สืบค้นงานวิจัย
โครงการย่อย 6: โครงการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
ธันยา พรหมบุรมย์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการย่อย 6: โครงการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
ชื่อเรื่อง (EN): Subproject 6 : Cost Analysis of Hemp Production on Highland Area
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธันยา พรหมบุรมย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิตจากแบบสอบถามโดยสัมภาษณ์เกษตรกรม้งที่ปลูกเฮมพ์บนพื้นที่สูงภายใน 1) ศูนย์ขยายผลโครงการหลวงถ้ำเวียงแก อ.สองแคว จ.น่าน 2) ศูนย์ขยายผลโครงการหลวงดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ 3) ศูนย์ศิลปาชีพ อ.พบพระ และอ.แม่สอด จ.ตาก ทั้งสิ้นจำนวน 32 ราย และสัมภาษณ์ข้อมูลจากแปลงทดทดลองปลูกเฮมพ์สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ผลจากการวิเคราะห์ พบว่า เกษตรกรตัวอย่างเกือบทั้งหมดที่สัมภาษณ์เป็นเพศหญิง มีประสบการณ์ปลูกเฮมพ์โดยเฉลี่ย 30 ปี/คน แรงงานในการผลิตเฮมพ์ใช้แรงงานครัวเรือนเป็นหลัก เฉลี่ย 3 คน/ครัวเรือน ส่วนใหญ่ปลูกเฮมพ์เพื่อใช้ในครัวเรือน เกษตรกรปลูกเฮมพ์เนื้อที่ขนาดเล็ก เฉลี่ยในจังหวัดตาก 2 งาน/ครัวเรือน จังหวัดน่านและเชียงใหม่เฉลี่ย 1 งาน/ครัวเรือน การปลูกเฮมพ์อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก อายุการเก็บเกี่ยวเฮมพ์ที่พบอยู่ในช่วง 70- 90 วัน ส่วนใหญ่ปลูกเฮมพ์ปีละครั้ง และมักไม่ปลูกซ้ำที่เดิม เกษตรเริ่มปลูกต้นเดือนพฤษภาคมและเก็บเกี่ยวเดือนกรกฎาคม ผลผลิตเฮมพ์ในแต่ละปีจะได้ไม่แน่นอน หากผลผลิตดีจะเก็บเกี่ยวเส้นใยได้ประมาณ 25-30 กก.ต่องาน ปัญหาการปลูกเฮมพ์ที่พบ คือหนูกัดแทะเมล็ดหรือต้นอ่อน หรือมีนกและมดมากินเมล็ด และลมพัดทำให้ลำต้นงอ เป็นต้น ส่วนปัญหาจากโรคแมลงไม่ค่อยมี จากการสอบถามถึงราคารับซื้อผลผลิตเส้นใยเฮมพ์ที่ลอกจากเปลือกยังไม่มีการแปรรูปที่เกษตรกรมีความพึงพอใจ พบว่า อยู่ในช่วง 100-250 บาท แต่ส่วนมากอยู่ที่ประมาณ 150 บาท/กก. ขึ้นไป จากผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเฮมพ์ในระดับแปลงเกษตรกร โดยเฉลี่ยจากเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 32 ราย พบว่า ต้นทุนการผลิตเฮมพ์เก็บเกี่ยวผลผลิตต้นสดโดยริดใบออกแล้วในระดับแปลงเกษตรกร ต้นทุนรวมทั้งหมดเฉลี่ย 3,436 บาท/งาน และต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อกิโลกรัมน้ำหนักต้นสด 8 บาท/กก. ทั้งนี้ผลผลิตต้นเฮมพ์สดที่ริดใบทิ้งแล้วอยู่ระหว่าง 375-500 กก./งาน ส่วนต้นทุนการผลิตเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเส้นใยแห้ง มีต้นทุนรวมทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ 5,343 บาท/งาน หรือเฉลี่ยประมาณ 178 บาท/กก. ทั้งนี้ผลผลิตเส้นใยเฮมพ์เท่ากับ 30 กก.ต่องาน สัดส่วนของต้นทุนค่าวัสดุ คิดเป็นร้อยละ 11 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนค่าแรงงานในการผลิต คิดเป็นร้อยละ 83 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด และต้นทุนคงที่คิดเป็นร้อยละ 6 ของต้นทุนทั้งหมด สำหรับการผลิตเฮมพ์ในแปลงทดลอง พบว่า มีผลผลิตเฮมพ์สด 95 กก./งาน หรือผลผลิตแห้งเป็นเส้นใยปริมาณ 17 กก./งาน ต่ำกว่าผลผลิตระดับแปลงเกษตรกรซึ่งอาจเกิดจากช่วงปลูกและปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพดิน ที่ต่างจากแปลงเกษตรกร ต้นทุนการผลิตเฮมพ์ทั้งหมดเก็บเกี่ยวผลผลิตสด (ริดใบทิ้ง) เฉลี่ย 2,388 บาท/งาน ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเก็บเกี่ยวเป็นเส้นใยแห้งเฉลี่ย 5,128 บาท/งาน โดยต้นทุนค่าแรงคิดเป็นร้อยละ 80 ของต้นทุนทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่า ต้นทุนค่าแรงในการลอกเส้นใยเฮมพ์มีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ค่าแรงการเก็บเกี่ยว ตาก และ ค่าแรงในการพรวนดินและเตรียมดิน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 12 10 และร้อยละ 8 มากตามลำดับ หากรวมต้นทุนเหล่านี้แล้วจะมีสัดส่วนต้นทุนคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง หากมีการพัฒนานำเครื่องมือทุ่นแรงมาใช้แทนแรงงานคนในกิจกรรมเหล่านี้ จะสามารถทำให้ลดต้นทุนการผลิตไปได้ประมาณครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีต้นทุนประมาณ 90 บาทต่อกิโลกรัม แต่ทั้งนี้ต้องมีการคำนวณต้นทุนต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการย่อย 6: โครงการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2553
โครงการย่อยที่ 5 โครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนาเครื่องมือแปรรูปเส้นใยเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1 โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์ โครงการย่อย 2: โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ โครงการย่อย 5: โครงการศึกษาวิธีเขตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตเส้นใยเฮมพ์สายพันธุ์ THC ต่ำ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ โครงการย่อยที่ 5 : โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำและคุณภาพเส้นใยสูง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๔: โครงการวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการตลาดเฮมพ์บนพื้นที่สูงภายใต้ระบบการควบคุม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก