สืบค้นงานวิจัย
การสำรวจข้อมูลด้านการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของ - ปลาบึกในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์
เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การสำรวจข้อมูลด้านการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของ - ปลาบึกในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): The investigation of reproductive development on the mekong giant catfish (Pangasianodon gigas, chevey) in the natural impoundment of Thailand for conservation abd propagation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kriangsak Meng-umphan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปลาบึกที่จับได้จากแม่น้ำโขงมีจำนวนลดลง ปี 2543 จับได้ 2 ตัว และไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ จนเป็นที่วิตกว่าปลาบึกอาจสูญพันธุ์ไปจากแม่น้ำโขง ปลาบึกที่เพาะได้บางส่วนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ อาทิเช่น แม่น้ำโขง เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ พบว่าปลาบึกสามารถเจริญเติบโตได้ดี ผลการศึกษาปลาบึกจากแม่น้ำโขง พ.ศ. 2543 ตัวผู้น้ำหนัก 149 กก. มีค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonado Somatic Index, GSI) 2.21 ตัว เมียน้ำหนัก 247 กก. มีค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ 11 ปริมาณฮอร์โมน Testosterone (T) 0.07 ng/mi Estradiol (E2) 123 pg/ml อายุจากวงปีกระดูกครีบหูเฉลี่ยประมาณ 21 ปี ปลาบึกจากเขื่อนแม่งัดฯ กันยายน 42 - ตุลาคม 43 ตัวผู้น้ำหนักเฉลี่ย 156 กก. ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ 0.11 ตัวเมีย 164 กก. ดัชนีความสมบูรณ์เพศ 0.46 อายุเฉลี่ย 13 ปี ปลาบึกจากเขื่อนแม่กวงฯ มกราคม 43 - กุมภาพันธ์ 43 ตัวผู้น้ำหนักเฉลี่ย 53 กก. ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ 0.05 ตัวเมียน้ำหนักเฉลี่ย 58 กก. ดัชนีความอุดมสมบูรณ์เพศ 0.11 ปริมาณฮอร์โมนเพศ testosterone (T) 0.02 ng/mI, estradio (E2) 10 p9/m! อายุเฉลี่ย 6 ปี การพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์ปลาบึกจากแม่น้ำโขงที่จับได้ ตัวเมียและตัวผู้สามารถเจริญพันธุ์สร้างไข่และน้ำเชื้อได้ แต่ไม่สามารถผสมเทียมได้ เนื่องจากจับได้ไม่พร้อมกัน ส่วนเซลล์สืบพันธุ์ปลาบึกจากเขื่อนแม่งัดฯ มีการพัฒนาได้ดีกว่าเซลล์สืบ พันธุ์ปลาบึกจากเขื่อนแม่กวงฯ แต่ก็อยู่ในระยะเริ่มต้น ยังไม่สามารถผสมเทียมได้ ปี 2544 และ 2545 ทดลองฉีดฮอร์โมน GnRHa ในปลาบึกที่นำมาจากเขื่อนแม่งัดฯและแม่กวงฯ มาเลี้ยงในบ่อ ฉีดฮอร์โมนนาน 2 เดือน (ก.ค. 2544 และ เม.ย. 2545) ระดับฮอร์โมน T และ E2ในปลาที่ฉีดฮอร์โมนมีแนวโน้มสูงกว่าปลาที่ไม่ฉีด (ควบคุม) และปลาในปี 2545 มีระดับฮอร์โมน T และ E2 สูงกว่าปลาในปี 2544 นอกจากนี้ได้ศึกษาลักษณะของโครโมโซมปลาบึกจากเม็ดเลือดขาวจาก 3 แหล่งได้แก่ จากบ่อเลี้ยงอาย 9 ปี ขนาดน้ำหนักเฉี่ย 15 กก. จำนวน 3 ตัว จากเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อายุ 6 ปี ขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 60 กก. จำนวน 1 ตัว และจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ อาย 13 ปี ขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 145 กก. จำนวน 3 ตัว ใน จ. เชียงใหม่ โครโมโซมปลาบึกจากแหล่งดังกล่าวมีโครโมโซม 2n = 60 ประกอบด้วย โครโมโซมแบบ metacentric 5 คู่, sub-metacentric 13 คู่, sub-telocentric 7 คู่ และ acrocentric 5 คู่ ไม่พบความแปรปรวนของโครโมโซมจากแต่ละแหล่งน้ำ ส่วนดัชนีความสมบูรณ์ (CF) ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวทั้งหมด และความยาวรอบอก กับน้ำหนักปลาบึกจากเขื่อนแม่กวงฯ มีค่า CF=1.46, W=0.2455L1.566 และ W=0.5612B1.490 ตามลำดับ และ W=0.5612B1,4 490
บทคัดย่อ (EN): Since only 2 Mekong Giant Catfish (MGC) were caught from the Maekong River in the year 2000 and unable to be reproduced, therefore, this fish species might become extinct in the future. However, the young MGC can be produced by means of artificial reproduction and then released into natural water such as dams. This preliminary study here was conducted at Mae-ngad Somboonchol Dam, Mae Kaung Udomthara Dam, and The Maekhong River. As the initial data, the growth of the fish caught at all stations showed a satisfactory rate. The purposes of this study are to ermine reproductive system, sex hormone and fish age. The fish from Maekong 149 kg in the male and 247 kg in the female. The Gonadosomatic Index (GSI) was 2.2 and 11 in male and female, respectively. The sexual hormone ie testosterone (T) was 0.07 ng/ml and estradiol (E2) was 123 pg/ml. The age was about 21 years. The fish caught from Maengad dam during September.- October 1999 showed an average weight of 156 kg and 164 kg in males and females, respectively. The GSI in males was 0.35 in females. The average age was about 13 years. The fish caught from the Maekuang Dam during January - February 2000, showed an average weight of 53 kg and 58 kg in males and females, respectively. The GSI was 0.05 in males and 0.11 in females. The average age was about 6 years. The among of sexual hormone contained in fish from Mae-kaung Dam was 0.02 ng/ml and 10 pg/ml of 'T and E2, respectively. Regarding to the development of gonads, the fish from Mae- Ngad Dam showed better rate than those from Mae-kuang Dam. However, the development stage was still in the beginning stage and was unable to be used as brood stocks. In 2001 and 2002 the MGC from Mae- Ngad Dam and Mae-kuang Dam were stimulated by GnRHa injection. After 2 months, the T and E2 from injected MGC showed higher level than those uninjected fish. Moreover, in 2002 the MGC showed a higher level of T and E2 than those presented in 2001. However, egg and sperm were still not obtained. On the other hand, a study of the MGC by chromosome karyotyping from peripheral blood lymphocytes from various water resources had be conducted. This research was done by using MGC from earthen pond (15 kg, 9 years, 3 fish) Mae- Kaung reservoir (60 kg, 6 years, 1 fish) and Mae-Ngad reservoir (145 kg, 13 years, 3 fish). The results demonstrated that the MGC chromosome complement from ponds, Mae-Kuang and Mae-Ngad reservoir in Chiang-Mai Province was 60 chromosomes or 30 pairs. Their were composed with 5 metacentric (M), 13 sub-metacentric (SM), 7 sub-telocentric (ST) and 5 acrocentric (A). Total chromosome is 2N-60. The MGC from Mae- Kaung reservoir had a condition factor (CF), total length, body length with weight relation of ship CF=1.46,W=0.2455L1.566 and W=0.5612B1,490 respectively.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-43-032
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 1,084,700
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/kriangsak2000/kriangsakfull.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2543-2544
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสำรวจข้อมูลด้านการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของ - ปลาบึกในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2545
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของ Growth hormone analog ต่อการเติบโต และการพัฒนา อวัยวะสืบพันธุ์ของปลาบึก ระบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อการผลิตสายพันุ์ปลาบึก ระบบการเลี้ยงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาบึก และการลดกลิ่นโคลนในเนื้อปลาบึก ผลของ Growth hormone analog ต่อการเจริญเติบโต และการเจริญพันธุ์ของปลาบึก แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงและการเพาะขยายพันธุ์ปลาตูหนาและปลาบึกในบ่อดิน แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมในประเทศไทย ระบบการเลี้ยงกุ้งกรามกรามร่วมกับปลาบึกในบ่อดิน ศึกษาพันธุ์ปรงเพื่อการขยายพันธุ์ และการอนุรักษ์พันธุ์พืช การศึกษาวิธีการการขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศของผักหวานป่า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก