สืบค้นงานวิจัย
การใช้จุลินทรีย์เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงสัตว์น้ำ
มณีรัตน์ หวังวิบูลย์กิจ, อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล, พรพรรณ พุ่มพวง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การใช้จุลินทรีย์เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงสัตว์น้ำ
ชื่อเรื่อง (EN): Using Microorganisms for Water Quality Control in the Aquarium Tank
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้จุลินทรีย์ Bacillus spp. ในระยะเวลาต่างๆ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงปลาระบบปิด ทดลองโดยเลี้ยงปลาตะเพียนทอง 9 ตัว/ตู้ ในตู้กระจกขนาด 90x45x45 เซนติเมตร ด้วยระบบกรองน้ำนอกตู้แบบปิดที่มีน้ำหมุนเวียนตลอดเวลา ใส่จุลินทรีย์ Bacillus ที่ระดับความเข้มข้น 50 ppm (4,800 CFU/มิลลิลิตร) ในสัปดาห์แรกของการเลี้ยง ทุกสัปดาห์ ทุก 2 สัปดาห์ และทุก 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับการไม่ใส่จุลินทรีย์ ก่อนเริ่มเลี้ยงปลาทดสอบประสิทธิภาพของระบบกรองน้ำโดยใช้แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) เป็นแหล่งไนโตรเจน พบว่าหากไม่มีแอมโมเนียเพิ่มเติมเข้ามาในระบบการเลี้ยง ระบบกรองน้ำทั้งที่ใส่จุลินทรีย์และไม่ได้ใส่จุลินทรีย์จะสามารถกำจัดแอมโมเนียรวมให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้ภายใน 4 วัน ในขณะที่ระบบกรองที่ใส่จุลินทรีย์จะสามารถควบคุมปริมาณไนไตรท์ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้ภายใน 4 วัน แต่ระบบกรองที่ไม่ได้ใส่จุลินทรีย์ต้องใช้เวลานานถึง 7 วัน นอกจากนี้การใส่จุลินทรีย์จะช่วยเร่งให้เกิดไนเตรตในระบบได้สูงกว่าในช่วง 1-4 วันแรก การศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้จุลินทรีย์ Bacillus ในตู้เลี้ยงสัตว์น้ำ พบว่าหลังจากเลี้ยงปลา 1 สัปดาห์ ชุดการทดลองที่ไม่ได้ใส่จุลินทรีย์มีปริมาณแอมโมเนียรวม 1.715+0.033 ppm ซึ่งอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ส่วนชุดการทดลองที่ใส่จุลินทรีย์มีปริมาณแอมโมเนียรวมลดลงและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0.023+0.011 - 0.170+0.091 ppm อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านการเลี้ยงปลาเป็นเวลานานขึ้นปริมาณแอมโมเนียรวมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดการทดลองที่ไม่ได้ใส่จุลินทรีย์ แต่การใส่จุลินทรีย์ทุกสัปดาห์จะสามารถควบคุมปริมาณแอมโมเนียรวมให้อยู่ในระดับต่ำได้ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ในขณะที่ปริมาณไนไตรท์ในสัปดาห์ที่ 1 พบว่าทุกชุดการทดลองมีค่าใกล้เคียงกัน คือ 0.891+0.035- 1.010+0.164 ppm ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านการเลี้ยงไป 2 สัปดาห์ ปริมาณไนไตรท์ของชุดการทดลองที่ใส่จุลินทรีย์มีค่าลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ในขณะที่ชุดการทดลองที่ไม่ได้ใส่จุลินทรีย์ยังคงมีปริมาณไนไตรท์สูงโดยมีค่าเป็น 0.802+0.001 ppm และหลังจากเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ทุกชุดการทดลองมีปริมาณไนเตรตลดลงกว่าปริมาณไนเตรตก่อนเริ่มทดลอง โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0.005+0.008-0.056+0.017 ppm โดยชุดการทดลองที่ไม่ใส่จุลินทรีย์มีปริมาณไนเตรตลดลงมากที่สุด จนในสัปดาห์ที่ 2 หลังการเลี้ยง จึงพบว่าทุกชุดการทดลองมีค่าปริมาณไนเตรตเพิ่มขึ้นและมีค่าใกล้เคียงกันไปจนสิ้นสุดการทดลอง นอกจากนี้พบว่าการใส่หรือไม่ใส่จุลินทรีย์ในระบบการเลี้ยงไม่มีผลต่อความกระด้าง และความเป็นกรดเป็นด่างในตู้เลี้ยงมากนัก แต่ทำให้ความเป็นด่างของชุดการทดลองที่ไม่ได้ใส่จุลินทรีย์มีค่าต่ำกว่าชุดการทดลองที่ใส่จุลินทรีย์ในระยะเวลาต่างๆ จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการใช้จุลินทรีย์ในการเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในระบบระหว่างการเลี้ยง ควรใส่จุลินทรีย์ Bacillus ssp. ที่ระดับความเข้มข้น 4,800 CFU/มิลลิลิตร เป็นประจำทุกสัปดาห์จะทำให้สามารถควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงปลาได้ดีที่สุด โดยสามารถทำให้ปริมาณแอมโมเนียรวมอยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยต่อสัตว์น้ำได้ตั้งแต่ในสัปดาห์แรกของการเลี้ยงไปจนสิ้นสุดการเลี้ยง รวมทั้งสามารถลดการสะสมของไนไตรท์ในระบบให้น้อยลงได้ตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 2 ของการเลี้ยง และควบคุมปริมาณไนไตรท์ให้อยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยต่อสัตว์น้ำไปจนสิ้นสุดการทดลองได้ คำสำคัญ : จุลินทรีย์ คุณภาพน้ำ ปลาตู้
บทคัดย่อ (EN): The study on use of Bacillus spp. in difference period was control water quality in the aquarium tank. The 9 tinfoil barbs were reared in glass tank (90x45x45 cm) and used filtration systems for circulating water all time. The experiment included the addition 50 ppm of Bacillus (4,800 CFU/ml) in the first week, every week, every 2 weeks, and every 4 weeks of culture compared with the treatment which no Bacillus (control). Before the culture, test the efficiency of water filtration system by using ammonium chloride (NH4Cl) as nitrogen source. The results showed that if no more ammonia into the tank, the microbial in filtration system cloud remove ammonia until were not harmful to aquatic animals within 4 days. But the tank which no microbial was takes up to 7 days. In addition, the microbial stimulated nitrate in higher than during the first 1-4 days. The optimum period was using Bacillus in aquariums tank the results showed that after one week of the culture, total ammonium in control was 1.715 + 0.033 ppm, which be harmful to aquatic animals. The treatments which contain Bacillus cloud reduced total ammonia were 0.023+0.011 - 0.170+0.091 ppm. In addition the treatment of put Bacillus every week was control ammonia at low levels throughout the culture period. The nitrite of all treatments in the first week were 0.891+0.035- 1.010+0.164 ppm which harmful to aquatic animals. However, after 2 weeks of culture, the nitrites of all experiments that put Bacillus were reduced but the nitrite of control was 0.802 + 0.001 ppm. The nitrates of all treatments in the first week were lower than before the culture. Until the 2 week, it was found that the nitrate was higher and similar values in all experimental. The presence or absence of Bacillus in the culture system did not affect to hardness and pH but the alkalinity of control was lower than the Bacillus experiments. In this study concluded that the using of Bacillus spp. in aquarium tank which add nitrogen into the culture system should be fill the Bacillus in the concentration of 4,800 CFU/ml every week. Because it can control ammonia is in the safety level for aquatic animals since the first week to the finish at 8 weeks. And it also reduces the accumulation of nitrites in the system from the second week until the end of culture. Key words : microorganisms, water quality, aquarium fish
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้จุลินทรีย์เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงสัตว์น้ำ
กรมประมง
30 กันยายน 2557
กรมประมง
การใช้ไรน้ำนางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง ผลการอนุบาลลูกปูม้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำด้วยจุลินทรีย์ ปม.1 สูตรน้ำ การศึกษากลุ่มประชากรจุลินทรีย์จากรากของต้นอะเมซอนใบกลมและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนไดเอทีลีนไกลคอล การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแม่น้ำจันทบุรี การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย คุณภาพน้ำบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช การคัดเลือกและผลิตจุลินทรีย์ไม่ใช้ออกซิเจนแบบเม็ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรแบบไม่ใช้ออกซิเจน การปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแบบแห้งในคลองชลประทาน การพัฒนาระบบติดตามและควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้ระบบ PLC (programmable logic controller)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก