สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดเพื่อพันธุ์การค้า
คมสัน อำนวยสิทธิ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดเพื่อพันธุ์การค้า
ชื่อเรื่อง (EN): Confectionery Sunflower Varieties Improvement for Commercial Use
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: คมสัน อำนวยสิทธิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดเพื่อพันธุ์การค้า เริ่มคำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2548 โคยดำเนินการรวบรวมพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ ได้จำนวน 31 พันธุ์ ปลูกศึกษา ลักษณะทางการเกษตรและขยายมล็ดพันธุ์ในแต่ละแหล่งพันธุกรรม ในปี 2549 ผสมข้ามระหว่าง กลุ่มพันธุ์เพื่อทำให้เกิดความแปรปรวนทางพันธุกรรม และความสามารถในการปรับตัวได้ดี และ คัดเลือกพันธุ์ที่ต้องการ ผสมข้ามในระหว่างเครื่อญาติ (si mating) เพื่อป้องกันการเสื่อมถอยทาง พันธุกรรม (Inbreeding depression) และขขัดปัญหาการผสมตัวเองไม่ติด (self incompatibiliy) ในปี 2550 ตัดเลือกพันธุ์แบบ recurrent selection for GCA phenotype โดยสร้างประชากร พันธุ์จากพันธุ์พื้นฐานที่คัดเลือกไว้ผสมแบบ sib maing จนกระทั่งได้ทานตะวันกินเมล็คจำนวน 14 ประชากร ปลูกเปรียบเทียบกับทานตะวันน้ำมันลูกผสมการค้า 2 พันธุ์ โดยวางแผนการทคลอง แบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD)มี 4 ซ้ำ ทคลอง 4 สถานี ในฤดูฝน ปี 2551 พบว่า ทานตะวัน ที่ปถูกในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก คณะเกษตรศาสตร์บางพระ ให้ผลผลิต โดยเฉลี่ยทั้ง 16 พันธุ์ มากที่สุด คือ 143.65 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ ทานตะวันที่ปลูกในพื้นที่ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง และมหาวิทยาลัยทดโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เฉลี่ย 128.57 และ 87.69 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำคับ ส่วนทานตะวันที่ปลูกในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงกลล้านนา พิษณุโลก ให้ผลผลิตต่ำที่สุด เฉลี่ย 56.74 กิโลกรัมต่อไร่ผลการวิเคราะห์ องค์ประกอบทางเคมีของทานตะวันกินเมล็ดโดยเฉลี่ยทั้ง 16 พันธุ์ พบว่า มีความชื้น พลังงาน ไขมันรวม และ เถ้า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนโปรตีนรวม มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญยิ่งทางสถิติ และการวิเคราะห์โดยรวมทั้ง 4 สถานีปลูก พบว่า พันธุ์ CSPL.#] ให้ผลผลิต เฉลี่ยสูงที่สุด คือ 1 17.44 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณโปรตีนรวม เฉลี่ย 32.43 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน43.12 เปอร์เซ็นต์ และพลังงาน 6642.59 แคลอรีต่อกรัม อย่างไรก็ตาม พันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดที่ จะใช้เป็นพันธุ์การค้า ควรมีการทดสอบการผลิตพันธุ์ผสมเปิดในสภาพไร่เกษตรกรอย่างน้อย 2-3 ฤดู ปลูก และส่งเสริมการบริโภคทานตะวันกินเมล็ดที่เป็นพันธุ์ของประเทศไทย เพื่อลดการนำเข้าเมล็ จากต่างประเทศต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดเพื่อพันธุ์การค้า
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2551
บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ทานตะวัน การปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อเกษตรกรฟาร์มเครือข่าย การปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันเพื่อใช้บริโภคเมล็ดและผลิตทานตะวันต้นอ่อน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทานตะวันกินเมล็ดเพื่ออุตสาหกรรม การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ด พันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) ปีที่ 3 การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ด พันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) ปีที่ 2 โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออกและตะวันตก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก