สืบค้นงานวิจัย
องค์ประกอบและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณหาดทรายแก้วและอ่าวพร้าว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ปริญธิดา จันลา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: องค์ประกอบและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณหาดทรายแก้วและอ่าวพร้าว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่อง (EN): Composition and abundance of Marine Benthic in Sai Kaew Beach and Ao Prao, Khao Laem Ya - Mu Koh Samet National Park, Rayong Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปริญธิดา จันลา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Parinthida Chanla
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาองค์ประกอบและความซุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินที่พบบริเวณหาดทรายแก้ว และอ่าวพร้าว อุทยาน แห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยองระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 พบสัตว์ทะเลหน้าดินทั้งหมด 4 Phylum ได้แก่ Phylum protozoa Phylum Annelida Phylum Arthropoda และ Phylum Mollusca ปริมาณสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณหาดทรายแก้ว ระหว่างเดือนธันวาคม 2556 ถึง เดือนธันวาคม 2557 พบความ หนาแน่นมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2557 รองลงมาได้แก่ เดือนเมษายน และเดือนตุลาคม 2557 มีความหนาแน่น 852+158 773+146 และ 774:140 ตัวต่อตารางเมต โดยพบโปรโตซัว ชนิด Ephidium macellum เป็นกลุ่มเด่นของพื้นที่โดยเฉพาะ ระดับน้ำขึ้นสูงสุด รองลงมาได้แก่ หอยฝาเดียวในครอบครัว Cerithidae และ Trochidae ปริมาณสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณ อ่าวพร้าวพบความหนาแน่นมากที่สุดใน เดือนตุลาคม เดือนธันวาคม 2556 และเดือนธันวาคม 2557 มีความหนาแน่น 422+57 408+55 และ 340:47 ตัวต่อตารางเมตร ตามลำดับ พบโปรโตซัว ชนิด Elphidium macellum เป็นกลุ่มเด่นของ พื้นที่ รองลงมาได้แก่ หอยฝ่าเดียวในครอบครัว Cerithidae และ Trochidae สัตว์ทะเลหน้าดินกลุ่มไส้เดือนทะเล (Annelida) เป็นกลุ่มเด่นที่พบบริเวณระดับน้ำลงต่ำสุด มีความหนาแน่นเฉลี่ยแตกต่างจากบริเวณหาดทรายแก้วอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p<0.05)
บทคัดย่อ (EN): The study focused on composition and abundance of marine benthic in Sai Kaew beach and Ao Prao, Khao Laem Ya - Mu Koh Samet national park, Rayong province from December 2013 to December 2014. Marine benthic organisms were found in 4 Phylum consisting Phylum protozoa Phylum Annelida, Phylum Arthropoda and Phylum Mollusca. The highest average density in Sai Kaew Beach was reported in August, followed by that found in April and October 2014, which were 852±158, 773±146, and 774±140 ind/m2, respectively. Elphidium macellum was the dominant species in upper littoral area, followed by Family Cerithiidae and Family Trochidae in Phylum Mollusca. In Ao Prao, the highest average density showed in October, 2014, followed by that found in December, 2013 and December, 2014, which were 422±57, 408±55, and 340±47 ind/m2, respectively. Elphidium macellum was the dominant species, followed by Family Cerithiidae and Family Trochidae in Phylum Mollusca. In lower littoral area, the average density of Phylum Annelida in Ao Prao was statistically significantly (p<0.05) higher than that found in Sai Kaew Beach.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P106 Fis39.pdf&id=3149&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
องค์ประกอบและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณหาดทรายแก้วและอ่าวพร้าว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง การใช้โมเดลอุปสงค์ค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง วิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด โครงสร้างประชาคมของสัตว์ทะเลหน้าดิน บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด อิทธิพลของฤดูกาลต่อการแพร่กระจายของหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่งจังหวัดระยอง โครงสร้างประชากรสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่บริเวณหาดทรายเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี แหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ของหมึกกล้วยเศรษฐกิจบริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ความชุกชุมของสัตว์น้ำบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ผลของการจัดวางตามจำนวนแท่งคอนกรีตที่ต่างกัน ในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก