สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย
จรวยพร สมแก้ว - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Sustainable Vegetable Cropping systems in Royal Project Extension Areas Pakloy
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรวยพร สมแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วิจัยการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พบว่า 1) ประชากรบ้านป่ากล้วยพัฒนาส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 45 รองลงมาคือ จบชั้น ป. 6 ร้อยละ 21 รายได้หลักมาจากการปลูกกะหล่ำปลี ร้อยละ 38 รองลงมาคือ มันฝรั่ง และผักกาดขาวปลี เกษตรกรปลูกพืชมากกว่า 1 ชนิด โดยมีกะหล่ำปลีเป็นพืชหลัก ส่วนพืชอื่นๆ ได้แก่ ผักกาดขาวปลี มันฝรั่ง ข้าวโพด มะเขือเทศ และดอกไม้ ท้งนี้มีพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลีมากที่สุด 192 ไร่ และน้อยที่สุดคือ ดอกไม้ 1 ไร่ แต่การปลูกดอกไม้ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มากที่สุด และต่ำสุด คือ มันฝรั่ง สำหรับต้นทุนการผลิตพบว่า เกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีสูงสุด รองลงมาคือ เมล็ดพันธุ์ และพบว่าเกษตรกรหลายรายประสพภาวะขาดทุนโดยที่ยังไม่คิดต้นทุนแรงงานในครัวเรือน 2) การใช้ขี้ไก่หมักหินฟอสเฟตร่วมกับปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมก่อนปลูก ตามด้วยการฉีดพ่นสารเร่ง พด. 2 ผสม พด.7 ผสมธาตุแคลเซียม คอปเปอร์ และโบรอน ช่วงหลังย้ายปลูกทุก 10 วัน ช่วยให้ปริมาณผลิตผลกะหล่ำปลีต่อไร่เพิ่มขึ้นสูงสุด 47% และต้นทุนลดลง 309 บาท 3) การใส่เชื้อไมคอร์ไรซาสายพันธุ์ Giomus etunicatum ผสมหินฟสอเฟต อัตรา 50 หรือ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยเพิ่มปริมาณผลิตผลกะหล่ำปลีได้สูงสุดถึง 6 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการที่เกษตรกรปฏิบัติเอง 4) ผลสำรวจแหล่งอาหาร และความหลากหลายทางชีวภาพพบ พืชท้องถิ่นที่หายาก/ขาดแคลนในปัจจุบันจำนวน 16 ชนิด และพืชท้องถิ่นที่มีปริมาณลดน้อยลง 12 ชนิด เนื่องจากมีการขยายพันธุ์และปลูกทดแทนน้อย คนรุ่นใหม่ไม่รู้คุณค่าและนำมาใช้ประโยชน์ การใช้ยาฆ่าหญ้าในพื้นที่เกษตร ที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณะในชุมชน รวมทั้งการทำลายโดยสัตว์บริเวณครัวเรือน ตัวอย่างพืชอาหารบริเวณครัวเรือน เช่น กอเตอออ ผักแพรวแดง กั้วหล่อชา บัวบก สะระแหน่ ตะไคร้ ส่วนพืชอาหารบริเวณไร่ เช่น ฟักทอง มะระหวาน ผักกาดม้ง คะน้าดอย ผักขม หัวปลี ในขณะที่ใบมะกรูด โหระพา กระเพรา ขิง ชะอม ผักชี ถั่วฝักยาว กระเทียม ชุมชนต้องซื้อบริโภค ส่วนพืชสมุนไพรจะพบในครัวเรือนผู้รู้หรือผู้สูงวัยบางรายที่ปลูกไว้ใช้ประโยชน์เท่านั้น ผลการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์พืชท้องถิ่นในชุมชนที่เน้นให้รวบรวม/ขยายพันธุ์พืชในโรงเรียนด้วยการบรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนพบว่า นักเรียนรู้จักพืชท้องถิ่น และนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น ส่วนระดับชุมชนมีการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้จากผู้รู้ภายในและนอกชุมชนทำให้แต่ละครัวเรือนอนุรักษ์ ฟื้นฟู พืชบริเวณบ้าน บางชนิดนำไปปลูกในบริเวณ สวน ไร่ นอกจากนี้ยังพบว่า มีคนรุ่นใหม่ช่วงอายุ 20 ปี ขึ้นไปให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ชุมชนกลับมาใช้สมุนไพรโดยขอต้นสดไปใช้และขอต้นพันธุ์ไปปลูก และพญายอ พืชภายนอกชุมชน ถูกนำมาใช้รักษาโรคงูสวัด 5) พบการใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นยาพื้นบ้าน 147 ชนิด โดย 12 ชนิด มีศักยภาพต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ จิงจูฉ่าย ปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า เก็กฮวยป่า ผักแพวแดง จินเจีย เหมาเยี่ย ว่านสากเหล็ก เด่วื่อ ด้องปรา หนามแน่แดง(รางจืดดอกแดง) สังหยูดำ สังหยูใบเขียว หญ้าขัดใบยาว จึงได้สนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างรายได้เสริม ได้แก่ สมุนไพรแห้งสำหรับชงดื่มจากปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า จิงจูฉ่าย รางจืดดอกแดง และข้าวเกรียบสมุนไพรของปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า จิงจูฉ่าย และผักแพวแดง รวมทั้งได้พัฒนารูปแบบ วิธีการผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้าน 4 ชนิด ได้แก่ ปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า จิงจูฉ่าย ผักแพวแดง และรางจืดดอกแดงให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันบ้านป่ากล้วยมีกลุ่มอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรแม่บ้านป่ากล้วยพัฒนา 1 กลุ่ม สมาชิก 8 ราย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลิตผลพืชผักในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยี/องค์ความรู้โครงการหลวงในการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูก โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอาหารปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จของชุมชนต้นแบบด้านการทำการเกษตรแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัชพืชในระบบการปลูกพืช การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การชักนำให้เกิดแคลลัสในกล้วย ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมโดยการจัดการห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก