สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัย และพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์จุลินทรีย์ และเห็ด
อัจฉรา นันทกิจ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัย และพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์จุลินทรีย์ และเห็ด
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development for Conservation of Microorganisms and Mushroom
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัจฉรา นันทกิจ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อัจฉรา นันทกิจ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ดำเนินการสำรวจ รวบรวม จำแนก และหาเทคโนโลยีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร จากพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนชนิดไรโซเบียม จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนอิสระ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จุลินทรีย์ดูดซึมและละลายธาตุอาหารพืชชนิดอาบัสคูลาไมโคไรซ่า เอ็คโตไมโคไรซ่า ไมโคไรซ่ากล้วยไม้ จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต จุลินทรีย์ละลายโพแทสเซียม จุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ วิธีการเก็บตัวอย่างใช้วิธีสุ่มเก็บตัวอย่างปมตัวอย่างรากพืชตระกูลถั่ว รากพืชอื่น ๆ ตัวอย่างดิน ตัวอย่างต้น ใบ พืช นำไปทำการแยกสายพันจุลินทรีย์บริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติการตามลักษณะของจุลินทรีย์ที่ต้องการศึกษา สามารถแยกสายพันธุ์จุลินทรีย์เป็นประโยชน์ทางการเกษตรเหล่านี้ได้ประมาณ 3,000 ไอโซเลท ศึกษาลักษณะประจำสายพันธุ์ที่เป็นลักษณะทางกายภาพชีววิทยา เคมี ชีวเคมี และลักษณะทางพันธุกรรม ศึกษาประสิทธิภาพและศักยภาพของจุลินทรีย์แต่ละชนิด เพื่อคัดเลือกให้ได้ไอโซเลทที่ดีที่สุด 1-5 ไอโซเลท ทดสอบเพื่อประเมินคุณค่าในการใช้ประโยชน์ และนำไปเป็นจุลินทรีย์ต้นแบบในการผลิตปุ๋ยชีวภาพชนิดต่าง ๆ ให้แก่เกษตรกรต่อไป ดำเนินการสำรวจ รวบรวม เก็บตัวอย่างจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช จากพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อให้ทราบชนิดแหล่งแพร่กระจาย ความเสียหายที่ทำให้เกิดโรคกับพืช นำมาศึกษา จำแนก และเก็บรักษา เพื่อเป็นข้อมูลของจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชทั้งหมด จากการดำเนินงานสามารถรวบรวม จำแนกได้จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช ได้แก่ ราเขม่าดำ 145 ตัวอย่าง จำแนกได้ 13 สกุล (genera) 66 ชนิด (species) และพบราเขม่าดำชนิดใหม่ 12 ชนิด ราสกุล Cercosporoid ได้ 38 ตัวอย่างจากพืช 22 ชนิด จำแนกได้ 5 สกุล 16 ชนิด และไม่สามารถจำแนกได้ 7 ชนิด ราสกุล Curvularia จำแนกได้ 45 ไอโซเลท รา Pythium เก็บจาก 31 ชนิดพืช จำแนกได้ 15 ชนิด 42 ไอโซเลท ราแป้ง ได้ 51 ไอโซเลท จำแนกได้ 14 ชนิด รา Sclerotium 200 ตัวอย่าง ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ 61 ไอโซเลท รา Macrophomina 25 ตัวอย่าง ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ 25 ไอโซเลท แบคทีเรีย Xanthomenas ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ 22 ไอโซเลท จำแนกโดยวิเคราะห์ลำดับเบสบริเวณ 16S rDNA สำรวจ รวบรวมเชื้อไวรอยด์ของพืชตระกูลส้ม ได้ 93 ตัวอย่างพืช ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเทคนิค RT-PCR โดยการใช้ไพร์เมอร์ จำนวน 8 คู่ สำรวจและจำแนกเชื้อโรคกรีนนิ่งด้วยเทคนิตทางอนูชีววิทยา สามารถพบเชื้อโรคกรีนนิ่ง 62 ตัวอย่าง ใน 98 ตัวอย่าง โดยเทคนิค PCR นอกจากนั้น ยังทำการปรับปรุงแก้ไขระบบการทำฐานข้อมูลเชื้อราสาเหตุโรคพืช ให้สามารถใช้งานได้ ดำเนินการสำรวจ รวบรวม เก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ที่ผลิตสารชีวภัณฑ์ และมีศักยภาพในการป้องกันกำจัดโรค ศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติ โดยการสำรวจรวบรวมแบคทีเรียดินที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillus flavus จากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ประมาณ 1,500 ไอโซเลท การรวบรวมคัดเลือกเชื้อราที่มีผลควบคุมด้วยแรดที่เป็นศัตรูปาล์มน้ำมัน สามารถคัดเลือกได้ 10 ไอโซเลท การสำรวจ รวบรวม และประเมินศักยภาพของจุลินทรีย์ในแปลงปลูกขิงในการควบคุมโรคโคนเน่า โดยได้เชื้อราและแบคทีเรีย 266 ไอโซเลท และพบว่าเชื้อรา 47 ไอโซเลท และแบคทีเรีย 17 ไอโซเลท สามารถแสดงปฏิกิริยาการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Fusarium ที่เป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของขิง สำรวจ รวบรวม และศึกษาสายพันธุ์ไส้เดือนฝอย ควบคุมแมลง ศัตรูพืช สามารถรวบรวมสายพันธุ์ไส้เดือนฝอยในวงศ์ Steinemematidae จำนวน 2 ไอโซเลท ซึ่งสามารถฆ่าหนอนด้วงมะพร้าวตายในเวลา 6 ชม. วงศ์ Heterorhabditidae จำนวน2 ไอโซเลท และพบว่าสามารถฆ่าเห็บวัวได้ 90% ศึกษาวิจัยการผลิตไส้เดือนฝอย และนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดปลวก พบว่าช่วยลดความเสียหายของท่อนพันธุ์มันสำปะหลังได้ดีกว่าการไม่ใช้ไส้เดือนฝอย สำรวจ รวบรวมเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ 1,244 ไอโซเลท ทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นสามารถฆ่าหนอนกระทู้ผัก และหนอนกระทู้หอม ได้ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป จุลินทรีย์ทั้งหมดที่เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ถูกเก็บไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The project was initiated to survey and collect 3 groups of microorganisms regarding Department of Agriculture. The first group was microorganisms that are useful in agriculture and can be used as model microorganisms in biofertilizer production. These microorganisms include rhizobia, mycorrhiza, free-living nitrogen-fixing microorganisms, blue-green algae, phosphate-solubilizing microorganisms, potassium-solubilizing microorganisms, plant growth-promoting microorganisms and decomposer microorganisms. Root-nodules, roots and soils were collected from different geographic origins in Thailand to isolate pure cultures of target microorganisms. A total of 3,000 isolates could be obtained and examined for their physiological, biological, chemical, biochemical and molecular characteristics. The efficiency and potential of these isolates were examined in order to select the best 1-5 isolates that can be used as model microorganisms in biofertilizer production for farmers. The second group was plant pathogens that were surveyed, collected and identified to know their species, distribution areas and damage caused by plant diseases as well as to collect all data regarding plant pathogens. The collected plant pathogens were identified. The 145 samples of smut fungi could be classified into 13 genera, 66 species and 12 novel species were also found. The 38 samples of fungi in the genus Cercosporoid isolated from 22 plants could be classified into 5 genera, 16 species and 7 samples were unidentified. The 45 isolates of fungi in the genus Curvularia could be classified. The 42 isolates of the fungi in the genus Phytium derived from 31 plants could be classified into 15 species. The 51 isolates of powdery mildew could be classified into 14 species. The pure cultures of 61 isolates of fungi in the genus Sclerotium were obtained from 200 samples. The pure cultures of 25 isolates of fungi in the genus Macrophomina were obtained from 25 samples. The 22 bacterial isolates were identified as Xanthomonas by 16S rDNA sequence analysis. Citrus viroids were investigated and collected from 93 plant samples. The RT-PCR technique was employed for molecular diagnosis by using 8 pairs of primers. The greening disease was investigated and classified by using molecular biological technique. Out of 98 samples, microorganisms causing greening disease were found in 62 samples, as detected by PCR. Furthermore, the plant pathogen database was also developed to enable the system. The third group was microorganisms producing metabolites with potential for biocontrol. About 1,500 isolates of soil bacteria with inhibitory effects on the growth of Aspergillus flavus were surveyed and collected from different geographic origins. The 10 isolates of fungi with potential for biocontrol of Rhinoceros beetles, an oil palm pest, were selected. Microorganisms in ginger plantations were collected and evaluated for their potential for biocontrol of collar rot. Among 266 isolates of bacteria and fungi, 47 fungal isolates and 17 bacterial isolates exerted their antagonistic characteristics toward Fusarium, the fungus that causes collar rot disease in ginger. Nematodes were surveyed, collected and studied for biocontrol application. The 2 isolates of nematodes in the family Steinemematidae could kill Rhinoceros beetle within 6 hours. The 2 isolates of nematodes in the family Heterorhabditidae could kill 90% of Canestrini In the study of nematodes on termite removal, it was found that nematodes decreased damage of cassava seedling as compared with controls. The pure cultures of 1,244 Bacillus thuringiensis isolates were investigated and collected. In a primary study on their potential, these isolates could kill more than 80% of common cutworms and beet armyworms. The pure cultures of all microorganisms have been maintained and their information has been deposited in database that can be used for research and development in the future.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัย และพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์จุลินทรีย์ และเห็ด
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช เห็ดกลุ่มโบลีตส์ของประเทศไทย เห็ดบางชนิดในสกุล Ganoderma และสกุลใกล้เคียง ชนิดของเห็ดสกุล Lepiota และสกุลใกล้เคียงในประเทศไทย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเห็ด การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเจริญของจุลินทรีย์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ย่อยสลายตะกอนอินทรีย์ การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก