fishing ground was 21.65?8.63 m. in depth and far from artificial habitat around 1.33?1.28 km. The main fishing gears used was bottom gillnet (44.8%). Fishers whose income came from only fishery sector acculate 33.3% of total fishers whereas the rest of 66.7% of fishers had income from both fishery sector and other sectors. The main problems faced by fishers were increased fishery cost and high degree of climate variability. Fishers had knowledge of artificial habitat at low moderate and high levels for 28.1%, 54.2% and 17.7% of total fishers, respectively, while 28.1%, 47.9% and 24.0% of total fishers received information on the artificial habitat at low moderate and high levels, respectively. The information about the artificial habitat was mostly received from neighbor (76.0%) and mainly obtained once a year (60.9%). Such information mainly concerned on the benefits gained from the artificial habitat (92.7%). Fishers had attitude towards the artificial habitat at low, moderate and high levels for 24.0%, 51.0% and 25.0% of total fishers, respectively. Factors that effected the levels of fishers’ attitude towards the artificial habitat included fishing ground, knowledge level and level of receiving information (r = -0.380 0.287 and 0.395, respectively) whereas education degree, the number of fishing gear types, the experience level in fishery and the source of income did not effect.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประเมินผลการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
ทัศนคติของชาวประมงพื้นบ้านต่อแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา การทำประมงลอบปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดภูเก็ต ความชุกชุมของทรัพยากรปลาหมึกในเชิงเวลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บ้านบางขยะ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ผลของการจัดวางตามจำนวนแท่งคอนกรีตที่ต่างกัน ในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม และประชาคมปลาบริเวณแหล่งอาศัยขนาดใหญ่ จังหวัดระยอง การเปรียบเทียบโครงสร้างประชาคมและผลจับสัตว์น้ำระหว่างแปล่งปะการังเทียมและและกลุ่มปะการังเทียมบริเวณจังหวัดพังงา บทบาทของความจำเพาะกับแหล่งอาศัยต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของแมลงริ้นดำ (Diptera: Simuliidae) สภาวะการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ปริมาณโลหะหนัก และคุณภาพน้ำทะเล บริเวณแหล่งทำการประมงพื้นบ้านหลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ จังหวัดพังงา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก